คำถามรีวิว: การให้วิตามินเอเสริมสามารถป้องกันการตายและการเจ็บป่วยในทารกแรกเกิดครบกำหนดในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางได้หรือไม่
ที่มา: วิตามินเอเป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นสำหรับการบำรุงรักษาการทำงานของร่างกายมนุษย์ให้เป็นปกติ หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนามีภาวะขาดวิตามินเอ ในระหว่างตั้งครรภ์ การเสริมวิตามินเอมีความจำเป็นในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและทำให้มีการสะสมวิตามินเอในตับของทารก การขาดสารอาหารนี้ในแม่อาจนำไปสู่การขาดในทารกและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารก มีการยืนยันถึงประโยชน์ของการให้วิตามินเอแก่เด็กที่มีอายุมากกว่าหกเดือนในการลดการเสียชีวิตและลดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในทารกอายุ 1-5 เดือน ประโยชน์ของให้วิตามินเอเสริมแก่ทารกแรกเกิด (ช่วงเดือนแรกของชีวิต) กำลังมีการศึกษาอยู่
ลักษณะการศึกษา: มีการศึกษา 12 เรื่อง รวมทารกแรกเกิด 168,460 คนซึ่งทารกแรกเกิดในกลุ่มที่ได้รับการรักษาได้รับการเสริมด้วยวิตามินเอในช่วงอายุ 1 เดือนแรก
ผลลัพธ์ที่สำคัญ: การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับทารกทุกรายแสดงให้เห็นว่าไม่มีการลดลงของการเสียชีวิตที่อายุ 6 เดือนของทารกที่ได้รับการรักษาและผลคล้ายกันในการเสียชีวิตเมื่อทารกอายุ 12 เดือน
คุณภาพของหลักฐาน: คุณภาพของหลักฐานถูกจัดว่าเป็นคุณภาพระดับสูงสำหรับผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญเกือบทั้งหมด ยกเว้นผลลัพธ์สองอย่างที่มีคุณภาพต่ำและต่ำมาก: คือ "ภาวะอุจจาระร่วงในช่วง 48-72 ชั่วโมงหลังการให้วิตามินเสริม" และ 'การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุของทารกคลอดครบกำหนดที่อายุ 6 เดือน ตามลำดับ
จากข้อเท็จจริงที่ว่า เด็กที่อายุน้อยกว่าห้าปีในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางมีภาวะการเสียชีวิตสูง และส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตในช่วงวัยทารก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้หาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลของการเสริมวิตามินเอในช่วงทารกแรกเกิดต่อการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของทารก หลักฐานที่ได้จากการทบทวนนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการเสริมวิตามินเอในทารกแรกเกิดในการลดอัตราการเสียชีวิตในช่วง 6 เดือนแรกหรือ 12 เดือนแรกของชีวิต จากผลการทบทวนนี้และการขาดข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับกลไกทางชีวภาพที่วิตามินเออาจส่งผลต่อการเสียชีวิต พร้อมกับผลการวิจัยที่ขัดแย้งกันอย่างมากของการศึกษาแต่ละเรื่องซึ่งดำเนินการในสถานที่ที่มีระดับการขาดวิตามินเอในมารดาและการเสียชีวิตของทารกแตกต่างกัน การขาดการศึกษาประเมินผลกระทบในระยะยาวของภาวะกระหม่อมโป่งตึงหลังจากการเสริมวิตามินเอและผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายในทารกเพศหญิง จึงควรต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมได้ก่อนที่จะตัดสินใจให้คำแนะนำนี้เป็นนโยบายในทางปฏิบัติ
การขาดวิตามินเอเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง การเสริมวิตามินเอในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปพบว่าเป็นประโยชน์ แต่ยังไม่พบว่ามีประโยชน์ในการให้เสริมสำหรับเด็กที่อายุระหว่าง 1 ถึง 5 เดือน การเสริมวิตามินเอในช่วงทารกแรกเกิดได้รับการแนะนำเพราะอาจช่วยเพิ่มการสะสมวิตามินเอในร่างกายในวัยเด็กตอนต้น
เพื่อประเมินผลของการเสริมวิตามินเอสำหรับทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางในด้านการป้องกันการเสียชีวิตและความเจ็บป่วย
ผู้รายงานใช้การค้นหาตามมาตรฐานของ Cochrane Neonatal Review Group เพื่อค้นหา Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2016 ฉบับที่ 2) MEDLINE ผ่าน PubMed (1966-13 มีนาคม 2016), Embase (1980-13 มีนาคม 2016) และ Cumulative Index to Nursing and Allied Health Literature (CINAHL; 1982-13 มีนาคม 2016) นอกจากนี้ยังค้นหาฐานข้อมูลการทดลองทางคลินิก การดำเนินการประชุมและรายการอ้างอิงของบทความที่ได้รับการสำหรับการทดลองแบบควบคุมแบบสุ่มและแบบกึ่งทดลองแบบสุ่ม
การทดลองแบบสุ่มและกึ่งสุ่ม รวมถึงการทดลองแบบแฟกทอเรียล
นักวิจัยสองคนประเมินผลการศึกษาอย่างเป็นอิสระและรวบรวมข้อมูลการศึกษา โดยใช้วิธี Grading of Recommendations Assessment, Development and Evaluation (GRADE) เพื่อประเมินคุณภาพของหลักฐาน
มีการศึกษา 12 การศึกษา (ทารกแรกเกิด 168,460 คน ) ในการทบทวนนี้โดยมีเพียงไม่กี่การทดลองที่รายงานข้อมูลแยกสำหรับทารกที่คลอดครบกำหนด ดังนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอค่าประมาณสำหรับเด็กทารกคลอดครบกำหนด (เมื่อระบุ) และสำหรับทารกทุกคน
ข้อมูลในทารกคลอดครบกำหนดจาก 3 การศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในความเสี่ยงต่อการตายที่อายุ 6 เดือนของทารกในกลุ่มที่ได้รับวิตามินเอ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (อัตราส่วนความเสี่ยง, typical risk ratio (RR) 0.80; 95% confidence interval) 0.54 ถึง 1.18; I2 = 63%) การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับเด็กทารกทั้งหมดจาก 11 การศึกษาพบว่าไม่มีหลักฐานการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่อายุ 6 เดือนของทารกที่เสริมด้วยวิตามินเอเมื่อเทียบกับทารกแรกกลุ่มควบคุมุ (RR 0.98, 95% CI 0.89 ถึง 1.07; I2 = 47 %) พบผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันสำหรับการเสียชีวิตของทารกที่อายุ 12 เดือน โดยการเสริมวิตามินเอไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับทารกกลุ่มควบคุมควบคุม ( RR 1.04, 95% CI 0.94 ถึง 1.15; I2 = 47%) มีข้อมูลที่จำกัด สำหรับผลลัพธ์ของการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยในแง่โรคที่เป็นสาเหต (cause-specific mortality and morbidity) ภาวะขาดวิตามินเอ ภาวะโลหิตจางและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
ผู้แปล พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 3 สิงหาคม 2017