คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
ผู้ประพันธ์ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของการออกกำลังกายในสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน (period pain)
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
เราต้องการทราบว่าการใช้การออกกำลังกายดีกว่าไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษา แต่ไม่ใช่ด้วยการออกกำลังกาย หรือการใช้ยารักษาโรคที่แนะนำสำหรับการปวดประจำเดือน (dysmenorrhoea) เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
ลักษณะของการศึกษา
เราพบการศึกษา 12 ฉบับ มีสตรีเข้าร่วม 854 คน ที่ประเมินผลของการออกกำลังกายในสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน ซึ่งหลักฐานเป็นปัจจุบันถึงเดือนสิงหาคม 2019 การทดลองสองฉบับไม่ได้รายงานข้อมูลที่เหมาะสมพอที่จะรวมในการวิเคราะห์เมตา ดังนั้นเราจึงรวมผลการทดลอง 10 ฉบับ มีจำนวนสตรี 754 คน ในการวิเคราะห์เมตา การทดลองสิบเอ็ดฉบับ เปรียบเทียบการออกกำลังกาย กับการที่ไม่มีการรักษาและการทดลองหนึ่งฉบับเปรียบเทียบระหว่างการออกกำลังกาย กับ NSAIDs
ผลการศึกษาที่สำคัญ
การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นแบบ low-intensity เช่น โยคะ หรือ high-intensity เช่น แอโรบิก อาจช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ทำอะไรเลย การลดความปวดนี้น่าจะมีความสำคัญสำหรับสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนเนื่องจากมีจำนวนมากกว่าสองเท่าของการลดความเจ็บปวดขั้นต่ำ ซึ่งเราคิดว่าจำเป็นต้องสังเกตเห็นความแตกต่าง การศึกษาส่วนใหญ่ขอให้สตรีออกกำลังกายอย่างน้อยสามครั้งต่อสัปดาห์ประมาณ 45 ถึง 60 นาทีของการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง ไม่ชัดเจนว่าความถี่ของการออกกำลังกายน้อยกว่าปกติ หรือในระยะเวลาอันสั้นจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันหรือไม่ ออกกำลังกายเป็นประจำตลอดเดือน โดยมีการศึกษาบางฉบับขอให้สตรีไม่ต้องออกกำลังกายในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน
หลักฐานเรื่องความปลอดภัยของการออกกำลังกายยังไม่มีการรายงานที่ดี ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสรุปได้ ผลลัพธ์อื่น ๆ เช่น ผลต่ออาการประจำเดือนโดยรวม หรือคุณภาพชีวิตโดยรวม ยังไม่มีการรายงานที่ดี และหลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก ดังนั้นเราจึงไม่สามารถแน่ใจได้ว่าการออกกำลังกายมีผลต่อผลลัพธ์เหล่านี้หรือไม่ ไม่มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับอัตราการหยุดงาน หรือขาดเรียน หรือข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะระบุว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับ NSAIDs ซึ่งเป็นยาประเภทหนึ่ง (คล้ายกับ ibuprofen) ที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาอาการปวดประจำเดือน หรือปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง มีความต้องการยาบรรเทาอาการปวดเพิ่มเติม หรือการหยุดงาน หรือการขาดเรียนหรือไม่ ไม่มีรายงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตหรือข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
คุณภาพของหลักฐาน
คุณภาพของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก ข้อจำกัดที่สำคัญคือ Imprecision เนื่องจากตัวอย่างมีขนาดเล็ก (มีจำนวนสตรีน้อยเกินไปในการศึกษา), Inconsistency (การศึกษาให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก) และมีความเสี่ยงของการมีอคติที่เกี่ยวข้องกับการปกปิด (ซึ่งนักวิจัยหรือผู้เข้าร่วมทราบว่าพวกเขาได้รับการรักษาแบบใด)
หลักฐานคุณภาพต่ำแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นระยะเวลาประมาณ 45 ถึง 60 นาทีในแต่ละครั้ง จำนวนสามครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น โดยไม่คำนึงถึงความรุนแรง อาจลดความเจ็บปวดของประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกประมาณ 25 มม. จากการใช้ VAS ขนาด 100 มม. การศึกษาทั้งหมดใช้การออกกำลังกายเป็นประจำตลอดเดือนโดยมีการศึกษาบางฉบับขอให้สตรีไม่ต้องออกกำลังกายระหว่างมีประจำเดือน เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมจากการออกกำลังกาย และความเสี่ยงของผลข้างเคียงในประชากรทั่วไปค่อนข้างต่ำ สตรีอาจพิจารณาใช้การออกกำลังกายอย่างเดียวหรือร่วมกับวิธีบำบัดอื่น ๆ เช่น NSAIDs เพื่อจัดการกับอาการปวดประจำเดือน ไม่ชัดเจนว่าประโยชน์ของการออกกำลังกายยังคงมีอยู่หลังจากออกกำลังกายเป็นประจำหยุดลง หรือว่ามีความคล้ายคลึงกันในสตรีที่มีอายุเกิน 25 ปี จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมโดยใช้ผลลัพธ์ที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องอย่างเพียงพอและมีกลุ่มเปรียบเทียบที่เหมาะสม ซึ่งสะท้อนถึงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในปัจจุบัน หรือการจำแนกสิ่งสนใจเป็นพิเศษที่ได้รับระหว่างการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ และได้รับการแนะนำให้ใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (อาการปวดประจำเดือน) แต่หลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลในการใช้ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือนนี้ไม่ชัดเจน การทบทวนนี้ตรวจสอบหลักฐานที่มีที่สนับสนุนการใช้การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ
เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของการออกกำลังกายสำหรับสตรีที่ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ
ผู้วิจัยได้สืบค้นข้อมูลใน the Cochrane Gynaecology and Fertility specialised register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, PsycINFO, AMED และ CINAHL (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงเดือน กรกฎาคม 2019) เราค้นหาฐานข้อมูลการทดลองทางคลินิกสองแห่ง (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงเดือน มีนาคม 2019) และรายการอ้างอิงที่ค้นหาด้วยมือและการค้นหาจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบก่อนหน้านี้
เรารวบรวมการศึกษาที่ได้สุ่มเลือกสตรีที่ปวดระจำเดือนประเภทปฐมภูมิ ในระดับที่มีอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง เพื่อเข้ารับการออกกำลังกาย เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษา, attention control, non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) หรือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน Cross-over studies and cluster-randomised trials ไม่อยู่ในเกณฑ์นำเข้าในการทบทวนนี้
ผู้ประพันธ์สองคน คัดเลือกการศึกษา ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติและคัดลอกข้อมูลจากแต่ละการศึกษาโดยอิสระต่อกัน ผู้ประพันธ์ติดต่อเจ้าของงานวิจัย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เราประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยวิธี GRADE ผลลัพธ์หลักของเราคือ ความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ผลลัพธ์รอง ได้แก่ อาการเกี่ยวกับประจำเดือนโดยรวม การใช้ยาแก้ปวด ข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การขาดงานหรือขาดเรียน และคุณภาพชีวิต
เรารวบรวมการทดลองทั้งหมด 12 ฉบับ มีสตรีเข้าร่วม 854 คนในการทบทวนนี้ โดยมีการทดลอง 10 ฉบับ และ มีสตรี 754 คนในการวิเคราะห์เมตตา การศึกษาเก้าฉบับจาก 10 ฉบับ เปรียบเทียบการออกกำลังกาย กับการที่ไม่มีการรักษา และอีกหนึ่งการศึกษาเปรียบเทียบการออกกำลังกายกับ NSAIDs ไม่มีการศึกษาที่เปรียบเทียบการออกกำลังกาย กับวิธี attention control หรือยาเม็ดคุมกำเนิด การศึกษาใช้การออกกำลังกายแบบเบา ๆ (low-intensity exercise) (การยืดกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัว หรือโยคะ) หรือการออกกำลังกายแบบหนัก ๆ (high-intensity exercise) (Zumba หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิค) ไม่มีการศึกษาใดที่ใช้การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (resistance training)
ออกกำลังกายเปรียบเทียบกับไม่มีการรักษา
การออกกำลังกายอาจมีผลอย่างมากต่อการลดอาการปวดประจำเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ออกกำลังกาย (standard mean difference (SMD) -1.86, 95% confidence interval (CI) -2.06 ถึง -1.66; 9 randomised controlled trials (RCTs), n = 632; I2= 91%; หลักฐานที่มีคุณภาพต่ำ) ค่า SMD นี้ สอดคล้องกับการลดลง 25 มม. จากการวัดโดยใช้ visual analogue scale (VAS) ขนาด 100 มม. และดูเหมือนว่าจะมีนียสำคัญทางคลินิก เราไม่แน่ใจว่ามีความแตกต่างของอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างการออกกำลังกายและไม่มีการรักษาหรือไม่
เราไม่แน่ใจว่าการออกกำลังกายช่วยลดอาการเกี่ยวกับประจำเดือนโดยรวมหรือไม่ (เช่นการวัดโดยแบบสอบถาม Moos Menstrual Distress (MMDQ)) เช่น อาการปวดหลังหรืออาการเหนื่อยล้าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ได้รับการรักษา (MD) -33.16, 95% CI -40.45 ถึง -25.87; 1 RCT, n = 120; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) หรือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ (MD 4.40, 95% CI 1.59 ถึง 7.21; 1 RCT, n = 55; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) หรือคุณภาพชีวิตทางด้านกายภาพ (วัดโดยใช้ the 12-Item Short Form Health Survey (SF-12)) เปรียบเทียบกับไม่มีการออกกำลังกาย (MD 3.40, 95% CI -1.68 ถึง 8.48; 1 RCT, n = 55; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) เมื่อเปรียบเทียบกับ ไม่มีการรักษา ไม่มีการศึกษาที่รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการขาดงานหรือขาดเรียน
ออกกำลังกาย เปรียบเทียบกับ NSAIDs
เราไม่แน่ใจว่าการออกกำลังกายเมื่อเทียบกับกรด mefenamic ลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือน (MD -7.40, 95% CI -8.36 ถึง -6.44; 1 RCT, n = 122; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) ใช้ยาบรรเทาปวด (risk ratio (RR) 1.77, 95% CI 1.21 ถึง 2.60; 1 RCT, n = 122; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) หรือขาดงานหรือขาดเรียน (RR 1.00, 95% CI 0.49 ถึง 2.03; 1 RCT, n = 122; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) ไม่มีการศึกษาที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ อาการประจำเดือนโดยรวม ข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือคุณภาพชีวิต
แปลเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2019 โดย นางสาวน้ำเพชร จำปาทอง Cochrane Thailand