ภาวะปอดอักเสบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ภาวะปอดอักเสบจากชุมชน (CAP) ในประเทศที่มีรายได้ต่ำส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย การทบทวนอย่างเป็นระบบนี้ รวบรวมการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม 29 เรื่องจากหลายประเทศที่มีเด็กเข้าร่วม 14,188 คน เทียบยาปฏิชีวนะสำหรับรักษา CAP ในเด็ก ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเดี่ยวเท่านั้น
เราพบว่าการรักษาภาวะปอดบวมแบบผู้ป่วยนอก Amoxycillin เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับ co-trimoxazole การให้ Amoxycillin แบบรับประทานอาจมีประสิทธิภาพในเด็กที่มีภาวะปอดอักเสบรุนแรงที่ไม่มีภาวะขาดออกซิเจน (เช่น ระดับออกซิเจนที่ลดลง) และรับประทานอาหารได้ดี สำหรับภาวะปอดบวมรุนแรงมากการใช้ penicillin หรือ ampicillin ร่วมกับ gentamycin มีประสิทธิภาพมากกว่าใช้ chloramphenicol เพียงอย่างเดียว ในการศึกษาจำนวนมากไม่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตามกรณีที่มีข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการใช้ยาสองชนิด ยกเว้นมีรายงานผลข้างเคียงของทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยกว่ากรณีใช้ erythromycin เมื่อเทียบกับ azithromycin
ข้อจำกัดของการทบทวนนี้เนื่องจากมีเพียงการศึกษา 5 เรื่อง ที่มีคุณภาพตรงตามเกณฑ์การประเมินทั้งหมดและมีเพียงการศึกษาเพียงหนึ่งหรือสองเรื่องเท่านั้นที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ
รักษาผู้ป่วย CAP แบบผู้ป่วยนอก amoxycillin เป็นทางเลือกสำหรับ co-trimoxazole ยังมีข้อมูลที่จำกัด เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอื่น co-amoxyclavulanic และ cefpodoxime อาจเป็นทางเลือกที่สอง เด็กที่มีภาวะปอดอักเสบรุนแรงที่ไม่มีภาวะขาดออกซิเจน สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยยา amoxycillin แบบรับประทาน สำหรับเด็กที่นอนโรงพยาบาลด้วย CAP อาการรุนแรง Penicillin / ampicillin ร่วมกับ gentamycin ได้ผลดีกว่า chloramphenicol ยาทางเลือกอื่นคือ co-amoxyclavulanic และ cefuroxim จนกว่าจะมีการศึกษามากพอ ยาเหล่านี้สามารถใช้เป็นวิธีการรักษาลำดับที่สอง
มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาภาวะปอดอักเสบที่ได้รับการยืนยันด้วยการถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยจำนวนมาก และวิธีการที่คล้ายกันเพื่อเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะที่ใหม่กว่า ข้อเสนอแนะในการทบทวนนี้ ใช้กับประเทศที่มีอัตราเสียชีวิตสูงในเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัวจากภาวะปอดอักเสบ และไม่มีวิธีการตรวจหาสาเหตุของภาวะปอดอักเสบ
ภาวะปอดอักเสบจากแบคทีเรียเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของเด็กในประเทศที่มีรายได้ต่ำ การให้ยาปฏิชีวนะเร็วเพิ่มผลสำเร็จในการรักษา
เพื่อหาการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิผลในการรักษาปอดอักเสบจากชุมชน (CAP) ในเด็กที่มีความรุนแรงต่างกัน
เราค้นหา CENTRAL 2012 ฉบับที่ 10 MEDLINE (1966 ถึงตุลาคมสัปดาห์ 4, 2012); EMBASE (1990 ถึงพฤศจิกายน 2012); CINAHL (2009 ถึงพฤศจิกายน 2012); Web of Science (2009 ถึงพฤศจิกายน 2012) และ LILACS (2009 ถึงพฤศจิกายน 2012)
การทดลองควบคุมแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (RCTs) ในเด็ก โดยเปรียบเทียบการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อยสองตัวสำหรับ CAP ภายในโรงพยาบาลหรือแบผูู้ป่วยนอก
ผู้ทบทวนสองคนดึงข้อมูลจากบทความฉบับสมบูรณ์อย่างอิสระต่อกัน
เรารวมการทดลอง 29 เรื่อง ผู้เข้าร่วมเป็นเด็ก 14,188 คนเปรียบเทียบยาปฏิชีวนะหลายชนิด ไม่มีการเปรียบเทียบยาปฏิชีวนะกับยาหลอก
การประเมินคุณภาพการศึกษาพบว่าการศึกษา 5 จาก 29 เรื่องเป็นแบบ double-blind และมีการปกปิดได้ การศึกษาอีก 12 เรื่องที่ไม่มีการปิดบังแต่มีการปกปิดการจัดสรรที่เพียงพอ ซึ่งจัดเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพดี มีการศึกษามากกว่าหนึ่งเรื่องเปรียบเทียบ co-trimoxazole กับ amoxycillin, amoxycillin ชนิดรับประทานกับ penicillin / ampicillin แบบฉีด และ chloramphenicol กับ ampicillin / penicillin การศึกษาเหล่านี้มีคุณภาพดี หลักฐานการมีคุณภาพสูง
ในการรักษาแบบผู้ป่วยนอก องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดวิธีการรักษา CAP ที่ไม่รุนแรง amoxycillin เทียบกับ co-trimoxazole มีอัตราความล้มเหลวคล้ายกัน (odds ratio (OR) 1.18, 95% ช่วงเชื่อมั่น (CI) 0.91 ถึง 1.51) อัตราการหาย (OR 1.03, 95% CI 0.56 ถึง 1.89) การศึกษา 3 เรื่อง ผู้เข้าร่วมเป็นเด็ก 3,952 คน
ในเด็กที่มีภาวะปอดบวมรุนแรงไม่มีภาวะขาดออกซิเจน การใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน (amoxycillin / co-trimoxazole) เทียบกับ penicillin แบบฉีด มีอัตราความล้มเหลวใกล้เคียงกัน (OR 0.84, 95% CI 0.56 ถึง 1.24) การรักษาในโรงพยาบาล (OR 1.13, 95% CI 0.38 ถึง 3.34) และการกลับเป็นซ้ำ (OR 1.28, 95% CI 0.34 ถึง 4.82) การศึกษา 6 เรื่อง ผู้เข้าร่วมเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 4,331 คน
CAP ที่รุนแรงมาก มีอัตราการตายสูงกว่าในเด็กที่ได้รับ chloramphenicol เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับ penicillin / ampicillin ร่วมกับ gentamicin (OR 1.25, 95% CI 0.76 ถึง 2.07) การศึกษาเรื่องหนึ่ง ผู้เข้าร่วมเป็นเด็ก 1,116 คน
แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2020