ประเด็นปัญหาคืออะไร?
การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด(การเจ็บครรภ์ที่ถูกทำให้เกิดขึ้น)บ่อยครั้งมีความจำเป็นเพราะเหตุผลทางการแพทย์ เช่นสตรีตั้งครรภ์เกินกำหนด สามารถใช้วิธีการชักนำแบบต่างๆ เช่น ยา (prostaglandins E2, misoprostol หรือ isosobide mononitrate) หรือการเจาะถุงน้ำและคร่ำ การชักนำการคลอดมักทำในโรงพยาบาล บางวิธีอาจจะเหมาะสำหรับใช้แบบผู้ป่วยนอก และอนุญาตให้กลับบ้านเพื่อรอดูความก้าวหน้าของการคลอด เราตรวจสอบความเป็นไปได้ ประสิทธิผลและความปลอดภัย ของการชักนำการคลอดแบบผู้ป่วยนอกรวมทั้งความพึงพอใจของสตรีและค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล
ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ
สตรีตั้งครรภ์ที่ครบกำหนดสามารถได้รับการประเมินในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ให้การชักนำ ตามด้วยการเฝ้าติดตามระยะสั้นและให้กลับบ้าน อีกทางเลือกหนึ่งคือ ให้ยาหรือวิธีการชักนำอื่นไปทำที่บ้าน สตรีอาจจะมีความพึงพอใจมากกว่าที่จะรอการเริ่มเจ็บครรภ์อยู่ที่บ้าน และค่าการดูแลแบบผู้ป่วยนอกอาจจะน้อยกว่า
เราพบหลักฐานอะไร?
การทบทวนนี้เป็นการ update ซึ่งรวบการศึกษาใหม่ 6 ฉบับ มีการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ 34 ฉบับ ในสตรี 5003 คน หลักฐานงานวิจัยที่พบถึงเดือนพฤศจิกายน 2016 สตรีดังกล่าวมีสุขภาพดีและมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตำ่ สตรีดังกล่าวได้รับการชักนำการคลอด ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษาอะไร มีข้อมูลจำกัดสำหรับผลลัพท์ที่สนใจ ความเสี่ยงต่ออคติโดยทั่วไปตำ่หรือไม่ชัดเจน คุณภาพของหลักฐานอยู่ในเกณฑ์ตำ่ และมีส่วนน้อยที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
สตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดที่ได้รับการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกมีโอกาสที่จะต้องการการชักนำเพิ่มเติมน้อยกว่าสตรีที่ได้รับยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา ยา PGE2 ทางช่องคลอด mifepristone และ misoprostol ดูว่าจะได้ผล ไม่มีรายงานความแตกต่างที่ชัดเจนของการเกิดการบีบรัดตัวของมดลูกมากเกินไป การผ่าคลอด และความต้องการการดูแลทารกอย่าง intensive
มีสตรีน้อยเกินไปที่จะประเมินความแตกต่างของผลลัพท์ที่พบน้อย เช่น การตายของทารกหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรงของแม่หรือเด็ก ไม่มีรายงานการกลับมาโรงพยาบาลแบบฉุกเฉิน ยาบางอย่างมีอาการข้างเคียง (เช่นปวดศีรษะ) โดนรวมมีข้อมูลน้อยเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
สิ่งนี้หมายความว่าอะไร
สำหรับสตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงต่ำ การขักนำการเจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกและสามารถให้สตรีกลับไปรอการเจ็บครรภ์ที่บ้านมีความเป็นไปได้ การขักนำการเจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกอาจลดทั้งการใช้ยาเพิ่มเติมและระยะเวลาจากการรักษาถึงการคลอด ไม่เพิ่มการที่จะต้องใช้การรักษาพยาบาลอื่นในระหว่างการคลอด อย่างไรก็ดี มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะบอกได้ชัดเจนว่าการขักนำการเจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกปลอดภัย การวิจัยในอนาคตควรมุ่งไปที่จะตอบว่าวิธีการไหนที่สตรีพอใจและมีประสิทธิผลสูงและปลอดภัย
การชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกมีความเป็นไปได้และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญเกิดน้อย อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะเห็นความแตกต่าง ไม่มีหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกมีผลกระทบ(ทั้งด้านบวกและลบ)ต่อสุขภาพของมารดาและทารก มีหลักฐานบางส่วนที่แสดงว่าการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดแบบผู้ป่วยนอกเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษาลดความต้องการการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดเพิ่มเติมและลดระยะเวลาระหว่างการให้การรักษาและการคลอด
เราไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกว่าสตรีชอบวิธีชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดแบบไหน วิธีไหนมีประสิทธิผลและความปลอดภัยสูงสุดสำหรับการใช้แบบผู้ป่วยนอกหรือเรื่อง cost effectiveness ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเปรียบเทียบวิธีการแบบผู้ป่วยนอกที่สตรีชอบแบบตัวต่อตัว ส่นหนึ่งของงานดังกล่าว ควรปรึกษาสตรีว่าชอบการดูแลรักษาแบบไหน
การขักนำการเจ็บครรภ์คลอดทำด้วยข้อบ่งชี้หลากหลายและใช้วิธีการแบบต่างๆ สำหรับสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ วิธีการการขักนำการเจ็บครรภ์คลอดหรือทำให้ปากมดลูกมีความพร้อมมากขึ้นอาจจะมีความเหมาะสมที่จะทำแบบผู้ป่วยนอก
เพื่อตรวจสอบการใช้ยาหรือวิธีการอื่นเพื่อชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดหรือทำให้ปากมดลูกพร้อมมากขึ้นโดยทำแบบผู้ป่วยนอกในเรื่องของประสิทธิผล ความพึงพอใจของมารดา ค่าใช้จ่าย และความปลอดภัยถ้ามีข้อมูล
เราได้สืบค้นฐานข้อมูลของ Cochrane Pregnancy and Childbirth Group (30 ์November 2016) และสืบค้นจากรายการเอกสารอ้างอิงของรายงานการศึกษาที่ค้นได้
เรารวบรวมนำเข้า RCTs ที่ประเมินการทำให้ปากมดลูกพร้อมมากขึ้นหรือการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดโดยทำแบบผู้ป่วยนอกโดยใช้ยาหรือวิธีการอื่น Cluster trials ก็สามารถรวบรวมนำเข้าได้
ผู้วิจัยสองคนประเมินการศึกษาเพื่อนำเข้ามาทบทวน ตรวจสอบอคติและประเมินคุณภาพอย่างอิสระต่อกัน คัดลอกและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวมมได้ เราประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยวิธีการของ GRADE
การทบทวนวรรณกรรมฉบับ update นี้รวบรวมนำเข้างานวิจัย 34 ฉบับ มีวิธีการชักนำการเจ็บครรภ์คลอด 11 วิธี มีสตรีเข้าร่วมโครงการ 5003 คน โดยที่สตรีได้รับการรักษาที่บ้านหรือส่งกลับบ้านหลังได้รับการรักษาและการเฝ้าระวังเบื้องต้นในโรงพยาบาล
มีการศึกษา prostaglandins E2 (PGE2)ใส่ในช่องคลอดและภายในปากมดลูก misoprostolทางช่องคลอดหรือกิน isosorbide mononitrate, mifepristone, oestrogen การเจาะถุงน้ำคร่ำ การฝังเข็มเปรียบเทียบกับยาหลอก ไม่ได้รับการรักษาหรือการดูแลปกติ การวัจัยโดยทั่วไปรวบรวมสตรีสุขภาพดีและตั้งครรภ์ครบกำหนด ความเสี่ยงต่อการเกิดอคติส่วนใหญ่ต่ำหรือไม่ชัด อย่างไรก็ตามในการวิจัย 16 เรื่องข้อมูลเกี่ยวกับ blinding ไม่ชัดหรือไม่ได้ทำ โดยทั่วไปข้อมูลสำหรับผลลัพท์หลักและผลลัพท์เพิ่มเติมมีจำกัด คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับปานกลาง
1. PGE2 ทางช่องคลอดเปรียบเทียบกับการดูแลแบบเฝ้าระวังหรือยาหลอก(การศึกษา 5 เรื่อง)
สตรีที่ได้รับ PGE2ทางช่องคลอดต้องการวิธีการชักนำเพ่ิ่มเติมน้อยกว่าเพื่อให้มีการเจ็บครรภ์ อย่างไรก็ตามช่วงเชื่อมั่นกว้าง(Risk ratio (RR) 0.52, 95%confidence interval (CI) 0.27 to 0.99; สตรี 150 คน; 2 trials ไม่พบความแตกต่างระหวา่งกลุ่มที่ชัดเจนใน uterine hyperstimulation (ทั้งมีและไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราการเต้นของหัวใจทารก) (RR 3.76, 95% CI 0.64 to 22.24; สตรี 244 คน; การศึกษา 4 เรื่อง; low-quality evidence), caesarean section (RR 0.80, 95% CI 0.49 to 1.31; สตรี 288 คน; การศึกษา 4 เรื่องlow-quality evidence), or admission to a neonatal intensive care unit (NICU) (RR 0.32, 95% CI 0.10 to 1.03; 230 infants; 3 studies; low-quality evidence).
ไม่มีข้อมูลการคลอดทางช่องคลอดภายใน 24, 48 หรือ 72 ชั่วโมง ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล การใช้บริการฉุกเฉิน ความพึงพอใจของมารดาและผู้ให้บริการ ไม่มีรายงานการเจ็บป่วยรุนแรงหรือการตายของทั้งมารดาและทารก
2. PGE2 ทางปากมดลูกเปรียบเทียบกับการดูแลแบบเฝ้าระวังหรือยาหลอก(การศึกษา 7 เรื่อง)
ไม่พบความแตกต่างระหวา่งสตรีที่ได้รับPGE2 ทางปากมดลูกกับที่ไม่ได้รับหรือได้รับยาหลอกในความต้องการการชักนำเพิ่มเติม(RR 0.98, 95% CI 0.74 to 1.32; สตรี 445 คน; การศึกษา 3 เรื่อง), การคลอดทางช่องคลอดไม่เกิดขึ้นภายใน 48 ถึง 72 hours (RR 0.83, 95% CI 0.68 to 1.02; สตรี 43 คน; การศึกษา 1 เรื่อง; low-quality evidence), uterine hyperstimulation (with FHR changes) (RR 2.66, 95% CI 0.63 to 11.25; สตรี 488 คน; การศึกษา 4 เรื่อง; low-quality evidence), caesarean section (RR 0.90, 95% CI 0.72 to 1.12; สตรี 674 คน; การศึกษา 7 เรื่อง; 3moderate-quality evidence), or babies admitted to NICU (RR 1.61, 95% CI 0.43 to 6.05; ทารก 215 คน; การศึกษา 3 เรื่อง; low-quality evidence). ไม่มีรายงานมดลูกแตกทั้งในกลุ่ม PGE2 หรือยาหลอก
ไม่มีข้อมูลการคลอดทางช่องคลอดภายใน 24 ชั่วโมง ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล การใช้บริการฉุกเฉิน ความพึงพอใจของมารดาและผู้ให้บริการ ไม่มีรายงานการเจ็บป่วยรุนแรงหรือการตายของทั้งมารดาและทารก
3. misoprostol ทางช่องคลอดเปรียบเทียบกับยาหลอก (การศึกษา 4 เรื่อง)
การศึกษาเล็กๆหนึ่งเรื่องรายงาน perinatal death rate ไม่พบความแตกต่างระหวา่งกลุ่มที่ชัดเจน ไม่มีการตายในกลุ่มที่ได้รับยาเปรียบเทียบกับ stillbirth หนึ่งราย(ไม่รายงานสาเหตุ)ในกลุ่มเปรียบเทียบ (RR 0.34, 95% CI 0.01 to 8.14; ทารก 77 คน; การศึกษา1 เรื่อง; low-quality evidence).
ไม่พบความแตกต่างระหวา่งกลุ่มที่ชัดเจนในอัตราการเกิด uterine hyperstimulation with FHR changes (RR 1.97, 95% CI 0.43 to 9.00; สตรี 265 คน; การศึกษา 3 เรื่อง; low-quality evidence1), caesarean section (RR 0.94, 95% CI 0.61 to 1.46; สตรี 325 คน; การศึกษา 4 เรื่อง; low-quality evidence), and ทารก admitted to NICU (RR 0.89, 95% CI 0.54 to 1.47; ทารก 325 คน; การศึกษา 4 เรื่อง; low-quality evidence).
ไม่มีข้อมูลการคลอดทางช่องคลอดไม่สำเร็จภายใน 24, 48 หรือ 72 ชั่วโมง ความต้องการวิธีการชักนำเพิ่มเติม ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล การใช้บริการฉุกเฉิน ความพึงพอใจของมารดาและผู้ให้บริการ การเจ็บป่วยรุนแรงหรือการตายของทั้งมารดาและทารก
ไม่พบความแตกต่างที่สำคัญในการเปรียบเทียบอื่น การศึกษาขนาดเล็กเรื่องหนึ่งพบว่าสตรีที่ได้ misoprostol แบบกินมีโอกาสคลอดบุตรภายใน 24 ชั่วโมงมากกว่า(RR 0.65, 95% CI 0.48 to 0.86; สตรี 87 คน; การศึกษา1 เรื่อง) และมีโอกาสน้อยกว่าที่จะต้องการวิธีการชักนำเพิ่มเติม (RR 0.60, 95% CI 0.37 to 0.97; สตรี 127 คน; การศึกษา 2 เรื่อง). สตรีที่ได้รับ mifepristol มีโอกาสน้อยกว่าที่จะต้องการวิธีการชักนำเพิ่มเติม (average RR 0.59, 95% CI 0.37 to 0.95; สตรี 311 คน; การศึกษา 4 เรื่อง; I² = 74%); อย่างไรก็ตามควรพิจารณาผลนี้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมี high heterogeneity. มีการศึกษา acupunture และ การเจาะถุงน้ำคร่ำแบบผู้ป่วยนอกอย่างละหนึ่งเรื่อง แต่มีรายงานผลลัพท์จำนวนน้อย
CD007701.pub3 ผู้แปล ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 มกราคม 2561