ความเป็นมา
เด็กจำนวนมากมีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนทั่วโลก การมีน้ำหนักเกินในเด็ก อาจเป็นปัญหาสุขภาพและเด็ก ๆ อาจได้รับผลกระทบทางจิตวิทยาและในชีวิตสังคม เด็กที่มีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเกินเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และพบปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
การสืบค้น
เราค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากเพื่อหาวิธีการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก เรารวบรวมการศึกษาในเด็กทุกเพศทุกวัย เรารวบรวมเฉพาะการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนโภชนาการในเด็ก หรือระดับการออกกำลังกาย หรือทั้งสองอย่าง เราสนใจเฉพาะการศึกษาที่มีข้อมูลที่ดีที่สุดที่จะตอบคำถามนี้ 'การทดลองแบบสุ่ม' หรือ RCTs
สิ่งที่เราพบ
เราพบ RCTs 153 เรื่อง การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปแม้ว่า 12% อยู่ในประเทศรายได้ปานกลาง (บราซิล เอกวาดอร์ อียิปต์ เลบานอน เม็กซิโก ไทยและตุรกี) การศึกษาแบบ RCTs (56%) ทดลองใช้กลยุทธ์การควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายในเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี หนึ่งในสี่อายุ 0 ถึง 5 ปี และวัยรุ่นอายุระหว่าง 13 ถึง 18 ปี (20%) กลยุทธ์ดังกล่าวใช้ในพื้นที่การศึกษาแตกต่างกัน เช่น บ้าน, สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนหรือโรงเรียน และส่วนใหญ่กำหนดเป้าหมายที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
พวกเขาทำอย่างไร
วิธีหนึ่งที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในการประเมินเด็กมีน้ำหนักเกิน คือการคำนวณความสูงและน้ำหนัก เทียบกับน้ำหนักและความสูงของเด็กในอายุเดียวกันในประเทศของพวกเขา เรียกว่าคะแนน zBMI เราพบ RCTs ที่มีการรายงานคะแนน zBMI 61 เรื่อง รวบรวมจากเด็กมากกว่า 60,000 คน เด็กอายุ 0 ถึง 5 ปีและเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี ที่ได้รับความช่วยเหลือในการควบคุมอาหารหรือออกกำลังกาย เพื่อลดคะแนน zBMI ของพวกเขาประมาณ 0.07 และ 0.04 หน่วยตามลำดับ เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือในการควบคุมอาหารหรือออกกำลังกาย ซึ่งหมายความว่าเด็กเหล่านี้สามารถลดน้ำหนักได้ การเปลี่ยนแปลง zBMI เมื่อใช้กับเด็กทั้งหมดเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลในการที่จะรับมือกับปัญหาของโรคอ้วนในเด็ก กลยุทธ์การควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกายหรือทั้งสอง ที่ให้กับวัยรุ่นและหนุ่มสาวอายุ 13 ถึง 18 ปี ไม่ประสบความสำเร็จในการลด zBMI
เราดูว่ากลยุทธ์นี้ใช้อย่างเสมอภาคกับเด็กทุกคนหรือไม่ เช่น เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย, เด็กที่มีภูมิหลังที่ร่ำรวยหรือด้อยกว่า, เด็กที่มีภูมิหลังทางเชื้อชาติต่างกัน RCTs ไม่มากที่มีรายงานเรื่องนี้ ไม่มีการบ่งชี้ว่ามีการใช้กลยุทธ์นี้อย่างไม่เท่าเทียม อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถหา RCTs เพียงพอที่จะตอบคำถามนี้ นอกจากนี้เรายังดูว่าเด็กได้รับอันตรายจากกลยุทธ์ใด ๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บ น้ำหนักลดมากเกินไป หรือมีมุมมองไม่ดีเกี่ยวกับน้ำหนักตัว RCTs ไม่มากที่รายงานเรื่องนี้้ ไม่มีรายงานถึงอันตรายใด ๆจากเด็กที่ได้รับกลยุทธ์การควบคุมอาหารหรือออกกำลังกาย
เราพิจารณาถึง RCTs ว่าทำได้ดีเพียงใด เพื่อดูว่าอาจมีการลำเอียงหรือไม่ เราตัดสินใจที่จะปรับลดข้อมูลบางอย่างตามการประเมินเหล่านี้ คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับ “ปานกลาง” เรื่อง zBMI สำหรับเด็กอายุ 0 ถึง 5 ปี, คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับ “ต่ำ” สำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับปานกลางสำหรับวัยรุ่น (13 ถึง 18)
บทสรุป
กลยุทธ์สำหรับการควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายหรือทั้งสองอย่าง เพื่อช่วยป้องกันการมีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน มีประสิทธิภาพในการลดคะแนน zBMI ลงเล็กน้อยในเด็กอายุ 0 ถึง 5 ปีและในเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี เป็นประโยชน์กับพ่อแม่และเด็กที่จะตระหนักถึงการมีน้ำหนักเกิน นอกจากนี้ยังเป็นประโยชนกับรัฐบาล ในการจัดการกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของเด็กที่จะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เราพบหลักฐานน้อยในวัยรุ่นและหนุ่มสาวอายุ 13 ถึง 18 ปี และกลยุทธ์ที่ไช้ไม่ลดคะแนน zBMI ของพวกเขา
วิธีการที่ใช้การควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงต่อความอ้วน (zBMI และ BMI) ในเด็กอายุ 0 ถึง 5 ปี หลักฐานที่อ่อน จากการศึกษาเรื่องเดียวที่พบว่าการควบคุมอาหารอาจเป็นประโยชน์
อย่างไรก็ตาม วิธีการที่มุ่งไปที่การออกกำลังกายไม่เห็นผลในเด็กวัยนี้ ในทางตรงข้าม วิธีการที่มุ่งไปที่การออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงต่อความอ้วน (BMI) ในเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี และวัยรุ่นอายุ 13 ถึง 18 ปี ในกลุ่มอายุนี้ไม่มีหลักฐานว่าการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวจะมีประสิทธิผล และหลักฐานบางชิ้นพบว่าการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายอาจมีประสิทธิผล ที่สำคัญ การปรับปรุงการทบทวนนี้เสนอแนะว่าวิธีการเพื่อลดความอ้วนในเด็กไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือปัญหาสุขภาพ
การทบทวนนี้ไม่ได้รับการปรับปรุงในรูปแบบปัจจุบัน เพื่อจัดการกับ RCTs เกี่ยวกับการป้องกันความอ้วนที่จะมีมากขึ้นในอนาคต การทบทวนนี้จึงแบ่งการทบทวนเป็น 3 ส่วนตามช่วงอายุเด็ก
การป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็ก เป็นความสำคัญของสาธารณสุขระหว่างประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญของโรคอ้วนต่อโรคเฉียบพลันและเรื้อรัง สุขภาพทั่วไป การเจริญเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี หลักฐานนานาชาติสำหรับกลยุทธ์เพื่อป้องกันโรคอ้วนมีอยู่มากและสะสมอย่างรวดเร็ว นี่คือการปรับปรุงของการทบทานก่อนหน้านี้
เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกายหรือทั้งสองอย่างออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็ก
เราค้นหาจาก CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsychINFO และ CINAHL ในเดือนมิถุนายน 2015 เราทำการค้นหาใหม่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2015 ถึงเดือนมกราคม 2018 รวมถึงการทดลองที่ได้ลงทะเบียนไว้
Randomised controlled trials (RCTs) เกี่ยวกับการควบคุมอาหารหรือจัดกิจกรรมออกกำลังกาย หรือให้การควบคุมอาหารร่วมกับจัดกิจกรรมออกกำลังกาย เพื่อป้องกันน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในเด็ก (0-17 ปี) ที่มีการรายงานผลลัพธ์หลังจากเข้าร่วมการทดลองอย่างน้อย 12 สัปดาห์
ผู้ประพันธ์สองคน ดึงข้อมูล, ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ อย่างอิสระต่อกัน และใช้ GRADE ในการประเมินน่าเชื่อถือของหลักฐานโดยรวม เราดึงข้อมูลเกี่ยวกับผลของไขมัน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ กระบวนการทดลองและค่าใช้จ่าย เราวิเคราะห์ข้อมูล meta ตามคำแนะโดย Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions และนำเสนอการวิเคราะห์ meta ตัวแปร zBMI และ BMI แยกตามกลุ่มอายุสำหรับเด็ก 0 ถึง 5 ปี, 6 ถึง 12 ปี, และ 13 ถึง18 ปี
เรารวบรวม RCTs 153 เรื่อง ส่วนใหญ่จากสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป การศึกษา 13 เรื่อง อยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (UMIC: บราซิล, เอกวาดอร์, เลบานอน, เม็กซิโก, ไทย, ตุรกี, ชายแดนสหรัฐเม็กซิโก), และ 1 เรื่องศึกษาในประเทศที่มีรายได้ปานกลางต่ำ (LMIC: อียิปต์) ส่วนใหญ่ (85) เป็นเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี
เด็กอายุ 0 ถึง 5 ปี: มีหลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลาง RCTs 16 เรื่อง (n = 6261) กลุ่มทดลองใช้การควบคุมอาหารกับออกกำลังกายเทียบกับกลุ่มควบคุม, BMI ลดลง (ผลต่างของค่าเฉลี่ย (MD) −0.07 kg/m2, 95% CI −0.14 ถึง −0.01), และ RCTs 11 เรื่อง (n = 5536) มีผลคล้ายกัน zBMI (MD −0.11, 95% CI −0.21 ถึง 0.01) ทั้งการควบคุมอาหาร (หลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลาง) หรือให้ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว (หลักฐานความเชื่อมั่นระดับสูง) เทียบกับกลุ่มควบคุม ค่าดัชนีมวลกายลดลง (ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว: MD −0.22 kg/m2, 95% CI −0.44 ถึง 0.01) หรือ zBMI (ควบคุมอาหารอย่างเดียว: MD −0.14, 95% CI −0.32 ถึง 0.04; ออกกำลังกายอย่างเดียว: MD 0.01, 95% CI −0.10 ถึง 0.13) ในเด็กอายุ 0-5 ปี
เด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี: มีหลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลางจาก RCTs 14 เรื่อง (n = 16,410) ที่ใช้การออกกำลังกายเทียบกับกลุ่มควบคุม สามารถลด BMI (MD−0.10 kg/m2, 95% CI −0.14 ถึง −0.05) อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานความเชื่อมั่นระดับปานกลางว่า มีผลน้อยหรือไม่มีผลต่อ zBMI (MD −0.02, 95% CI −0.06 ถึง 0.02) มีหลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำจาก RCTs 20 เรื่อง (n = 24,043) ที่การควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเทียบกับกลุ่มควบคุม, zBMI ลดลง (MD −0.05 kg/m2, 95% CI −0.10 ถึง−0.01) หลักฐานความเชื่อมั่นระดับสูงที่การควบคุมอาหารเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม มีผลเล็กน้อยต่อ zBMI (MD −0.03, 95% CI −0.06 ถึง 0.01) หรือ BMI (−0.02 kg/m2, 95% CI −0.11 ถึง 0.06)
เด็กอายุ 13-18 ปี: หลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำมากที่การออกกำลังกายเปรียบเทียบกับกกลุ่มควบคุม ลด BMI (MD −1.53 kg/m2, 95% CI −2.67 ถึง −0.39, RCTs 4 เรื่อง; n = 720); และหลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำว่า zBMI ลดลง (MD -0.2, 95% CI −0.3 ถึง -0.1; RCT 1 เรือ่ง; n = 100) หลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำจาก RCTs 8 เรื่อง (n = 16,583) ว่าการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมไม่มีผลต่อ BMI (MD −0.02 kg/m2, 95% CI −0.10 ถึง 0.05); หรือ zBMI (MD 0.01, 95% CI −0.05 ถึง 0.07; RCTs 6 เรื่อง; n = 16,543) หลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำจาก RCTs 2 เรื่อง n = 294 พบว่าการควบคุมอาหารไม่มีผลต่อ BMI
เปรียบเทียบวิธีการโดยตรง: RCTs 2 เรื่อง รายงานข้อมูลทดลองโดยตรงในการเปรียบเทียบทั้งการออกกำลังกาย หรือการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายในเด็กอายุ 6 ถึง 12 ปี และรายงานว่าไม่มีความแตกต่างกัน
ความแตกต่างของผลการศึกษาที่เห็นได้ชัดจากทั้งสามกลุ่มอายุ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์จากการออกแบบการวิจัย ระยะเวลาของทำการทดลอง จากที่มีการรายงาน พบว่าวิธีการทดลองไม่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (RCTs 16 เรื่อง) หรือเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพ (เพศ: RCTs 30 เรื่อง; สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม: RCTs 18 เรื่อง แม้ว่าการศึกษาค่อนข้างน้อยที่ตรวจสอบปัจจัยเหล่านี้
การสืบค้นอีกครั้งในเดือนมกราคม 2018 พบงานวิจัย 315 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนนี้ ซึ่งจะถูกสังเคราะห์ในการปรับปรุงครั้งต่อไป
ผู้แปล เพียงจิคค์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น