แอลกอฮอล์มีผลสองขั้น ทั้งมีผลต่อความดันโลหิตและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราตรวจสอบหลักฐานที่มีอยู่เกี่ยวกับผลกระทบทั้งระยะสั้นของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ (อายุ ≥ 18 ปี) ที่มีความดันโลหิตปกติและความดันโลหิตสูง

ความเป็นมา

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความดันโลหิตสูง เราต้องการที่จะหาว่าปริมาณของแอลกอฮอล์ที่กินหนึ่งครั้งที่มีผลกระทบต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ภายใน 24 ชั่วโมงของการบริโภค

ลักษณะของการศึกษา

เรารวบรวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบได้จำนวน 32 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วม 767 คนที่เผยแพร่จนถึงมีนาคม 2019 แม้ว่าการศึกษาเหล่านี้จะรวมผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ระหว่าง 18 ถึง 96 ปี ที่มีภาวะสุขภาพต่าง ๆ แต่ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีสุขภาพดี การศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้รายงานเรื่องแหล่งเงินทุน

ผลการศึกษาที่สำคัญ

สำหรับปริมาณแอลกอฮอล์ระดับต่ำเราพบว่า แอลกอฮอล์หนึ่งแก้วไม่มีผลต่อต่อการเพิ่มของความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจภายในหกชั่วโมงของการดื่ม

เรามั่นใจในระดับปานกลางว่าแอลกอฮอล์ขนาดกลางลดความดันโลหิตและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจภายในหกชั่วโมงของการดื่ม เราไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของความดันโลหิตหรืออัตราการเต้นของหัวใจหลังจากนั้น แต่มีข้อจำกัดของหลักฐาน

นอกจากนี้เรายังมั่นใจในระดับปานกลางว่าแอลกอฮอล์ปริมาณสูงลดความดันโลหิตภายในหกชั่วโมงและมีผลนานถึง 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากการบริโภคแอลกอฮอล์และยังคงเพิ่มขึ้นตลอดเวลาที่วัด

ดังนั้นแอลกอฮอล์จะลดความดันโลหิตในช่วงแรก (สูงสุด 12 ชั่วโมงหลังการกลืนกิน) และหลังจากนั้นมีผลเพิ่มความดันโลหิต แอลกอฮอล์เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาภายใน 24 ชั่วโมงของการบริโภค

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

แอลกอฮอล์ปริมาณสูงมีผลสองทาง ต่อ BP; ลดความดันโลหิตได้ถึง 12 ชั่วโมงหลังจากการบริโภคและเพิ่มความดันโลหิตเมื่อเวลามากกว่า 13 ชั่วโมงหลังการบริโภค แอลกอฮอล์ปริมาณสูงเพิ่ม HR ตลอดเวลาสูงสุด 24 ชั่วโมง การค้นพบครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับเพศชายที่มีสุขภาพดีเนื่องจากมีเพศหญิงจำนวนน้อยเท่านั้นที่รวบรวมอยู่ในการทดลอง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

มีผู้บริโภคแอลกอฮอล์มากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก มันเป็นสารที่ไม่ดีและสามารถนำไปสู่ความผิดปกติมากกว่า 200 กลุ่มอาการ รวมถึงความดันโลหิตสูง แอลกอฮอล์มีผลทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังต่อความดันโลหิต การทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันที่มีผลกระทบเฉียบพลันของต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่

วัตถุประสงค์: 

วัตถุประสงค์หลัก

เพื่อตรวจสอบผลกระทบระยะสั้นของปริมาณแอลกอฮอล์กับยาหลอกต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดเอสโตลิกในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและมีความดันโลหิตสูงที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

วัตถุประสงค์รอง

เพื่อตรวจสอบผลกระทบระยะสั้นของปริมาณแอลกอฮอล์กับยาหลอกต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดเอสโตลิกในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและมีความดันโลหิตสูงที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

วิธีการสืบค้น: 

ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลความดันโลหิตสูงของ Cochrane ค้นหาฐานข้อมูลต่อไปนี้สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบจนถึงเดือนมีนาคม 2019: the Cochrane Hypertension Specialised Register; the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2019, Issue 2), in the Cochrane Library; MEDLINE (from 1946); Embase (from 1974); the World Health Organization International Clinical Trials Registry Platform; และ ClinicalTrials.gov. นอกจากนี้เรายังติดต่อผู้เขียนบทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับงานที่ตีพิมพ์เพิ่มเติมและไม่ได้เผยแพร่ การค้นหาการค้นหาเหล่านี้ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) เปรียบเทียบผลของการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งเดียวกับยาหลอกต่อความดันโลหิต (BP) หรืออัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ในผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป)

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมสองคนดึงข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างเป็นอิสระต่อกัน นอกจากนี้เรายังติดต่อผูที่ทำการวิจัยเพื่อขอข้อมูลที่ขาดหายไปหรือข้อมูลที่ไม่ชัดเจน Mean difference (MD) จากยาหลอก ร่วมกับนำเสนอค่า 95% confidence interval (CI) คือวิธีที่ใช้วัดผลลัพธ์ และใช้ fixed-effect model ใช้เพื่อรวมขนาดผลลัพธ์จากการศึกษาที่มี

ผลการวิจัย: 

เราได้รวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ 32 เรื่อง มีผู้เข้าร่วม 767 คน ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (จำนวน = 642 คน) และมีสุขภาพดี อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมคือ 33 ปี และมีน้ำหนักร่างกายเฉลี่ย 78 กิโลกรัม

แอลกอฮอล์ที่มีขนาดต่ำ (<14 กรัม) ภายในหกชั่วโมง (2 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม = 28 คน) ไม่ส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต แต่เพิ่ม HR ขึ้นไป 5.1 bpm (95% CI 1.9 ถึง 8.2) (หลักฐานความน่าเชื่อถือปานกลาง)

แอลกอฮอล์ขนาดกลาง (14 ถึง 28 กรัม) ภายในหกชั่วโมง (RCTs 10 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม = 149 คน) ลดความดันโลหิตซีสโตลิก (SBP) 5.6 mmHg (95% CI -8.3 ถึง -3.0) และความดันโลหิตไดแอสโตลิก (DBP) 4.0 mmHg (95% CI -6.0 ถึง -2.0) และเพิ่ม HR ขึ้นไป 4.6 bpm (95% CI 3.1 ถึง 6.1) (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลางสำหรับทุกการศึกษา)

แอลกอฮอล์ในปริมาณปานกลางภายใน 7 ถึง 12 ชั่วโมง (RCTs 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม = 54 คน) ไม่มีผลต่อ BP หรือ HR

แอลกอฮอล์ในปริมาณปานกลางมากกว่า 13 ชั่วโมงหลังการบริโภค ( RCTs 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม = 66 คน) ไม่ส่งผลกระทบต่อ BP หรือ HR

แอลกอฮอล์ปริมาณสูง (> 30 กรัม) ภายในหกชั่วโมง ( RCTs 16 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม = 418 คน) ลด SBP 3.5 mmHg (95% CI -6.0 ถึง -1.0) ลด DBP 1.9 mmHg (95% CI-3.9 ถึง 0.04) และเพิ่ม HR 5.8 bpm (95% CI 4.0 ถึง 7.5) ความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับปานกลางสำหรับ SBP และ HR และความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำสำหรับ DBP

แอลกอฮอล์ปริมาณสูงภายใน 7 ถึง 12 ชั่วโมงของการบริโภค (RCTs 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม = 54 คน) ลด SBP 3.7 mmHg (95% CI -7.0 ถึง -0.5) และ DBP 1.7 mmHg (95% CI –4.6 ถึง 1.8) และเพิ่ม HR 6.2 bpm (95% CI 3.0 ถึง 9.3) ความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับปานกลางสำหรับ SBP และ HR และความเชื่อมั่นของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำสำหรับ DBP

แอลกอฮอล์ปริมาณสูงตั้งแต่ 13 ชั่วโมงหลังจากการบริโภค (RCTs 4 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม = 154 คน) เพิ่ม SBP 3.7 mmHg (95% CI 2.3 ถึง 5.1), DBP 2.4 mmHg (95% CI 0.2 ถึง 4.5), และ HR 2.7 bpm ( 95% CI 0.8 ถึง 4.6) (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลางสำหรับทุกการศึกษา)

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี 4 กรกฎาคม 2020

Tools
Information