คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
ยาชนิดใด (โรคูโรเนียมหรือซัคซินิลโคลีน) ที่ดีกว่าในการสร้างสภาวะที่ดีเยี่ยมในการสอดท่อช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุได้อย่างรวดเร็วสำหรับสถานการณ์ทั่วไป (elective) และฉุกเฉิน (emergency)
ความเป็นมา
ในสถานการณ์ฉุกเฉินบางรายต้องใช้ยาสลบทั่วไปกับท่อช่วยหายใจ สิ่งสำคัญคือต้องมียาที่ออกฤทธิ์เร็วเพื่อให้แพทย์ทำหัตถการนี้ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ปัจจุบันยาที่ใช้บ่อยที่สุดเพื่อหย่อนกล้ามเนื้อคือยาซัคซินิลโคลีน ยาซัคซินิลโคลีนออกฤทธิ์เร็วและคงฤทธิ์อยู่ไม่กี่นาที ซึ่งเป็นที่ต้องการมากในการสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตามบางรายไม่สามารถใช้ยานี้ได้จากการเป็นสาเหตุให้เกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุลหรือเกิดปฏิกิริยา ดังนั้นยาที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันโดยไม่มีผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์ ยาทางเลือกตัวหนึ่งที่เป็นไปได้คือโรคูโรเนียม ซึ่งเป็นยาหย่อนกล้ามเนื้อที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ออกฤทธิ์นานกว่า การทบทวนวรรณกรรมนี้เปรียบเทียบคุณภาพของสภาพการใส่ท่อช่วยหายใจ (ความง่ายที่แพทย์สามารถส่งท่อช่วยหายใจได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย) ระหว่างยาโรคูโรเนียมและซัคซินิลโคลีนในทุกช่วงอายุและสถานการณ์ทางคลินิกที่แตกต่างกัน
ลักษณะของการศึกษา
เรารวบรวมไว้ในการทบทวนการทดลองที่มีการควบคุมตั้งแต่ ปี 1966 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมทุกวัยที่ต้องการการใส่ท่อช่วยหายใจแบบเร็วโดยใช้โรคูโรเนียมและซัคซินิลโคลีน ปริมาณที่น้อยที่สุดของยาโรคูโรเนียมที่ให้คือ 0.6 มก./กก. และซัคซินิลโคลีนคือ 1 มก./กก. เราได้รวบรวมผลของการทดลอง 50 รายการที่มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 4151 รายซึ่งเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาซัคซินิลโคลีนกับโรคูโรเนียมในการใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่มีรายงานผลข้างเคียงที่สำคัญจากการใช้ยา
ผลลัพธ์หลัก
เราพบว่ายาโรคูโรเนียมมีประสิทธิผลน้อยกว่า succinylcholine เล็กน้อยในการสร้างสภาวะในระดับดีเยี่ยมและยอมรับได้เพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ ดังนั้นจึงควรใช้ rocuronium เป็นตัวเลือกแทนของ succinylcholine เฉพาะเมื่อทราบว่าไม่ควรใช้ succinylcholine และคาดว่าการใส่ท่อช่วยหายใจใช้เวลานานขึ้น
คุณภาพของหลักฐาน
ระดับของหลักฐานอยู่ในระดับปานกลางเนื่องจากการออกแบบการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์และมีการใช้เทคนิคหลากหลายในการทดลอง
Succinylcholine ทำให้เกิดสภาวะการใส่ท่อช่วยหายใจที่เหนือกว่า rocuronium ในการบรรลุการใส่ท่อช่วยหายใจที่ดีเยี่ยมและเป็นที่ยอมรับทางคลินิก
ผู้ป่วยมักต้องใช้เทคนิคการใส่ท่อช่วยหายใจร่วมกับการนำสลบแบบลำดับเร็ว (rapid sequence induction; RSI) ในกรณีฉุกเฉิน (emergency) หรือกรณีทั่วไป (elective) ที่จะป้องกันการสำลัก ความดันในกะโหลกศีรษะที่เพิ่มขึ้น หรือเพื่อช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจ โดยทั่วไป succinylcholine เป็นยาหย่อนกล้ามเนื้อที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับจุดประสงค์นี้ เนื่องจากเริ่มออกฤทธิ์เร็วและมีระยะเวลาออกฤทธิ์สั้น ข้อเสียคือมีผลข้างเคียงที่รุนแรง Rocuronium ได้รับการแนะนำให้เป็นทางเลือกหนึ่งเช่นเดียวกับ succinylcholine สำหรับใส่ท่อช่วยหายใจ นี่คือการปรับให้เป็นปัจจุบันของการทบทวนวรรณกรรม Cochrane ของเราที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2003 และปรับให้ทันสมัยในปี 2008 และฉบับนี้ในปี 2015
เพื่อให้ทราบว่า rocuronium สร้างสภาวะในการใส่ท่อช่วยหายใจเทียบได้กับ succinylcholine ในระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจร่วมกับการนำสลบแบบลำดับเร็ว
ในการทบทวนวรรณกรรมครั้งแรก เราได้สืบค้นฐานข้อมูลทั้งหมดจนถึงเดือนมีนาคม 2000 ตามด้วยการอัปเดตถึงเดือนมิถุนายน 2007 การปรับให้เป็นปัจจุบันล่าสุดนี้รวบรวมการสืบค้นใน Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2015, Issue 2), MEDLINE (1966 ถึง สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์ 2015) และ EMBASE (1988 ถึง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015) สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (Randomised Controlled Trials; RCTs) หรือการทดลองทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุม (Controlled Clinical Trials; CCTs) ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ rocuronium และ succinylcholine เรารวบรวมวารสารภาษาต่างประเทศและค้นหาเอกสารอ้างอิงของการศึกษาที่พบสำหรับการหาเอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม
เราได้รวบรวม RCT หรือ CCT ที่รายงานภาวะการใส่ท่อช่วยหายใจโดยเปรียบเทียบการใช้โรคูโรเนียมและซัคซินิลโคลีนสำหรับ RSI หรือ modified RSI ในทุกกลุ่มอายุหรือ ทุกสถานการณ์ทางคลินิก ขนาดของ rocuronium อย่างน้อย 0.6 มก./กก. และ succinylcholine อย่างน้อย 1 มก./กก.
ผู้นิพนธ์สองท่าน (EN และ DT) คัดลอกข้อมูลและประเมินคุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยสำหรับตาราง 'Risk of bias' อย่างอิสระต่อกัน เรารวมผลลัพธ์ใน Review Manager 5 โดยใช้อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) ด้วย random-effect model
การปรับให้ทันสมัยฉบับก่อนหน้านี้ (2008) ได้พบการศึกษาที่เป็นไปได้ 53 รายการและรวมการศึกษา 37 รายการสำหรับ meta-analysis ในการปรับให้ทันสมัยฉบับล่าสุดนี้เราได้พบการศึกษาเพิ่มเติมอีก 13 รายการและรวมนำเข้า 11 รายการโดยสรุปผลการทดลอง 50 รายการรวมผู้เข้าร่วม 4151 คน โดยรวมแล้ว succinylcholine ดีกว่า rocuronium ในการบรรลุการใส่ท่อช่วยหายใจที่ดีเยี่ยม: RR 0.86 (ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.81 ถึง 0.92; n = 4151) และการใส่ท่อช่วยหายใจที่ยอมรับได้ทางคลินิก (RR 0.97, 95% CI 0.95 ถึง 0.99; n = 3992, 48 การทดลอง) อุบัติการณ์ของ detection bias ที่สูงของการทดลองร่วมกับความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ให้หลักฐานคุณภาพระดับปานกลางสำหรับข้อสรุปเหล่านี้ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากการปรับให้ทันสมัยก่อนหน้านี้ Succinylcholine มีแนวโน้มที่จะทำให้มีภาวะการใส่ท่อช่วยหายใจที่ดีเยี่ยมเมื่อใช้ thiopental เป็นตัวนำสลบ: RR 0.81 (95% CI: 0.73 ถึง 0.88; n = 2302, 28 การทดลอง) ในการปรับก่อนหน้านี้ เราได้ข้อสรุปว่า propofol เป็นสารนำสลบที่เหนือกว่า succinylcholine ไม่มีรายงานอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงที่รุนแรง เราพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในภาวะการใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อเทียบซัคซินิลโคลีนกับโรโคโรเนียม 1.2 มก./กก. อย่างไรก็ตาม succinylcholine ดีกว่าทางคลินิกเนื่องจากมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่สั้นกว่า
แปลโดย อ.นพ.ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 ตุลาคม 2020