ข้อดีและข้อเสียของการรวมยาปฏิชีวนะและสเตียรอยด์ในรูปแบบยาหยอด สเปรย์ ขี้ผึ้งหรือครีมเพื่อรักษาโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง (การติดเชื้อในหูหรือมีหนองไหลออกจากหูแบบเรื้อรัง)

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง (CSOM) เป็นการอักเสบและการติดเชื้อของหูชั้นกลางที่กินเวลานานเกินสองสัปดาห์ขึ้นไป ผู้ที่เป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังมักจะมีน้ำหรือหนองที่รั่วออกมาจากรูในแก้วหูเป็นระยะเวลานานหรือเป็นซ้ำอยู่บ่อยๆ และสูญเสียการได้ยิน

โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังมักได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับ (ยาที่ต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย) สเตียรอยด์ (ยาต้านการอักเสบ) โดยรักษาแบบเฉพาะที่ (นั่นคือในรูปแบบของหยด สเปรย์ ขี้ผึ้งหรือครีมใส่เข้าไปในหูโดยตรง) เพื่อค้นหาว่าการรักษาโดยการผสมยาทั้งสองอย่างนี้มีประสิทธิภาพเพียงใดและก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ โดยเราได้ทบทวนหลักฐานจากการศึกษาวิจัย

เราระบุและประเมินหลักฐานอย่างไร

เราค้นหาการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวรรณกรรมทางการแพทย์เปรียบเทียบผลลัพธ์และสรุปหลักฐานจากการศึกษาทั้งหมด นอกจากนี้เรายังประเมินว่าหลักฐานมีความแน่นอนเพียงใดโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดการศึกษาและวิธีการศึกษา จากการประเมินของเรา เราได้จัดกลุ่มหลักฐานว่ามีความแน่นอนต่ำมาก ต่ำ ปานกลางหรือสูง

สิ่งที่เราพบ

เราพบการศึกษา 17 เรื่อง ศึกษาคนที่เป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังมากกว่า 1901 คน เราติดตามคนไข้เป็นระยะเวลาระหว่าง 10 วันถึง 20 สัปดาห์หลังจากการรักษาเสร็จสิ้น

การศึกษาครอบคลุมการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับสเตียรอยด์หลายชนิดและเปรียบเทียบระหว่างการไม่ได้ให้การรักษา การรักษาโดยใช้ยาหลอก ยาปฏิชีวนะชนิดเดียวกันที่ไม่มีสเตียรอยด์หรือยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆที่ไม่มีสเตียรอยด์ เรารายงานการค้นพบจากการเปรียบเทียบหลักสามประการ:

ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ผสมกับสเตียรอยด์เมื่อเทียบกับยาหลอก (การรักษาปลอม) หรือไม่มีการรักษา (การศึกษา 3 เรื่อง ผู้เข้าร่วมจำนวน 210 คน)

เราบอกไม่ได้ว่ายาปฏิชีวนะผสมสเตียรอยด์ดีกว่าหรือแย่กว่ายาหลอกหรือไม่มีการรักษา:

- หยุดการไหลของหนองจากหูที่ระยะเวลาสามระยะ (หนึ่งถึงสองสัปดาห์ สองถึงสี่สัปดาห์หรือหลังจากสี่สัปดาห์) หรือ

- การได้ยิน; หรือ

- ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ต้องการ (เช่นปวดหูหรือภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง)

เนื่องจากไม่มีการศึกษาใดที่พิจารณาผลลัพธ์เหล่านี้หรือหลักฐานมีความแน่นอนต่ำมาก

ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ผสมสเตียรอยด์เปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เพียงอย่างเดียว (การศึกษา 4 เรื่อง ผู้เข้าร่วมจำนวน 475 คน)

ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ผสมสเตียรอยด์อาจมีผลแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่แตกต่างเลยในการหยุดการไหลของหนองจากหูหลังจากผ่านไปหนึ่งถึงสองสัปดาห์ (มีหลักฐานความแน่นอนต่ำ)

เราบอกไม่ได้ว่ายาปฏิชีวนะผสมสเตียรอยด์ดีกว่าหรือแย่กว่ายาหลอกหรือไม่มีการรักษา:

- หยุดการไหลของหนองจากหูที่ระยะเวลาสามระยะ (หนึ่งถึงสองสัปดาห์ สองถึงสี่สัปดาห์หรือหลังจากสี่สัปดาห์) หรือ

- การได้ยิน; หรือ

- ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ต้องการ (เช่นปวดหูหรือภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง)

เนื่องจากไม่มีการศึกษาใดที่พิจารณาผลลัพธ์เหล่านี้หรือหลักฐานมีความแน่นอนต่ำมาก

ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่นอกจาก quinolones (กลุ่มยาปฏิชีวนะ) ผสมสเตียรอยด์เมื่อเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม quinolone เฉพาะที่เพียงอย่างเดียว (การศึกษา 9 เรื่อง ผู้เข้าร่วมจำนวนอย่างน้อย 981 คนและอีก 40 หู)

ยาปฏิชีวนะที่ไม่ใช่ควิโนโลนผสมสเตียรอยด์อาจไม่ได้ผลดีเท่ากับการใช้ยาปฏิชีวนะควิโนโลนเพียงอย่างเดียวในการหยุดการไหลของหนองออกจากหูหลังจากผ่านไปหนึ่งถึงสองสัปดาห์ (หลักฐานความแน่นอนต่ำ)

เราบอกไม่ได้ว่ายาปฏิชีวนะผสมสเตียรอยด์ดีกว่าหรือแย่กว่ายาหลอกหรือไม่มีการรักษา:

- หยุดการไหลของหนองจากหูที่ระยะเวลาสามระยะ (หนึ่งถึงสองสัปดาห์ สองถึงสี่สัปดาห์หรือหลังจากสี่สัปดาห์) หรือ

- การได้ยิน; หรือ

- ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่ต้องการ (เช่นปวดหูหรือภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง)

เนื่องจากไม่มีการศึกษาใดที่พิจารณาผลลัพธ์เหล่านี้หรือหลักฐานมีความแน่นอนต่ำมาก

จากการเปรียบเทียบที่แตกต่างกันไม่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

หมายความว่าอะไร

ยาปฏิชีวนะที่ไม่ใช่ควิโนโลนผสมสเตียรอยด์อาจไม่ได้ผลดีเท่ากับการใช้ยาปฏิชีวนะควิโนโลนที่เพียงอย่างเดียวในการหยุดการไหลของหนองออกจากหูหลังจากผ่านไปหนึ่งถึงสองสัปดาห์ (หลักฐานความแน่นอนต่ำ)

มีการศึกษาที่มีประสิทธิภาพน้อยเกินไปที่จะทำให้เราทราบว่า:

ยาปฏิชีวนะผสมสเตียรอยด์ดีกว่าหรือแย่กว่ายาหลอกหรือไม่มีการรักษา:

- การเพิ่มสเตียรอยด์ลงในยาปฏิชีวนะเฉพาะที่มีผลต่อประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะหรือมีผลต่อผลกระทบที่ไม่ต้องการหรือไม่

ความเป็นปัจจุบันของการทบทวนนี้

หลักฐานของการทบทวนวรรณกรรม Cochrane นี้เป็นปัจจุบันถึง พฤษภาคม 2020

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ผสมสเตียรอยด์ในการช่วยลดของการไหลของหนองจากหูในผู้ป่วยที่มี CSOM เนื่องจากหลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมีอยู่จำนวน จำกัด ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้เราไม่พบหลักฐานว่าการเติมสเตียรอยด์ลงในยาปฏิชีวนะเฉพาะที่มีผลลดลงของหนองจากหู นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำว่ายาปฏิชีวนะเฉพาะบางชนิด (ที่ไม่มีสเตียรอยด์) อาจดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ / สเตียรอยด์ร่วมกันในการลดหนองจากหู นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประสิทธิผลของยาปฏิชีวนะประเภทต่างๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า quinolones ดีกว่าหรือแย่กว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์หรือไม่ ยาทั้งสองกลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน แต่มีหลักฐานไม่เพียงพอจากการศึกษาที่รวมไว้เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ โดยรวมรายงานผลข้างเคียงยังไม่ดี

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

โรคหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง (CSOM) เป็นการอักเสบเรื้อรังและมักจะมีการติดเชื้อหลายชนิดของหูชั้นกลางและช่องกกห ู(mastoid cavity) โดยมีลักษณะการไหลของของเหลวจากหู (otorrhoea) ผ่านเยื่อแก้วหูที่ทะลุ อาการที่เด่นชัดของ CSOM คือการไหลของของเหลวในหูและการสูญเสียการได้ยิน ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ทำหน้าที่ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ สามารถใช้ยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียวหรือนอกเหนือจากการรักษาอื่น ๆ สำหรับ CSOM เช่น สเตียรอยด์น้ำยาฆ่าเชื้อหรือการทำความสะอาดหู (การฟอกหู) ยาปฏิชีวนะมักจะถูกสั่งในรูปแบบที่ผสมกับสเตียรอยด์มาแล้ว

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการเพิ่มสเตียรอยด์ในยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง (CSOM)

วิธีการสืบค้น: 

ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล Cochrane ENT ค้นหาทะเบียน Cochrane ENT; Central Register of Controlled Trials (CENTRAL via the Cochrane Register of Studies); Ovid MEDLINE; Ovid Embase; CINAHL; Web of Science; ClinicalTrials.gov; ICTRP และแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการทดลองที่เผยแพร่และไม่ได้เผยแพร่ วันที่ทำการสืบค้นคือ 16 มีนาคม 2020

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราได้รวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) ที่มีการติดตามผลอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์โดยติดตามผู้เข้าร่วม (ผู้ใหญ่และเด็ก) ที่มีอาการของเหลวไหลออกจากหูเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุหรือ CSOM ซึ่งมีการไหลของของเหลวจากหูตลอดหรือนานกว่าสองสัปดาห์

ทดลองโดยการนำยาที่ผสมกันของยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และคอร์ติโคสเตียรอยด์เฉพาะที่ (สเตียรอยด์) กลุ่มหนึ่ง นำไปใช้กับช่องหูโดยตรง เป็นลักษณะยาหยอดหู เป็นผงหรือการทำความสะอาดหูโดยการล้างน้ำหรือเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการฟอกหู

การเปรียบเทียบหลักสองประการคือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ผสมสเตียรอยด์เมื่อเทียบกับ a) ยาหลอกหรือไม่มีการแทรกแซงและ b) ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่อื่น

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราใช้ระเบียบวิธีการวิจัยตามมาตรฐานของ Cochrane เราใช้ GRADE เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับแต่ละผลลัพธ์

ผลลัพธ์หลักของเราคือ: ของเหลวออกจากหูลดลงหรือ 'หูแห้ง' (ไม่ว่าจะได้รับการยืนยันทางออสโตโคปหรือไม่ก็ตาม) โดยวัดระหว่างหนึ่งสัปดาห์ถึงสองสัปดาห์ สองสัปดาห์ถึงสี่สัปดาห์และหลังจากสี่สัปดาห์ คุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อาการปวดหู (otalgia) หรือรู้สึกไม่สบายหรือระคายเคืองในหู ผลลัพธ์รอง ได้แก่ การได้ยิน ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและความเป็นพิษต่อหู

ผลการวิจัย: 

เราได้รวมการศึกษา 17 เรื่องเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการรักษา 11 รายการ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 1901 คนโดยการศึกษาหนึ่งเรื่อง (40 หู) ไม่ได้รายงานจำนวนผู้เข้าร่วมที่ได้รับคัดเลือกซึ่งเราไม่สามารถอธิบายได้ ไม่มีการศึกษาใดรายงานถึงคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อสุขภาพ การเปรียบเทียบหลัก ได้แก่ :

1. ยาปฏิชีวนะเฉพาะผสมสเตียรอยด์เทียบกับยาหลอกหรือไม่มีการรักษา

การศึกษาสามการศึกษา (ผู้เข้าร่วม 210 คน) เปรียบเทียบยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ผสมสเตียรอยด์กับน้ำเกลือหรือไม่มีการรักษา ไม่มีรายงานของการลดลงของของเหลวจากหูในระหว่างหนึ่งถึงสองสัปดาห์ การศึกษาหนึ่ง (เด็กที่มี 'ความเสี่ยงสูง' 50 คน) รายงานผลทางหูมากกว่าสี่สัปดาห์และเราไม่สามารถปรับผลลัพธ์ให้เป็นรายบุคคลได้ การศึกษารายงานว่า 58% (จาก 41 หู) ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเฉพาะที่อาการดีขึ้นเทียบกับ 50% (ของ 26 หู) โดยไม่มีการรักษา แต่หลักฐานยังไม่แน่นอน การศึกษาหนึ่ง (ผู้เข้าร่วม 123 คน) สังเกตเห็นผลข้างเคียงเล็กน้อยใน 16% ของผู้เข้าร่วมทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มยาหลอก (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก) การศึกษาหนึ่งเรื่อง (ผู้เข้าร่วม 123 คน) รายงานว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์การได้ยินผ่านกระดูกและรายงานว่าไม่มีความแตกต่างของหูอื้อหรือปัญหาเรื่องความสมดุล ระหว่างกลุ่ม (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก) การศึกษาหนึ่ง (ผู้เข้าร่วม 50 คน) รายงานว่ามีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่ยังไม่ชัดเจนว่าผู้ป่วยเหล่านี้มาจากกลุ่มใดหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการรักษา การศึกษาหนึ่ง (ผู้เข้าร่วม 123 คน) รายงานว่าไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมใด ๆ (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก)

2. ยาปฏิชีวนะเฉพาะผสมสเตียรอยด์เทียบกับยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (ยาปฏิชีวนะชนิดเดียวกัน) อย่างเดียว

การศึกษาสี่ชิ้น (ผู้เข้าร่วม 475 คน) รวมอยู่ในการเปรียบเทียบนี้ การศึกษาสามการศึกษา (ผู้เข้าร่วม 340 คน) เปรียบเทียบการผสมยาปฏิชีวนะและสเตียรอยด์เฉพาะที่กับยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เพียงอย่างเดียว หลักฐานแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในการหายของหนองที่ไหลออกจากหูในหนึ่งถึงสองสัปดาห์: 82.7% เทียบกับ 76.6% (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 1.08, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.96 ถึง 1.21; ผู้เข้าร่วม 335 คน; 3 การศึกษา (4 study arms); หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำ) ไม่มีรายงานผลการหายของหนองจากหูหลังจากสี่สัปดาห์ การศึกษาหนึ่ง (ผู้เข้าร่วม 110 คน) รายงานอาการคันในหู แต่เนื่องจากมีเพียงช่วงเดียวในแต่ละกลุ่มจึงไม่แน่ใจว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก) การศึกษาสามเรื่อง (ผู้เข้าร่วม 395 คน) ได้ตรวจสอบกรณีที่สงสัยว่ามีความเป็นพิษต่อระบบประสาท แต่ไม่สามารถระบุได้ว่ามีความแตกต่างระหว่างกลุ่มหรือไม่ (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก) ไม่มีการศึกษารายงานว่ามีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

3. ยาปฏิชีวนะเฉพาะผสมสเตียรอยด์เทียบกับยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (ยาปฏิชีวนะต่างชนิดกัน) อย่างเดียว

การศึกษาเก้าเรื่อง (ผู้เข้าร่วม 981 คนและหู 40 หู) ได้ประเมินการเปรียบเทียบระหว่างการผสมยาปฏิชีวนะ - สเตียรอยด์ที่ไม่ใช่ควิโนโลนกับยาปฏิชีวนะ quinolone อย่างเดียว พบว่าช่วยลดหนองจากหูได้มากกว่าเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ quinolone เพียงอย่างเดียวในระหว่างหนึ่งถึงสองสัปดาห์เมื่อเทียบกับยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ไม่ใช่ quinolone กับสเตียรอยด์: 82.1% เทียบกับ 63.2% (RR 0.77, 95% CI 0.71 ถึง 0.84; การศึกษา 7 เรื่อง ผู้เข้าร่วม 903 คนมีหลักฐานความแน่นอนต่ำ) ไม่มีรายงานผลการหายของหนองจากหูหลังจากสี่สัปดาห์ การศึกษาหนึ่ง (ผู้เข้าร่วม 52 คน) รายงานข้อมูลที่ใช้งานได้เกี่ยวกับอาการปวดหูสองการศึกษา (ผู้เข้าร่วม 419 คน) รายงานผลการได้ยินและการศึกษาหนึ่ง (ผู้เข้าร่วม 52 คน) มีรายงานปัญหาการทรงตัว ไม่สามารถระบุได้ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มสำหรับผลลัพธ์เหล่านี้หรือไม่ (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก) การศึกษาสองชิ้น (ผู้เข้าร่วม 149 คน) รายงานว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง (หลักฐานที่มีความแน่นอนต่ำมาก)

บันทึกการแปล: 

Translation notes CD013054.pub2

Tools
Information