สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์เมื่อเทียบกับสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ปราศจากโปรตีนในทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็น respiratory distress syndrome

คำถามในการทบทวน: การใช้สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์เมื่อเทียบกับการใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ไม่มีโปรตีนจะนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีขึ้นในทารกที่มีความเสี่ยงหรือมี respiratory distress syndrome หรือไม่?

ที่มา: สารลดแรงตึงผิว (surfactant) ในปอดเป็นสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้ถุงลมของปอดยุบตัวลงโดยการลดความตึงผิว ทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจลำบาก (respiratory distress syndrom, RDS) มีปอดที่ยังไม่สมบูรณ์และมักขาด surfactant ในปอด การให้สารลดแรงตึงผิวที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (โดยการเตรียมจาก surfactant ของสัตว์หรือการสังเคราะห์ขึ้นมาโดยที่อาจมีหรือไม่มีโปรตีน) ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถลดความรุนแรงของ RDS และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของทารกที่มี RDS ได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าการใช้สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์ หรือ สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ไม่มีโปรตีนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกหรือไม่

ลักษณะการศึกษา: มีการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบทั้งหมด 15 เรื่องที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อนำมาทบทวน

ผลการศึกษา: การทบทวนนี้เป็นการเปรียบเทียบการใช้สารลดแรงตึงผิวจากสัตว์กับสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ไม่มีโปรตีนและพบว่ามีการลดลงของความเสี่ยงต่อการเกิด pneumothorax (อากาศในโพรงปอด) และการเสียชีวิตในทารกที่ได้รับสารลดแรงตึงผิวจากสัตว์

มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าสารลดแรงตึงผิวจากสัตว์ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก (RDS) เมื่อเทียบกับสารลดแรงตึงสังเคราะห์ที่ไม่มีโปรตีน

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ทั้งสารลดแรงตึงผิวที่สกัดจากสัตว์และสารลดแรงตึงผิวที่สังเคราะห์โดยปราศจากโปรตีนมีประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันภาวะ respiratory distress syndrome. การศึกษาเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในช่วงต้นของการต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การลดลงของภาวะลมรั่วเข้าช่องปอด (pneumothoraces) และการเสียชีวิตลดลงในกลุ่มที่ใช้สารลดแรงตึงผิวที่ได้รับจากสัตว์ สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์อาจมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ enterocolitis และ intraventricular hemorrhage แม้ว่าภาวะเลือดออกที่ร้ายแรงกว่า (ระดับ 3 และ 4) จะไม่เพิ่มขึ้น แม้จะมีความกังวลเหล่านี้ ดุเหมือนว่าสารลดแรงตึงผิวที่สกัดจากสัตว์ น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าพอใจมากกว่าเมื่อเทียบกับสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ไม่มีโปรตีนที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

มีการพัฒนาและทดสอบสารลดแรงตึงผิวหลากหลายชนิดได้แก่สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์และ สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์ แม้ว่าการทดลองทางคลินิกได้แสดงให้เห็นว่าทั้งสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์และสารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์มีประสิทธิภาพ การเปรียบเทียบในสัตว์ (animal models) ได้ชี้ให้เห็นว่าสารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์ อาจมีประสิทธิภาพดีกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะปริมาณโปรตีนในสารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์

วัตถุประสงค์: 

เพื่อเปรียบเทียบผลของสารลดแรงตึงผิวที่ได้รับจากสัตว์กับสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์โดยปราศจากโปรตีนในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหรือมีภาวะหายใจผิดปกติ (RDS)

วิธีการสืบค้น: 

การค้นหาได้รับการปรับให้เป็นปัจจุบัน จาก Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL) ใน The Cochrane Library (2014), PubMed, CINAHL และ EMBASE (1975 ถึงพฤศจิกายน 2014) โดยสืบค้นทุกภาษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบที่ีเปรียบเทียบการใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ปราศจากโปรตีนกับการใช้สารลดแรงตึงผิวที่สกัดจากสัตว์ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหรือเป็นภาวะหายใจลำบาก (RDS)

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ได้ดำเนินการตามมาตรฐานของ Cochrane Neonatal Review Group.

ผลการวิจัย: 

มีการศึกษา 15 เรื่องที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือก การวิเคราะห์แบบmeta-analysis พบว่าการใช้สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์แทนการใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ที่ปราศจากโปรตีนส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิด ลมรั่วออกมาในช่องปอด (pneumothorax) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (RR) 0.65, 95% CI 0.55 ถึง 0.77; ความแตกต่างของความเสี่ยง (RD) -0.04, 95% CI -0.06 ถึง -0.02; จำนวนทารกที่รักษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ (number needed to treat to benefit, NNTB) 25; 11 การศึกษา, ทารก 5356 คน และมีการลดของการเสียชีวิต (RR 0.89, 95% CI 0.79 ถึง 0.99, ความแตกต่างของความเสี่ยง (RD) -0.02, 95% CI -0.04 ถึง -0.00; NNTB 50; 13 การศึกษา ทารก 5413 คน ) .

สารลดแรงตึงผิวที่ได้จากสัตว์มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด necrotizing enterocolitis (RR 1.38, 95% CI 1.08 ถึง 1.76; ความแตกต่างของความเสี่ยง (RD) 0.02, 95% CI 0.01 ถึง 0.04; จำนวนที่จำเป็นในการรักษาที่ก่อให้เกิดอันตราย (number needed to treat to harm, NNTH) 50; 8 การศึกษา ทารก 3462 คน และมีการเพิ่มความเสี่ยงของ intraventricular hemorrhage ไม่ว่าระดับใด (RR 1.07, 95% CI 0.99 ถึง 1.15; RD 0.02, 95% CI 0.00 ถึง 0.05) การศึกษา 10 เรื่อง ทารก 5045 คน) แต่ไม่มีการเพิ่มขึ้นของ intraventricular hemorrhage ระดับ 3 ถึง 4 (RR 1.08, 95% CI 0.91 ถึง 1.27; RD 0.01, 95% CI -0.01 ถึง 0.03; 9 การศึกษา, ทารก 4241 คน)

การวิเคราะห์แบบ meta-analyses พบว่ามีการลดความเสี่ยงต่อการเป็น bronchopulmonary dysplasia หรือการเสียชีวิตจากการใช้สารลดแรงตึงผิวของสัตว์ (RR 0.95, 95% CI 0.91 ถึง 1.00; RD -0.03, 95% CI -0.06 ถึง 0.00; 6 การศึกษา ทารก 3811 คน ) ไม่พบความแตกต่างที่เกี่ยวข้องในผลลัพธ์ในด้านอื่นๆ

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล พญ. ดิษจี ลุมพิกานนท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 3 สิงหาคม พ.ค. 2017

Tools
Information