การใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีขี้เทาในน้ำคร่ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในมารดาและทารก

การที่มีขี้เทาในน้ำคร่ำเกิดจากการขับถ่ายของเสียของทารกในครรภ์ออกมาในนำ้คร่ำ อุบัติการณ์สูงขึ้นในครรภ์เกินกำหนด สตรีตั้งครรภ์ที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดา เช่น การเกิดการอักเสบที่เยื่อหุ้มทารกจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลังคลอด และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับทารก เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด การที่ต้องเข้ารักษาในห้องบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด ภาวะเครียด หรือขาดอากาศของทารกในครรภ์อาจกระตุ้นให้เกิดการหายใจ ทำให้เกิดการสำลักเอาขี้เทาในน้ำคร่ำเข้าไปในปอด

การทบทวนวรรณกรรมจะอิงข้อมูลที่เป็น RCT 2 การศึกษา มีหญิงตั้งครรภ์ 362 คน พบว่าการให้ยาปฏิชีวนะอาจลดการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำในมารดาที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (หลักฐานคุณภาพระดับปานกลาง)การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ลดการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด (หลักฐานคุณภาพระดับต่ำ) การที่ต้องนอนในห้องบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (หลักฐานคุณภาพระดับต่ำ) หรือ การติดเชื้อในเยื่อบุโพรงมดลูกหลังคลอด (หลักฐานคุณภาพระดับต่ำ)ต้องการการศึกษาที่มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำมากขึ้นเพื่อตอบคำถามนี้

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานในปัจจุบันพบว่าการให้ยาปฏิชีวนะในมารดาเจ็บครรภ์คลอดที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ อาจลดการเกิดถุงน้ำคร่ำอักเสบเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าการให้ยาปฏิชีวนะสามารถลดการติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด และการที่ต้องนอนในห้องบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด การทบทวนวรรณกรรมนี้พบว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาที่ได้รับการออกแบบอย่างดี จำนวนเพียงพอ เพื่อที่จะได้ประเมินผลของการให้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในมารดาที่เจ็บครรภ์คลอดที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ ไม่ว่าจะการเกิดการติดเชื้อในมารดาและทารกแรกเกิด

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ถุงน้ำคร่ำอักเสบมีแนวโน้มจะเกิดสูงขึ้นเมื่อมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ ขี้เถ้าเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และไปขัดขวางคุณสมบัติของน้ำคร่ำในการป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับทารกในกรณีที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำเป็นผลจาก meconium aspiration syndrome การที่มีขี้เทาปนน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อทั้งของมารดาและทารกแรกเกิด การใช้ยาปฏิชีวนะอาจช่วยลดการติดเชื้อดังกล่าว

วัตถุประสงค์: 

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงในการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในมารดาและทารกที่มีภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำขณะเจ็บครรภ์คลอด

วิธีการสืบค้น: 

ได้สืบค้นข้อมูลจาก the Cochrane Pregnancy and Childbirth Group’s Trials Register (30 กันยายน 2014)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

RCT เปรียบเทียบการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันกับยาหลอก หรือไม่ให้การรักษา ในสตรีเจ็บครรภ์คลอดที่มีขี้เทาปนเปื้อนในน้ำคร่ำ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัย 2คนได้ทำการประเมินงานวิจัยอย่างเป็นอิสระต่อกันในการคัดเข้า และการประเมินความเสี่ยง การคัดแยกข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้อง

ผลการวิจัย: 

เราคัดเข้าการศึกษา 2 รายงาน มีจำนวนสตรีตั้งครรภ์ 362 คน ทั้ง 2 การศึกษาเปรียบเทียบยา ampicillin-sulbactam(N = 183) กับ normal saline (N = 179) ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีขี้เทาปนเปื้อนในน้ำคร่ำ การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในมารดาที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ พบว่าไม่ได้ช่วยลดการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด (risk ratio (RR) 1.00, 95% CI 0.21 to 4.76)การที่ต้องเข้านอนรักษาในห้องบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด(RR 0.83, 95% CI 0.39 to 1.78) และการติดเชื้อของเยื่อบุมดลูกหลังคลอด(RR 0.50, 95% CI 0.18 to 1.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การให้ยาปฏิชีวนะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดถุงน้ำคร่ำอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ (RR 0.36, 95% CI 0.21 to 0.62) ไม่พบรายงานว่ามีการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการได้รับยาปฏิชีวนะ ไม่มีรายงานการดื้อยา ระยะเวลาที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาที่ต้องอยู่ในห้องบำบัดพิเศษทารกแรกเกิดหรือโรงพยาบาล หนึ่งการศึกษาเมื่อดูเรื่องความเสี่ยงในการลำเอียงพบว่ามีความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อีกการศึกษาไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้ การประเมินคุณภาพของการศึกษาโดยใช้ GRADE พบว่าคุณภาพในเรื่อง การติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด การติดเชื้อในโพรงมดลูกหลังคลอด และการตายและทุพพลภาพของทารกแรกเกิดก่อนกลับบ้านต่ำ ส่วนคุณภาพของถุงน้ำคร่ำอักเสบอยู่ระดับกลาง

บันทึกการแปล: 

บทคัดย่อและบทสรุปในภาษาธรรมดาเรื่องนี้แปลโดย นายแพทย์ ธีระยุทธ เต็มธนะกิจไพศาล ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Tools
Information