พื้นผิวรองรับ (support surfaces) เพื่อรักษาแผลกดทับ

วัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้คืออะไร

วัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้คือการหาว่าพื้นผิวรองรับ (support surfaces) ที่แตกต่างกันเช่นเตียงนอน ฟูก (mattresses) หรือหมอนอิงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสามารถช่วยรักษาแผลกดทับได้หรือไม่ นักวิจัยจาก Cochrane รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (randomized controlled trials) เพื่อตอบคำถามนี้และพบว่ามี 19 การศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ใจความสำคัญ

เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าผิวรองรับใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการรักษาแผลกดทับเนื่องจากการศึกษาเปรียบเทียบมีจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาไม่เพียงพอ และออกแบบการศึกษาไม่ดีนัก

ในการทบทวนนี้สิ่งที่ศึกษาคืออะไร

แผลกดทับ (presure ulcers) (ยังเรียกว่า pressure sores, decubitus ulcers และ bed sores) เป็นแผลที่ผิวหนังและ underlying tissue ที่เกิดจากการกดทับหรือการถู มักจะเกิดบนร่างกายซึ่งเป็นกระดูกหรือที่แบกน้ำหนักหรือการกดทับเช่นสะโพก ก้น ส้นเท้าและข้อศอก คนที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวหรือนอนอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ มีวิธีการใช้รักษาต่างๆ ประกอบด้วย การทำความสะอาดแผล และพื้นผิวรองรับ เช่น เบาะพิเศษและหมอนอิงเพื่อรรักษาแผลกดทับ

พื้นผิวรองรับเพื่อการรักษาแผลกดทับ รวมถึงเตียงนอนที่ออกแบบพิเศษ ฟูก ผ้าคลุมฟูก (mattress overlays) และหมอนอิง ที่ใช้เพื่อป้องกันส่วนที่เปราะบางของร่างกายและกระจายแรงกดบนพื้นผิวอย่างเท่าเทียมกัน พื้นผิวรองรับที่ใช้เทคโนโลยีต่ำประกอบด้วยฟูกที่เต็มไปด้วยโฟม ของเหลว ลูกปัด หรืออากาศ และฟูกโฟมทางเลือกและผ้าคลุม พื้นผิวรองรับที่ใช้เทคโนโลยีสูงประกอบด้วย ฟูกและผ้าคลุม ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อสลับแรงดันภายในพื้นผิวเตียงที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศที่หมุนรอบตัวภายในและเตียงที่มีการสูญเสียอากาศต่ำ (low-air-loss beds) ซึ่งมีอากาศอุ่นภายในกระเป๋าด้านในเตียง พื้นผิวรองรับอื่น ๆ ได้แก่ หนังแกะ เบาะรองนั่งและผ้าคลุมเตียงผ่าตัด

เราต้องการทราบว่าพื้นผิวรองรับใดมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยรักษาแผลกดทับ นอกจากนี้เรายังต้องการเปรียบเทียบพื้นผิวรองรับที่แตกต่างกันในแง่ของต้นทุน ความน่าเชื่อถือ ความทนทานและประโยชน์หรืออันตรายต่อผู้ป่วยที่ใช้มัน

ผลลัพธ์หลักของการทบทวนคืออะไร

ในเดือนกันยายน 2017 เราสืบค้นการทดลองที่เกี่ยวข้องกับพื้นผิวรองรับเพื่อรักษาแผลกดทับและการรายงานผลลัพธ์ต่อการรักษาแผล เราพบการทดลองทั้งหมด 19 เรื่อง ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 3241 ราย ผู้ใหญ่ทุกคนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและนอนในโรงพยาบาลหรือบ้านพักคนชรา ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ไม่ใช่ทุกการศึกษาที่ได้รายงานแหล่งเงินทุน แต่มีสองการศึกษาที่ได้รับเงินทุนจากผู้ผลิตอุปกรณ์

การศึกษาห้าเรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 318 ราย เปรียบเทียบพื้นผิวที่ก่อให้เกิดแรงกดรอบๆ (constant low-pressure: CLP)) ที่ใช้เทคโนโลยีต่ำเช่น ฟูกโฟม เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าพื้นผิวรองรับที่แตกต่างกันเหล่านี้มีผลต่อการรักษาแผลกดทับเนื่องจากหลักฐานส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นต่ำ การศึกษาสิบสี่เรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 2923 ราย เปรียบเทียบพื้นผิวที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่แตกต่างกันเช่น air-fluidised beds เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าพื้นผิวรองรับที่แตกต่างกันเหล่านี้มีผลต่อการรักษาแผลกดทับเนื่องจากหลักฐานส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นต่ำ

เราไม่สามารถสรุปเกี่ยวกับผลกระทบของพื้นผิวรองรับที่แตกต่างกันในการรักษาแผลกดทับเนื่องจากคุณภาพโดยรวมของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก การศึกษาจำนวนมากมีผู้เข้าร่วมการศึกษาน้อย ไม่ให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อผลลัพธ์ หรือออกแบบการศึกษาไม่ดี นอกจากนี้จำเป็นต้องมีการทดลองที่ดีกว่าเพื่อพิจารณาว่าพื้นผิวรองรับใดมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาแผลกดทับ

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนนี้

เราสืบค้นการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์จนถึงเดือนกันยายน 2017

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

จากหลักฐานในปัจจุบัน ไม่ชัดเจนว่าพื้นผิวรองรับแบบใช้เทคโนโลยีต่ำหรือสูง แบบใดแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาแผลกดทับมากกว่าพื้นผิวรองรับแบบมาตรฐาน

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

แผลกดทับได้รับการรักษาโดยการลดความกดอากาศบริเวณที่เกิดความเสียหายของผิวหนัง พื้นผิวรองรับที่ออกแบบเป็นพิเศษ (ประกอบด้วย เตียงนอน ฟูก และหมอนอิง) เพื่อกระจายแรงกด ถูกใช้เพื่อการรักษาอย่างแพร่หลาย ผลที่สัมพันธ์กับพื้นผิวรองรับชนิดต่างๆไม่ชัดเจน การศึกษาครั้งนี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่มีอยู่ให้ทันสมัย

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลจากการลดแรงกดทับด้วยพื้นผิวรองรับในการรักษาแผลกดทับ

วิธีการสืบค้น: 

ในเดือนกันยายน 2017 เราสืบค้นในthe Cochrane Wounds Specialised Register; the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL); Ovid MEDLINE (including In-Process & Other Non-Indexed Citations); Ovid Embase และ EBSCO CINAHL Plus นอกจากนี้เรายังได้สืบค้นทะเบียนการทดลองทางคลินิกสำหรับการศึกษาที่กำลังดำเนินการ และการศึกษาที่ไม่ได้ตีพิมพ์ และรายการเอกสารอ้างอิงจากการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่ถูกนำเข้าในการศึกษา รวมถึงการทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์เมตต้า และรายงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสุขภาพเพื่อระบุการศึกษาเพิ่มเติม ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา วันที่ตีพิมพ์ หรือสถานที่ที่ทำการศึกษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราได้รวม randomised controlled trials (RCTs) ที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือไม่ได้ตีพิมพ์ ซึ่งประเมินผลของพื้นผิวรองรับในการรักษาแผลกดทับในกลุ่มผู้เข้าร่วมหรือสถานที่ศึกษาใดก็ตาม

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

การดึงข้อมูล การประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ และ การประะเมิน GRADE ดำเนินการโดยผู้ประพันธ์สองคนอย่างอิสระต่อกัน การทดลองในผู้เข้าร่วมการศึกษา การเปรียบเทียบ และผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน ได้รับการพิจารณาเพื่อการวิเคราะห์เมตต้า ในกรณีที่ไม่มีความเหมาะสมที่จะวิเคราะห์เมตต้า เรารายงานผลลัพธ์การศึกษาด้วยการพรรณนา เราได้วางแผนรายงานข้อมูลด้วย risk ratio หรือ mean difference ตามความเหมาะสม

ผลการวิจัย: 

สำหรับการปรับปรุงให้ทันสมัยนี้ เราพบการศึกษาใหม่หนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพื้นผิวรองรับเพื่อการรักษาแผลกดทับ ทำให้มีการศึกษาทั้งหมด 19 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 3241 ราย การทดลองส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดตัวอย่างตั้งแต่ 20 ราย ถึง 1971 ราย และมักมีความเสี่ยงของการมีอคติสูงหรือไม่ชัดเจน

ผลลัพธ์หลัก: การรักษาแผลกดทับที่มีอยู่

พื้นผิรองรับวที่ก่อให้เกิดแรงกดรอบๆที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ (Low-tech constant pressure support surfaces)

ไม่แน่ใจว่า profiling beds จะเพิ่มสัดส่วนของแผลกดทับที่รักษาเมื่อเทียบกับเตียงมาตรในโรงพยาบาลเนื่องจากหลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก: (RR 3.96, 95% CI 1.28 ถึง 12.24) ได้รับการลดระดับความเชื่อมั่นเนื่องจากมี serious risk of bias, serious imprecision และ indirectness (การศึกษา 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 70 ราย)

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในการรักษาแผลระหว่างพื้นผิวรองรับแบบเติมน้ำและ ฟูกนอนแบบโฟม: (RR 0.93, 95% CI 0.63 ถึง 1.37); หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำถูกลดระดับความเชื่อมั่นลงเนื่องจาก serious risk of bias และ serious imprecision (การศึกษาหนึ่งเรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 120 ราย)

การวิเคราะห์เพิ่มเติมไม่สามารถทำได้สำหรับผ้าคลุมโพลีเอสเตอร์ (polyester overlays) เทียบกับผ้าคลุมแบบเจล (gel overlays) (การศึกษา 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 72 ราย) non-powered mattresses เทียบกับ low-air-loss mattresses (การศึกษา 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 20 ราย) หรือ ฟูกมาตรฐานของโรงพยาบาลที่มีผ้าคลุมหนังแกะ เทียบกับฟูกมาตรฐานของโรงพยาบาล (การศึกษา 1 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 36 ราย)

พื้นผิวรองรับแรงกดแบบใช้เทคโนโลยีสูง (High-tech pressure support surfaces)

ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าพื้นผิวรองรับแรงกดแบบใช้เทคโนโลยีสูง (เช่น low-air-loss beds, air suspension beds, และ alternating pressure surfaces) ช่วยปรับปรุงการรักษาแผลกดทับ (14 การศึกษา มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 2923 ราย) หรือสิ่งแทรแซงใดที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น ความเชื่อมั่นของหลักฐานโดยส่วนใหญ่ต่ำ ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือเนื่องจากมีความเสี่ยงของการมีอคติ ความไม่คล้ายคลึงกันของหลักฐานทางตรงระหว่างคู่เปรียบเทียบ (indirectness) และความไม่แม่นยำ (imprecision)

ผลลัพธ์รอง

ไม่มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับผลลัพธ์รองซึ่งรวมถึง ความสะดวกสบายของผู้เข้าร่วมการศึกษา และความน่าเชื่อถือและความเป็นที่พอใจต่อพื้นผิวรองรับ เนื่องจากการรายงานของการทดลองเหล่านี้มีข้อจำกัดอยู่มาก

โดยรวมแล้วหลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำถึงต่ำมากและได้ลดระดับคุณภาพลงเนื่องจากความเสี่ยงของการมีอคติและความไม่แม่นยำ พร้อมกับมีความไม่คล้ายคลึงกันของหลักฐานทางตรงระหว่างคู่เปรียบเทียบ

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล นางสาวน้ำเพชร จำปาทอง Cochrane Thailand

Tools
Information