คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
ผู้ประพันธ์ Cochrane ตรวจสอบว่ายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ช่วยลดอาการเลือดประจำเดือนออกมาก (HMB) หรือไม่ในสตรีก่อนที่จะถึงวัยหมดประจำเดือน
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ยากลุ่ม NSAIDs ลดระดับ prostaglandin ซึ่งมีการเพิ่มสูงในสตรีที่มีเลือดออกมาก มีคำแนะนำว่ายากลุ่มดังกล่าวอาจช่วยรักษาภาวะเลือดออกมากและอาจมีประโยชน์ต่ออาการปวดประจำเดือน
ลักษณะของการศึกษา
ผู้ประพันธ์สืบค้นฐานข้อมูลทางการแพทย์และมี 19 การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs; การศึกษาทางคลินิกที่อาสาสมัครจะถูกสุ่มเข้าในหนึ่งกลุ่มจากในสองหรือมากกว่าสองกลุ่มการรักษา) มีสตรี 759 รายที่รวมอยู่ในการทบทวนนี้ แต่มีเพียงข้อมูลจากการทดลองเพียงเก้าการทดลองที่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์
ผลการศึกษาที่สำคัญ
สตรีที่ขอความช่วยเหลือสำหรับ HMB เมื่อมันมีผลต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา ระดับของ prostaglandin (ฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ) จะสูงกว่าในสตรีที่มี HMB และจะลดลงโดย NSAIDs รีวิวของการทดลองพบว่ายากลุ่ม NSAIDs มีประสิทธิภาพในการลด HMB แต่ยาอื่น ๆ เช่น danazol, กรด tranexamic และห่วงอนามัยชนิดที่เคลือบ levonorgestrel (LNG IUS) มีประสิทธิภาพมากกว่า ผลลัพธ์เหล่านี้มาจากการทดลองจำนวนไม่มากที่มีคุณภาพต่ำถึงปานกลาง
คุณภาพของหลักฐาน
หลักฐานมีคุณภาพตั้งแต่ต่ำถึงปานกลาง ข้อจำกัดหลักคือการรายงานที่ไม่ดีเกี่ยวกับวิธีการศึกษาและความไม่แม่นยำที่เกิดจากการศึกษาขนาดเล็ก
NSAIDs ลด HMB เมื่อเทียบกับยาหลอก แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ากรด tranexamic, danazol หรือ LNG IUS อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จะรุนแรงมากกว่าการรักษาด้วย danazol ในจำนวนที่จำกัด ของการศึกษาขนาดเล็กที่เหมาะสมสำหรับการประเมินผล ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนของความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพของ NSAIDs และการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น oral luteal progestogen, ethamsylate, OCP หรือห่วงอนามัยที่เคลือบฮอร์โมนชนิดเก่า
การมีเลือดประจำเดือนออกมาก (HMB) เป็นสาเหตุสำคัญของอาการป่วยในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน แม้ว่าการผ่าตัดมักจะถูกใช้เป็นการรักษาบ่อยครั้ง การรักษาโดยการใช้ยาก็ยังมีให้เลือกอยู่หลายชนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ลดระดับ prostaglandin ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นในสตรีที่มีเลือดออกมากเกินไปและยังอาจมีประโยชน์ต่ออาการปวดประจำเดือน
เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความทนต่อยาของ NSAIDs ในการลดการสูญเสียเลือดประจำเดือน (MBL) ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะ HMB
เราสืบค้นในเดือนเมษายน 2019, ในฐานข้อมูล the Cochrane Gynaecology and Fertility specialised register, Cochrane Central Register of Studies Online (CENTRAL CRSO), MEDLINE, Embase, PsycINFO, the clinical trial registries และรายการอ้างอิงของบทความ
เกณฑ์การนำเข้าคือ เป็นการเปรียบเทียบของ NSAIDs เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษาอื่นๆ กับวิธีการอื่นๆ ได้แก่ ยาหลอกหรือการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ ในสตรีที่มีเลือดประจำเดือนออกมาก ซึ่งวัดทั้งเชิงวัตถุวิสัย (objectively) และเชิงจิตวิสัย (subjectively) โดยไม่มีสาเหตุของ HMB จากความผิดปกติทางพยาธิวิทยาหรือโรคที่เกิดขึ้นโดยแพทย์ (จากการรักษา)
เราพบ 19 การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) (สตรี 759 คน) เป็นไปตามเกณฑ์นำเข้าของการทบทวนนี้และผู้ประพันธ์สองคนคัดลอกข้อมูลโดยอิสระต่อกัน เราประเมิน odds ratios (ORs) สำหรับผลลัพธ์ประเภท dichotomous และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MDs) สำหรับผลลัพธ์ประเภทข้อมูลต่อเนื่อง จากข้อมูลของการทดลองเก้าฉบับ เราได้อธิบายไว้ในตารางผลการศึกษาว่ามีการทดลองประเภท cross-over trials จำนวนเจ็ดฉบับที่มีข้อมูลไม่เหมาะสมสำหรับการนำมารวมกัน การทดลองหนึ่งฉบับมีข้อมูลแบบเบ ้และการทดลองหนึ่งฉบับไม่มีข้อมูลเรื่องความแปรปรวน การทดลองหนึ่งฉบับไม่มีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์
พิจารณาตามกลุ่ม, NSAIDs มีประสิทธิภาพมากกว่ายาหลอกในการลด HMB แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ากรด tranexamic, danazol หรือ ห่วงอนามัยชนิดเคลือบ levonorgestrel (LNG IUS) การรักษาด้วย danazol ทำให้ระยะเวลาของการมีประจำเดือนสั้นลงและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากกว่า NSAIDs แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการยอมรับของการรักษาตามการทดลองตั้งแต่ปี 1980 ถึง 1990 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน danazol ไม่ได้เป็นการรักษาตามปกติหรือแนะนำสำหรับ HMB ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนของความแตกต่างระหว่าง NSAIDs และการรักษาอื่นๆ (oral luteal progestogen, ethamsylate, ห่วงอนามัยที่เคลือบฮอร์โมนชนิดเก่าและยาเม็ดคุมกำเนิด (OCP)) แต่การศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวนอาสามัครค่อนข้างน้อย ไม่มีหลักฐานของความแตกต่างระหว่าง NSAIDs แต่ละชนิด (naproxen และกรด mefenamic) ในการลด HMB หลักฐานที่มีคุณภาพอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง ข้อจำกัดหลักคือมีความเสี่ยงของการเกิดอคติและ imprecision
แปลโดย นพ. เจน โสธรวิทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น