การผ่าตัดช่องทางเล็ก (ผ่านกล้อง) ผ่านช่องท้องสำหรับการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในสตรี

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

นักวิจัยตรวจสอบว่าการผ่าตัดช่องทางเล็ก (การผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด) นั้นดีกว่าการผ่าตัดชนิดอื่นๆ เพื่อรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (การรั่วไหลของปัสสาวะ) ในสตรี นอกจากนี้ นักวิจัยยังเปรียบเทียบวิธีการที่แตกต่างกันของการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดแต่ละวิธี

ความเป็นมา

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นปัญหาปวดทั่วไปสำหรับสตรีหลายคน ราวหนึ่งในสามของสตรีวัยเจริญพันธ์มีการรั่วไหลของปัสสาวะในระหว่างการออกแรงทางร่างกายหรือเมื่อไอ หัวเราะหรือจาม เมื่อภาวะกลั้นปัสสาวะยังคงอยู่ภายหลังการไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดมักถูกแนะนำให้ทำ การผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด เป็นการผ่าตัดผ่านแผลขนาดเล็กในช่องท้องที่จะดึงและสนับสนุนเนื้อเยื่อรอบคอของกระเพาะปัสสาวะ

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนนี้

หลักฐานเป็นปัจจุบันจนถึง 22 พฤษภาคม 2019

ลักษณะของการศึกษา

นักวิจัยพบการทดลอง 26 เรื่อง มีสตรี 2271 ราย ที่มีการเปรียบเทียบ colposuspension กับการผ่าตัดประเภทอื่นๆ สำหรับการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือเปรียบเทียบวิธีที่แตกต่างกันของการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด การทดลองทั้งหมดติตตามสตรีอย่างน้อย 18 เดือนหลังการผ่าตัด และบางการทดลองติดตามนานถึงห้าปี นักวิจัยมองไปที่ความคงทนของวิธีการทดลองแต่ละการศึกษาและจำนวนของสตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อการตัดสินคุณภาพของหลักฐานที่พวกเขานำเสนอ

ผลการศึกษาที่สำคัญ

หลักฐานที่มีคุณภาพสูงหมายถึงว่านักวิจัยมีความมั่นใจว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด กับแผล (ผ่าตัดเย็บผ่านช่องทางเล็ก) มีประสิทธิภาพเทียบเท่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อแขวนช่องคลอด (การผ่าตัดแบบดั้งเดิม) สำหรับการรักษาปัสสาวะเล็ดราดในระยะสั้น (สูงสุดถึง18 เดือนหลังจากการผ่าตัด) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไม่มั่นใจว่าภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังการผ่าตัดจะน้อยกว่าจากการผ่าตัดผ่านกล้องเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแขวนช่องคลอด

หัตถการที่ใช้ midurethral sling (ประเภทของตัวแขวนที่รองรับคอของกระเพาะปัสสาวะ) อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดในการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระยะสั้นและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด สตรีอาจมีโอกาสน้อยกว่าที่จะต้องผ่าตัดซ้ำด้วย 'สลิง' กว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด นักวิจัยไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์เหล่านี้เพราะหลักฐานมีคุณภาพต่ำ

การผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดด้วยวิธีเย็บแผลสองรอยอาจดีกว่าการเย็บแผลเดียวเพื่อการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระยะสั้นและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของการปัสสาวะและความจำเป็นในการผ่าตัดเพิ่มเติม แต่อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดสองรอยและหนึ่งรอยในแง่ของภาวะแทรกซ้อนการผ่าตัด นักวิจัยไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์เหล่านี้เพราะหลักฐานมีคุณภาพต่ำ

นักวิจัยมีความไม่แน่นอนมากว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดด้วยตาข่ายและลวดเย็บนั้นดีกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแขวนช่องคลอดหรือการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดด้วยการเย็บแผลเพื่อการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นักวิจัยยังไม่แน่ใจอย่างชัดเจนว่าสตรีที่มีการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดด้วยตาข่ายและลวดเย็บหรือเย็บแผลด้วยไหมต้องผ่าตัดซ้ำน้อยครั้งกว่า นักวิจัยไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์มากนัก เนื่องจากคุณภาพของหลักฐานต่ำมาก

หลักฐานที่นักวิจัยพบว่าเกี่ยวข้องกับผลกระทบของการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด ต่อคุณภาพชีวิตนั้นไม่สามารถสรุปได้และไม่สามารถถูกนำไปใช้ทั่วไป

คุณภาพของหลักฐาน

คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหมายความว่านักวิจัยไม่แน่ใจเกี่ยวกับประสิทธิผลโดยรวมของการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาอื่นๆ สำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เนื่องจากสตรีที่เข้าร่วมมีจำนวนน้อย ความเสี่ยงต่อการมีอคติและความแตกต่างระหว่างการทดลองในผลลัพธ์ทางสถิติ

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ข้อมูลบ่งชี้ว่าในแง่ของการรักษาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายใน 18 เดือนอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดและการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดหรือระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดกับการผ่าตัดใส่สายคล้องใต้ท่อปัสสาวะส่วนกลาง หลักฐานส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำซึ่งหมายความว่ายังมีความไม่แน่นอนอยู่มากเกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด การศึกษาในอนาคตควรมีจำนวนที่เพียงพอ ดำเนินการติดตามในระยะยาวและวัดผลที่สำคัญทางคลินิก

การศึกษาความเห็นทางเศรษฐกิจนั้นพบการศึกษาสามเรื่อง นักวิจัยยังไม่ได้ประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวและการศึกษานั้นควรจะตีความในแง่ของผลการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางคลินิก

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดเป็นหนึ่งในการผ่าตัดแผลเล็กชนิดแรกสำหรับการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรีด้วยข้อได้เปรียบของการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่สั้นกว่าและกลับสู่กิจกรรมปกติได้เร็วขึ้น

Cochrane Review นี้ได้รับการปรับปรุงล่าสุดในปี 2010

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดสำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี และสรุปผลการวิจัยที่สำคัญของการประเมินทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องของวิธีการเหล่านี้

วิธีการสืบค้น: 

นักวิจัยค้นหา Cochrane Incontinence Specialized Register (22 พฤษภาคม 2019) ซึ่งมีการทดลองที่ระบุจาก CENTRAL, MEDLINE, MEDLINE In-Process, MEDLINE Epub Ahead of Print, CINAHL, ClinicalTrials.gov, WHO ICTRP และการสืบค้นวารสารด้วยมือ และเอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการ

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การศึกษาแบบ randomised controlled trials ในสตรีที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งมีการผ่าตัดผ่านกล้องในอย่างน้อยหนึ่งกลุ่มการทดลอง

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

นักวิจัยดึงข้อมูลจากการทดลองที่เป็นไปตามเกณฑ์คัดเข้า ประเมินความเสี่ยงของอคติและนำ GRADE มาใช้

ผลการวิจัย: 

นักวิจัยรวมการทดลอง 26 เรื่อง มีสตรี 2271 คน

การทดลองสิบสามเรื่อง (สตรี 1304 คน) เปรียบเทียบการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแขวนช่องคลอด และการทดลองเก้าเรื่อง (สตรี 412 คน) ไปจนถึงขั้นตอนการทำสลิงกลางท่อปัสสาวะ การทดลองหนึ่งเรื่อง (สตรี 161 คน) เปรียบเทียบการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดหนึ่งรอยกับการผ่าตัดส่องกล้องครั้งเดียวด้วยการเย็บสองครั้ง และการทดลองสามเรื่อง (สตรี 261 คน) เปรียบเทียบการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดกับการเย็บแผลแบบส่องกล้องด้วยตาข่ายและใช้ลวดเย็บ การทดลองส่วนใหญ่ไม่ได้ติดตามผู้เข้าร่วมมากกว่า 18 เดือน โดยรวมมีความเสี่ยงของอคติที่ไม่ชัดเจนในเรื่อง selection bias, performance bias และ detection bias และโดยทั่วไปมีความเสี่ยงของอคติต่ำในเรื่อง attrition bias และ reporting bias

มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดโดยใช้การเย็บแผลและการเปิดหน้าท้องเพื่อรักษาภายใน 18 เดือน (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 1.04, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.99 ถึง 1.08; การทดลอง 6 เรื่อง, สตรี 755 ราย; หลักฐานมีคุณภาพสูง) นักวิจัยไม่แน่ใจว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดโดยใช้ตาข่ายและลวดเย็บนั้นดีกว่าหรือแย่กว่า การผ่าตัดแขวนช่องคลอดแบบเปิดสำหรับการรักษาภายใน 18 เดือน (RR 0.75, 95% CI 0.61 ถึง 0.93; การทดลอง 3 เรื่อง, สตรี 362 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) หรือความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการผ่าตัดซ้ำด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด การผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดอาจลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด (RR 0.67, 95% CI 0.47 ถึง 0.94; การทดลอง 11 เรื่อง, สตรี 1369 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) อาจมีอัตราการทะลุของกระเพาะปัสสาวะที่คล้ายกันหรือสูงกว่าในการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอด (RR 1.72, 95% CI 0.90 ถึง 3.29, การทดลอง 10 เรื่อง, สตรี 1311 คน; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) อัตราสำหรับการเกิดกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกิน (RR 1.29, 95% CI 0.72 ถึง 2.30; การทดลอง 5 เรื่อง, สตรี 472 คน) และความผิดปกติของการปัสสาวะ (RR 0.81, 95% CI 0.50 ถึง 1.31; การทดลอง 5 เรื่อง, สตรี 507 คน) อาจจะคล้ายกัน แต่นักวิจัยไม่แน่ใจ เนื่องจากช่วงความเชื่อมั่นกว้าง การศึกษาห้าเรื่องรายงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต แต่นักวิจัยไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูล

อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดโดยใช้การเย็บแผลและสายเทปคล้องใต้ท่อปัสสาวะ (tension-free vaginal tape; TVT) สำหรับการรักษาภายใน 18 เดือน (RR 1.01, 95% CI 0.88 ถึง 1.16; การทดลอง 4 เรื่อง, สตรี 256 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) หรือระหว่างการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดโดยใช้ตาข่ายและลวดเย็บและ TVT (RR 0.71, 95% CI 0.55 ถึง 0.91; การทดลอง 1 เรื่อง, สตรี 121 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องแขวนช่องคลอดเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบการผ่าตัดใส่สายคล้องใต้ท่อปัสสาวะส่วนกลาง อาจมีอัตราการผ่าตัดซ้ำที่ต่ำกว่า (RR 0.40, 95% CI 0.04 ถึง 3.62, การทดลอง 1 เรื่อง, สตรี 70 คน, หลักฐานคุณภาพต่ำ) และความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดที่คล้ายกัน (RR 0.99, 95% CI 0.60 ถึง 1.64; การทดลอง 7 เรื่อง, สตรี 514 คน, หลักฐานคุณภาพต่ำ) แต่นักวิจัยไม่แน่ใจเนื่องจากช่วงความเชื่อมั่นที่กว้าง อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยในแง่ของกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกิน (RR 0.80, 95% CI 0.34 ถึง 1.88; การทดลอง 4 เรื่อง, สตรี 326 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) และอาจแตกต่างกันเล็กน้อยในแง่ของความผิดปกติของการปัสสาวะ (RR 1.06, 95% CI 0.47 ถึง 2.41; การทดลอง 5 เรื่อง, สตรี 412 คน; หลักฐานมีคุณภาพปานกลาง) แม้ว่านักวิจัยจะไม่แน่ใจเนื่องจากช่วงความเชื่อมั่นกว้าง การศึกษาห้าเรื่องรายงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต แต่นักวิจัยไม่สามารถสังเคราะห์ข้อมูล ไม่มีรายงานการศึกษาเรื่องการทะลุของกระเพาะปัสสาวะ

หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำบ่งชี้ว่าอาจมีอัตราการรักษาสูงขึ้นภายใน 18 เดือนในการเย็บสองครั้งเมื่อเปรียบเทียบกับการเย็บหนึ่งครั้ง (RR 1.37, 95% CI 1.14 ถึง 1.64; การทดลอง 1 เรื่อง, สตรี 158 คน) เมื่อเปรียบเทียบกับการเย็บครั้งเดียวและการเย็บสองครั้ง การเย็บครั้งเดียวอาจมีอัตราการผ่าตัดซ้ำที่ต่ำกว่า (RR 0.35, 95% CI 0.01 ถึง 8.37; การทดลอง 1 เรื่อง, สตรี 157 คน) และความเสี่ยงที่คล้ายกันจากภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด (RR 0.88, 95% CI 0.45 ถึง 1.70) แต่นักวิจัยไม่แน่ใจเนื่องจากช่วงความเชื่อมั่น 95% กว้าง อาจมีอัตราที่สูงขึ้นของความผิดปกติของการปัสสาวะด้วยการเย็บเพียงครั้งเดียวเมื่อเทียบกับการเย็บสองครั้ง (RR 2.82; 95% CI 0.30 ถึง 26.54; การทดลอง 1 ครั้ง, สตรี 158 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) แต่นักวิจัยไม่แน่ใจเนื่องจากช่วงความเชื่อมั่นกว้าง การทดลองนี้ไม่ได้รายงานการทะลุของกระเพาะปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินหรือคุณภาพชีวิต

นักวิจัยไม่แน่ใจว่าการส่องกล้องด้วยวิธีเย็บนั้นดีกว่าหรือแย่กว่าสำหรับการรักษาภายใน 18 เดือนเมื่อเทียบกับตาข่ายและลวดเย็บ (RR 1.24, 95% CI 0.96 ถึง 1.59, การทดลอง 2 เรื่อง, สตรี 180 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) หรือในแง่ของการผ่าตัดการกลั้นปัสสาวะซ้ำ (RR 0.97, 95% CI 0.06 ถึง 14.91; การทดลอง 1 เรื่อง, สตรี 69 คน, หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก) การผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการเย็บแผลอาจเพิ่มจำนวนของภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดเมื่อเทียบกับตาข่ายและลวดเย็บ (RR 1.94, 95% CI 1.09 ถึง 3.48; การทดลอง 3 เรื่อง, สตรี 260 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) แต่อัตราการเกินกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินนั้นอาจใกล้เคียงกัน (RR 0.72, 95% CI 0.17 ถึง 3.06; การทดลอง 2 เรื่อง, สตรี 122 คน; หลักฐานมีคุณภาพต่ำ) อย่างไรก็ตามนักวิจัยไม่แน่ใจเนื่องจากช่วงความเชื่อมั่นกว้าง ไม่มีการศึกษาใดที่รายงานว่ามีการทะลุของกระเพาะปัสสาวะ ความผิดปกติของการปัสสาวะหรือคุณภาพชีวิต

บันทึกการแปล: 

แปลโดย นพ. เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2020

Tools
Information