ความเป็นมา
การศึกษานี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของ Cochrane หลังจากเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2002 และมีการปรับปรุงอีกครั้งในปี 2011
การทำหมันโดยผูกตัดท่อนำไข่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์โดยการหยุดไข่ ที่ยังไม่ปฎิสนธิของสตรีที่ผ่านท่อนำไข่เพื่อจะไปปฏิสนธิโดยสเปิร์ม เทคนิคการปิดท่อนำไข่ ได้แก่ การตัดและผูกไว้ (ตัดท่อนำไข่บางส่วน), บล็อกท่อนำไข่ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คลิปหรือแหวน หรือโดยการใช้กระแสไฟฟ้า (electrocoagulation) ทำให้ท่อนำไข่เสียหาย และตีบตัน หรือการบล็อกโดยการใช้สารเคมี หรืออุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่ (สอดผ่านปากมดลูก) ที่ทำให้เกิดแผลเป็นในท่อนำไข่
วิธีการ
นักวิจัย Cochrane ต้องการเปรียบเทียบเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการทำหมัน ในแง่ของ:
- ความไม่สบายจากวิธีที่ทำหมันที่สตรีรู้สึกในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งอาการปวดที่ประสบ (เจ็บป่วยหลัก และรอง);
- อัตราความล้มเหลว (ตั้งครรภ์);
- ความล้มเหลวทางเทคนิคและปัญหาที่พบในระหว่างกระบวนการฆ่าเชื้อ และ
- ความพึงพอใจของสตรีและศัลยแพทย์
เราค้นหาเอกสารทางการแพทย์จนถึง 23 กรกฎาคม 2015 สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ที่เปรียบเทียบวิธีการของการปิดท่อนำไข่ใด ๆ เนื่องจาก RCT ให้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ
ผลการศึกษา
เรารวม RCT 19 เรื่อง ที่สตรีวัยเจริญพันธุ์ 13,209 คนเข้าร่วม การทดลองเปรียบเทียบ:
- แหวนเทียบกับคลิป (RCT หกเรื่อง, สตรี 4232 คน);
- ตัดท่อนำไข่บางส่วนกับ electrocoagulation (RCT สามเรื่อง, สตรี 2019 คน);
- แหวนเทียบกับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 599 คน);
- ตัดท่อนำไข่บางส่วนเทียบกับคลิป (RCT สี่เรื่อง, สตรี 3827 คน);
- แหวนเทียบกับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 206 คน);
-คลิป สองชนิด เช่น คลิป Hulka และคลิป Filshie ( RCT สองเรื่อง, สตรี 2326 คน)
เราไม่พบการศึกษาแบบ RCT ที่ศึกษาการทำหมันด้วยสารเคมีหรืออุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่ ดังนั้นการศึกษาที่รวบรวมทั้งหมดจึงเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
ไม่มีการตายเกิดขึ้นจากการทำหมันด้วยวิธีใดๆ และการเจ็บป่วยหลัก และรองนั้นเกิดน้อยมาก อัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่า 5 ใน 1000 ในหนึ่งปีหลังการผ่าตัด อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน (ปัญหาหลังการผ่าตัด/การเจ็บป่วยรอง) ต่ำมากในการเปรียบเทียบวิธีการทำหมันทั้งหมด ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อย เช่น อาการปวด และความล้มเหลวทางเทคนิคพบบ่อยจากการใช้แหวนมากกว่าคลิป การเจ็บป่วยหลักและการปวดหลังผ่าตัดที่สำคัญพบได้บ่อยกว่า ในวิธีตัดท่อนำไข่บางส่วนเมื่อเทียบกับ electrocoagulation อาการปวดหลังผ่าตัดมีรายงานสองเท่าโดยสตรีที่ผ่านการทำหมัน โดยแหวนกว่าการทำหมันโดย electrocoagulation ความล้มเหลวทางเทคนิคพบบ่อยกับคลิปมากกว่าเทคนิคการผูกและตัด แต่เวลาการผ่าตัดก็สั้นลงสำหรับคลิป
เราพบหลักฐานเล็กน้อยเกี่ยวกับความพึงพอใจของสตรีหรือศัลยแพทย์
บทสรุป
การทำหมันโดยตัด และผูกท่อนำไข่ หรือการใช้กระแสไฟฟ้า คลิป หรือ แหวน ต่างก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดและมีปัญหาน้อย การจะเลือกวิธีการใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของศัลยแพทย์ ความพร้อมของอุปกรณ์ สภาพการณ์ และต้นทุน จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำหมันที่ไม่ต้องผ่าตัด
การทำหมันโดยการตัดท่อนำไข่บางส่วน electrocoagulation หรือใช้คลิปหรือแหวนรัดท่อนำไข่เป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิด อัตราความล้มเหลวใน 12 เดือนหลังทำหมันและการเจ็บป่วยที่สำคัญเกิดขึ้นน้อยมากกับเทคนิคเหล่านี้ ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยและความล้มเหลวทางเทคนิคที่ปรากฏจะพบในวิธีแหวนรัดท่อนำไข่บ่อยมากกว่าคลิป Electrocoagulation อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธี Pomeroy หรือวิธีวงแหวนรัดท่อนำไข่ วิจัยเพิ่มเติมควรรวม RCT (สำหรับประสิทธิภาพ) และการศึกษาควบคุมเชิงสังเกต (สำหรับอาการข้างเคียง) ในการทำหมันโดยวิธีผ่านกล้อง เช่น อุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่และ quinacrine
นี่คือการปรับปรุงของรีวิวที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2002 การทำหมันสตรีเป็นวิธีคุมกำเนิดที่นิยมที่สุดทั่วโลก มีอยู่หลายเทคนิคสำหรับการขัดขวางช่องทางเปิดของท่อนำไข่ ได้แก่ การตัด และผูกท่อ ทำลายหลอดใช้กระแสไฟฟ้า นำคลิปหรือแหวนยางซิลิโคน บล็อกท่อนำไข่ด้วยสารเคมี หรืออุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่
การเปรียบเทียบเทคนิคการอุดตันท่อนำไข่ที่แตกต่างกันในแง่ของการเจ็บป่วยหลัก และรอง อัตราความล้มเหลว (ตั้งครรภ์), ความล้มเหลวทางเทคนิค และความยากลำบาก และความพึงพอใจของสตรีและศัลยแพทย์
การทบทวนฉบับที่ตีพิมพ์ในปี 2002 เราค้น MEDLINE และ Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) ในการปรับปรุงครั้งนี้ในปี 2015 เราค้นหา POPLINE LILACS PubMed และ CENTRAL เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2015 เราใช้คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องของ PubMed และค้นหารายการการอ้างอิงของการทดลองที่ระบุใหม่
การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) เปรียบเทียบเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการทำหมันโดยไม่คำนึงถึงวิธีการเข้าถึงท่อนำไข่หรือวิธีการระงับปวด
ในรีวิวต้นฉบับ ผู้ทบทวนสองคนเลือกการศึกษาอย่างอิสระต่อกัน สกัดข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของอคติ ในการปรับปรุงครั้งนี้สกัดข้อมูลดำเนินการ โดยผู้ประพันธ์การทบทวนคนหนึ่ง (TL) และตรวจสอบ โดยผู้ประพันธ์การทบทวนอีกคน (RK) เราจัดกลุ่มตามชนิดของการเปรียบเทียบประเมินการทดลอง จะรายงานผลเป็น odds ratio (OR) หรือความแตกต่าง (MD) โดยใช้วิธี fixed-effect ยกเว้นว่า heterogeneity จะสูง ซึ่งในกรณีนี้เราใช้วิธีการ random-effects
เรารวบรวมนำเข้า 19 การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้องกับสตรี 13,209 คน การศึกษาส่วนมากศึกษาการทำหมันแห้ง สาม RCTs ที่มีสตรีเข้าร่วม 1632 คนศึกษาในการทำหมันหลังคลอด เปรียบเทียบ แหวนเทียบกับคลิป (RCT หกเรื่อง, สตรี 4232 คน); ตัดท่อนำไข่บางส่วนกับ electrocoagulation (RCT สามเรือง, 2019 คน); แหวน tubal กับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 599 คน); ตัดท่อนำไข่บางส่วนเมื่อเทียบกับคลิป (RCT สี่เรื่อง, สตรี 3627 คน); คลิปเทียบกับ electrocoagulation (RCT สองเรื่อง, สตรี 206 คน); และคลิป Hulka เทียบกับ Filshie (RCT สองเรื่อง, สตรี 2326 คน) RCT ของคลิปกับ electrocoagulation ไม่มีข้อมูลในการทบทวนครั้งนี้
หนึ่งปีหลังจากทำหมัน อัตราความล้มเหลวต่ำ (< 5/1000) สำหรับวิธีการทั้งหมด ไม่มีการตายถูกรายงานไม่ว่าด้วยวิธีใด และเจ็บป่วยหลักที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคในการอุดตันทางเดินท่อนำไข่ก็เกิดขึ้นน้อยมาก
เจ็บป่วยรองคือพบสูงกว่าด้วยวงแหวนรัดท่อนำไข่เมื่อเทียบกับคลิป (Peto OR 2.15, 95% CI 1.22 ถึง 3.78 ร่วม = 842 2 การศึกษา I² = 0% คุณภาพหลักฐานสูง), เช่นความล้มเหลวทางเทคนิค (Peto OR 3.93, 95% CI 2.43 6.35 ร่วม = 3476 3 การศึกษา I² = 0% คุณภาพหลักฐานสูง)
การเจ็บป่วยที่สำคัญสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญด้วยเทคนิค Pomeroy เมื่อเทียบกับ electrocoagulation (Peto OR 2.87, 95% CI 1.13 ถึง 7.25 ผู้เข้าร่วม 1905 คน; 2 การศึกษา; I² = 0% คุณภาพหลักฐานต่ำ), เป็นความเจ็บปวดหลังผ่าตัด (Peto OR 3.85, 95% CI 2.91 ถึง 5.10 ผู้เข้าร่วม 1905 คน; 2 การศึกษา; I² = 0% คุณภาพหลักฐานปานกลาง)
เมื่อแหวนรัดท่อนำไข่ เปรียบเทียบกับ electrocoagulation ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดถูกรายงานบ่อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญสำหรับแหวนรัดท่อนำไข่ (OR 3.40, 95% CI 1.17 9.84 ผู้เข้าร่วม 596 คน; 2 การศึกษา I² = 87% หลักฐานคุณภาพต่ำ)
เมื่อการตัดท่อนำไข่บางส่วนเปรียบเทียบกับคลิป ไม่มีเหตุการณ์เจ็บป่วยที่สำคัญในกลุ่มใด (ผู้เข้าร่วม 2198 คน; 1 การศึกษา) ความถี่ของการเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ต่ำ และไม่แตกต่างระหว่างกลุ่ม (Peto OR 7.39, 95% CI 0.46 ถึง 119.01 ผู้เข้าร่วม 193 คน; 1 การศึกษา หลักฐานคุณภาพต่ำ) แม้ว่าความล้มเหลวทางเทคนิคเกิดขึ้นบ่อยกับคลิป (Peto OR 0.18, 95% CI 0.08 ถึง 0.40 ผู้เข้าร่วม 2198 คน 1 การศึกษา หลักฐานคุณภาพปานกลาง); คลิปเวลาผ่าตัดสั้นกว่าเมื่อเทียบกับการตัดท่อนำไข่บางส่วน (MD 4.26 นาที 95% CI 3.65 ถึง 4.86 ผู้เข้าร่วม = 2223 คน 2 การศึกษา I² = 0% คุณภาพหลักฐานสูง)
เราพบหลักฐานเล็กน้อยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของศัลยแพทย์หรือสตรี ไม่มี RCT ที่เปรียบเทียบอุปกรณ์ฝังในท่อนำไข่ (การทำหมันผ่านการส่องกล้องทางโพรงมดลูก) หรือการให้สารเคมีเพื่อทำหมัน (quinacrine) กับวิธีการอื่น ๆ
ผู้แปล นพ.เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 30 พฤศจิกายน 2017