อุณหภูมิของเพาะเลี้ยงตัวอ่อนสำหรับการช่วยการเจริญพันธุ์

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ผู้เขียนรีวิว Cochrane ตรวจสอบหลักฐานสำหรับการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของมนุษย์ในอุณหภูมิที่แตกต่างกันในระหว่างการช่วยการเจริญพันธ์เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ที่นำไปสู่อัตราการเกิดมีชีพสูงสุด

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

"ภาวะมีบุตรยาก" ถูกกำหนดว่าเป็นความล้มเหลวในการตั้งครรภ์หลังจาก 12 เดือนหรือมากกว่าของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันตามปกติ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เป็นหนึ่งในเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ที่ช่วยให้ทำให้คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากมีลูกได้ ในระหว่าง IVF, oocytes (ไข่) หลายใบ จะถูกดึงมาจากรังไข่ และถูกปฏิสนธิโดยการเพาะเลี้ยงในจานร่วมกับสเปิร์มที่ถูกเก็บมา หรือโดยการฉีดเซลล์สเปิร์มเดียวโดยตรงลงใน oocyte (intracytoplasmic sperm injection; ICSI) ก่อนที่จะถูกย้ายเข้าไปในมดลูก ไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้ว (ที่เรียกว่าตัวอ่อน) จะต้องมีการเพาะเลี้ยงในตู้เป็นเวลาหลายวันสำหรับการพัฒนาต่อไป ในช่วงระยะฟักตัวนี้มักจะมีการเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 37°C เพื่อเลียนแบบอุณหภูมิของร่างกายหลักของมนุษย์ อย่างไรก็ตามการศึกษาหลายครั้งได้แสดงให้ทราบว่าอุณหภูมิภายในระบบทางเดินสืบพันธุ์ของสตรีอาจต่ำกว่า 37°C บ่งชี้ว่าอุณหภูมิของเครื่องเพาะเลี้ยงลดลงอาจเป็นประโยชน์มากขึ้นสำหรับการพัฒนาตัวอ่อน ในการทบทวนนี้เราได้ประเมินอุณหภูมิที่แตกต่างกันของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนซึ่งอาจนำไปสู่อัตราการเกิดมีชีพที่สูงขึ้น

ลักษณะของการศึกษา

เราได้รวมการทดลองที่มีการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบสามการศึกษาที่เปรียบเทียบกับ 37.0°C หรือ 37.1°C กับอุณหภูมิของเครื่องเพาะเลี้ยงที่ต่ำกว่า การศึกษาเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยมและอียิปต์และรวบรวมสตรี 563 คนที่ได้มาทำ IVF/ICSI การศึกษารายงานการเกิดมีชีพ การเปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงของตัวอ่อนที่ 37.0°C ด้วย 36.0 °C หนึ่งการศึกษารายงานการตั้งครรภ์ทางคลินิก เปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงที่ 37.1°C กับ 36.6 °C และการศึกษาหนึ่งรายงานหลายผลลัพธ์ (การแท้ง, การตั้งครรภ์ทางคลินิก, การตั้งครรภ์ต่อเนื่องและการตั้งครรภแฝด) การเปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงของตัวอ่อนที่ 37.0°C กับ 36.5 °C สองการศึกษารายงานว่าไม่มีเงินทุนการศึกษาหรือผลประโยชน์ทับซ้อน การศึกษาอื่นๆที่รายงานไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการระดมทุนหรือผลประโยชน์การแข่งขัน หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือนมีนาคม 2019


ผลการศึกษาที่สำคัญ

เพียงหนึ่งการศึกษาที่รายงานผลลัพธ์หลักเป็นการเกิดมีชีพ แต่เนื่องจากขนาดตัวอย่างขนาดเล็ก การสุ่ม oocytes และการออกแบบจับคู่ ทำให้ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เรามีความไม่แนใจ ถ้าเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียสเป็นประโยชน์สำหรับผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ การแท้ง การตั้งครรภ์ทางคลินิกการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่องและการตั้งครรภ์แฝด พิจารณาที่การตั้งครรภ์ทางคลินิก ถ้าสตรีมีโอกาส 55% ของการตั้งครรภ์คลินิกด้วยการเพาะเลี้ยงที่ 37°C อัตราการตั้งครรภ์ทางคลินิกโดยใช้อุณหภูมิต่ำกว่าจะอยู่ระหว่าง 47% และ 66% เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ไม่ได้รายงาน มีการศึกษาเพียงการศึกษาเดียวที่รายงานว่าไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากจำนวนการศึกษาถูกจำกัด และแต่ละการศึกษารายงานผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน การทดลองควบคุมแบบสุ่ม (RCTs) ที่มากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นในแขนงนี้

คุณภาพของหลักฐาน

คุณภาพของหลักฐาน (โดยใช้เกรด) ต่ำมากเนื่องจากความเสี่ยงสูงของอคติ (performance bias) และ imprecision (จำนวนจำกัดของการศึกษาและช่วงความเชื่อมั่นกว้าง) เนื่องจากการศึกษาที่มีอยู่จำกัดและมีคุณภาพต่ำมาก ไม่มีหลักฐานว่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอาจเพิ่มอัตราการเกิดมีชีพหรือผลการศึกษาอื่นๆ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

รีวิวนี้ประเมินอุณหภูมิที่แตกต่างกันสำหรับการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในระหว่าง IVF มีการขาดหลักฐานสำหรับผลลัพธ์ส่วนใหญในการทบทวนนี้ จากหลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมาก เรามีความไม่แน่ใจว่าการเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 37°C ช่วยเพิ่มผลการตั้งครรภ์ RCTs เพิ่มเติมมีความจำเป็นสำหรับการเปรียบเทียบอุณหภูมิที่แตกต่างกันของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนซึ่งจำเป็นต้องมีการรายงานผลทางคลินิกเป็นการคลอดมีชีพ การแท้ง การตั้งครรภทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

"ภาวะมีบุตรยาก" ถูกกำหนดว่าเป็นความล้มเหลวในการตั้งครรภ์หลังจาก 12 เดือนหรือมากกว่าของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันตามปกติ หนึ่งในหกคู่สมรสพบความล่าช้าในการตั้งครรภ์ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เป็นหนึ่งในเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ที่ช่วยให้ทำให้คู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากมีลูกได้ หนึ่งในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ IVF คือเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในเครื่องเพาะเลี้ยงที่มีการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพ มีการตั้งค่าที่ประมาณ 37°C ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแกนของร่างกายมนุษย์ แม้ว่าการศึกษาหลายครั้งได้แสดงให้ทราบว่าอุณหภูมินี้ในความเป็นจริงอาจจะต่ำลงในระบบสืบพันธ์สตรีและอุณภูมินี้อาจเป็นประโยชน์ ในการตรวจสอบนี้เราได้รวบรวมการทดลองควบคุมแบบสุ่มที่เปรียบเทียบอุณหภูมิที่แตกต่างกันของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

วัตถุประสงค์: 

ในการทบทวนนี้เราได้ประเมินอุณหภูมิที่แตกต่างกันของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนซึ่งอาจนำไปสู่อัตราการเกิดมีชีพที่สูงขึ้น

วิธีการสืบค้น: 

ผู้ประพันธ์ได้สืบค้นฐานข้อมูลอิเลกโทรนิกส์ ดังนี้: Cochrane Gynaecology and Fertility (CGF) Group Specialised Register of Controlled Trials, the Cochrane Central Register of Studies Online, MEDLINE, Embase, PsycINFO, CINAHL, clinicaltrials.gov, The World Health Organization International Trials Registry Platform search portal, DARE, Web of Knowledge, OpenGrey, LILACS database, PubMed และ Google Scholar นอกจากนี้เรายังค้นหาข้อมูลอ้างอิงของบทความที่เกี่ยวข้องและติดต่อผู้เชี่ยวชาญในสาขาด้วยตนเอง ในการสืบค้นไม่จำกัดภาษาและสถานะการตีพิมพ์ เราดำเนินการค้นหาล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2019

เกณฑ์การคัดเลือก: 

ผู้ประพันธ์สองท่านทบทวนคัดกรองชื่อเรื่องและบทคัดย่อของข้อความที่ดึงมาโดยการค้นหาโดยอิสระต่อกัน บทความฉบับเต็มของการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) ที่อาจมีสิทธิ์ได้รับและการคัดกรอง เรารวม rcts ทั้งหมดที่เปรียบเทียบอุณหภูมิที่แตกต่างกันของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนใน IVF หรือการฉีดสเปิร์มเข้าเซลล์ไข่ (icsi), ที่มีความแตกต่างต่ำสุดในอุณหภูมิระหว่างตู้เพาะเลี้ยงทั้งสอง ≥0.5 °C กระบวนการค้นหาจะแสดงในแผนภูมิของ PRISMA

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์สองท่านทบทวนตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของอคติและดึงข้อมูลจากการศึกษาที่รวบรวมโดยอิสระ; ผู้ประพันธ์รีวิวที่สามเป็นผู้แก้ไขความขัดแย้งใดๆ เราติดต่อผู้ประพันธ์การทดลองเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม ผลลัพธ์หลัก คือ การคลอดมีชีวิต การแท้งบุตร การตั้งครรภ์ทางคลินิก การตั้งครรภ์ต่อเนื่อง การตั้งครรภ์แฝดและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เป็นผลลัพธ์รอง ข้อมูลที่ถูกดึงทั้งหมดเป็นผลลัพธ์สองทาง และ odds ratios (OR) ได้รับการคำนวณด้วย ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CIs) ในพื้นฐานของ intention-to-treat เราประเมินคุณภาพโดยรวมของหลักฐานสำหรับการเปรียบเทียบที่สำคัญโดยวิธี GRADE

ผลการวิจัย: 

เรารวมถึง 3 RCTs, ที่มีสตรีทั้งหมด 563 คน ที่เมื่อเทียบกับการเพาะเลี้ยงของตัวอ่อนที่ 37.0°C หรือ 37.1°C กับการเพาะเลี้ยงที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า (37.0 ° C เทียบกับ 36.6 °C, 37.1°C เทียบกับ 36.0 °C, 37.0 °C เทียบกับ 36.5°C) การเกิดมีชีพ การแท้ง การตั้งครรภ์ทางคลินิก การตั้งครรภ์ต่อเนื่องและการตั้งครรภ์แฝดถูกรายงาน หลังจากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ประพันธ์ เราได้ยืนยันหนึ่งการศึกษาว่าไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ อีกสองการศึกษาไม่ได้รายงานเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เราไม่ได้ทำการวิเคราะห์เมตาเนื่องจากมีจำนวนการศึกษาของแต่ละผลลัพธ์ไม่เพียงพอต่อการรวมผลลัพ์ การเกิดมีชีพไม่ได้รับการประเมินเนื่องจากไม่มีข้อมูลที่สนใจ หลักฐานสำหรับผลลัพธ์หลัก การแท้งมีคุณภาพต่ำมาก หลักฐานสำหรับผลลัพธ์รอง การตั้งครรภ์ทางคลินิก การตั้งครรภ์ต่อเนื่องและการตั้งครรภแฝดยังมีคุณภาพต่ำมาก เราลดระดับคุณภาพหลักฐานเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงของอคติ (จาก performance bias) และ imprecision เนื่องจากมีจำนวนการศึกษาที่จำกัดและ CIs ที่กว้าง

การศึกษาเพียงครั้งเดียวรายงานผลลัพธ์หลัก การเกิดมีชีพ (n = 52) พวกเขาดำเนินการสุ่มในระดับของ oocytes ไม่ใช่ในสตรีและใช้การออกแบบจับคู่ที่สองตัวอ่อน หนึ่งจาก 36.0 °C และหนึ่งจาก 37.0°C ถูกย้าย ข้อมูลจากการศึกษานี้ไม่สามารถแปลผลได้ในทางที่มีความหมาย ดังนั้นจึงไม่ได้นำเสนอ มีเพียงการศึกษาฉบับเดียวที่รายงานการแท้ง เราไม่แน่ใจว่าการเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิต่ำกว่าลดการแท้ง (odds ratio (OR) 0.90, 95% CI 0.52 ถึง 1.55; 1 การศึกษา, N = 412; หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมาก)

จากสองการศึกษาที่รายงานการตั้งครรภ์ทางคลินิก, เพียงหนึ่งการศึกษาที่ดำเนินการสุ่มในระดับสตรี เราไม่แน่ใจว่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่าช่วยเพิ่มการตั้งครรภ์ทางคลินิกเมื่อเทียบกับ 37°C สำหรับการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน (OR 1.08, 95% CI 0.73 ถึง 1.60; 1 การศึกษา, N = 412; หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมาก สำหรับผลการตั้งครรภต่อเนื่อง เราไม่แน่ใจว่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจะดีกว่า 37° C (OR 1.10, 95% CI 0.75 ถึง 1.62; 1 การศึกษา N = 412; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) การตั้งครรภ์แฝดถูกรายงาน โดยสองการศึกษาหนึ่งซึ่งใช้การออกแบบที่จับคู่ซึ่งทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะรายงานข้อมูลต่ออุณหภูมิ เรามีความไม่แน่นอนว่าอุณหภูมิต่ำกว่า 37°C จะลดการตั้งครรภ์แฝด (OR 0.80, 95% CI 0.31 ถึง 2.07; 1 การศึกษา, N = 412; หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำมาก) มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากไม่มีการศึกษารายงานข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นพ เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 18 ตุลาคม 2019

Tools
Information