คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
ยาปฏิชีวะนะสามารถที่จะรักษาการติดเชื้อในไซนัสได้เร็วกว่าการไม่ใช้ยาปฏิชีวะนะในผู้ใหญได้หรือไม่
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ไซนัสคือช่องตามธรรมชาติที่อยู่ในศีรษะ ในผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อของไซนัสในระยะสั้นนั้นจะมีอาการคัดจมูกและมีน้ำมูกสีเหลืองเหนียว ในคนที่มีการติดเชื้อของไซนัสนั้นสามารถที่จะรู้สึกว่ามีเสมหะอยู่ที่ด้านหลังของคอ, ปวดที่บริเวณใบหน้า, ปวดเมื่อโน้มตัวไปด้านหน้า หรือปวดที่ฟันบนเมื่อทำการเคี้ยว การสงสัยว่ามีการติดเชื้อไซนัสระยะสั้นเกิดจากการซักประวัติเเละตรวจร่างกาย การเจาะเลือดส่งตรวจหรือการใช้ภาพถ่ายรังสีสามารถที่จะช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำในหลายประเทศ การติดเชื้อไซนัสระยะสั้นนั้นส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้ทำการรักษาก็ยังนิยมที่จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ซึ่งควรจะใช้ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่จำเป็นนั้นจะส่งผลให้เกิดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย ผู้ทบทวนวรรณกรรมทำการศึกษาเพื่อหาว่าการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นสามารถที่จะรักษาการติดเชื้อไซนัสระยะสั้นได้เร็วกว่าการใช้ยาหลอกหรือการไม่รักษาเลยได้หรือไม่
ช่วงเวลาที่สืบค้น
18 มกราคม 2018
ลักษณะของการศึกษา
เราได้นเข้าการศึกษาทั้งหมด15 เรื่อง ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ทำการศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อไซนัสระยะสั้นในการรักษาแบบผู้ป่วยนอกซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาหลอก และ ไม่ได้รับการรักษาเลย โดยไม่จำเป็นว่าต้องได้รับการยืนยันการวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายรังสี การศึกษาทั้งหมดมีผู้ใหญ่เข้าร่วม 3057 คน มีอายุเฉลี่ย 36 ปี และ ประมาณ 60% เป็นเพศหญิง ผู้เข้าร่วมโครงการจะถูกติดตามจนกว่าจะรักษาหาย การทดลองใช้เวลาตั้งแต่ 8 ถึง 28 วัน
แหล่งเงินทุนการวิจัย
มีการศึกษา 7 เรื่อง ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลหรือสถาบันการศึกษา; การศึกษา 6 เรื่อง ได้รับทุนจากอุตสาหกรรมยา และ การศึกษา 5 เรื่อง ไม่ระบุเเหล่งที่มาของทุน
ผลการศึกษาที่สำคัญ
ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเกือบครึ่งหายหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ และ 2 ใน 3 หายภายใน 14 วัน มีคนอีก 5 คน (วินิจฉัยจากอาการโดยแพทย์) ถึง 11 คน (วินิจฉัยยืนยันโดยภาพถ่ายรังสี) ต่อ 100 คนที่หายเร็วขึ้นจากการใช้ยาปฎชีวนะ การใช้ภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์สามาถที่จะช่วยทำนายได้ดีขึ้นว่าใครจะได้ประโยชน์จากการได้รับยาปฏิชีวนะ แต่การทำการถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์เป็นประจำจะส่งผลเสียทางสุขภาพจากรังสีได้ อีก 10 คนต่อ 100 หายจากอาการน้ำมูกเหนียวเหลืองข้นเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะเมื่อเทียบกับยาหลอกหรือการไม่ได้รับการรักษาเลย มี 13 คนต่อ 100 คนได้รับผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ (ส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงเกี่ยวกับกระเพาะเเละลำไส้) เมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอกหรือไม่ได้การรักษาเลย มีอีก 5 คนต่อ 100 จากกลุ่มที่ใช้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษาต้องเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะเนื่อจากมีอาการแย่ลง ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นฝีในสมองนั้นพบได้ยาก
เราพบว่ายาปฏิชีวนะไม่ใช่ตัวเลือกในการรักษาแรกของภาวะการติดเชื้อไซนัสระยะสั้น เราไม่พบว่ามีหลักฐานเกี่ยวเนื่องไปถึงผู้ใหญ่ที่เป็นไซนัสอักเสบอย่างรุนแรง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือถึงเด็ก
คุณภาพของหลักฐาน
เราพบว่าหลักฐานมีคุณภาพสูงเมื่อการวินิจฉัยนั้นเกิดจากอาการเเละอาการแสดงที่แสดงต่อแพทย์ เราลดระดับคุณภาพของหลักฐานเป็นระดับปานกลางเมื่อยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสีเอ็กเรย์หรือเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ เพราะจำนวนผู้เข้าร่วมน้อยทำให้ค่าประมาณมีความน่าเชื่อถือน้อยลง
ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาภาวะโพรงจมูกและไซนัสอักเสบไม่ว่าจะวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง (ความเสี่ยงของการมีอคติต่ำ, หลักฐานคุณภาพสูง) หรือได้รับการยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสี (ความเสี่ยงของการเกิดอคติต่ำถึงไม่แน่ชัด, หลักฐานคุณภาพปานกลาง) นั้นมีประโยชน์เล็กน้อยและต้องพิจารณาความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงร่วมด้วย เมื่อพิจารณาจากการเกิดเชื้อดื้อยาเเละการมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคที่ต่ำมาก เราสรุปได้ว่าไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยจมูกและไซนัสอักเสบอย่างเฉียบพลันที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เราไม่สามารถให้ข้อสรุปสำหรับเด็ก, ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และ กลุ่มคนที่มีไซนัสอักเสบอย่างรุนแรงได้ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในประชากรที่รวบรวมในการศึกษา
โรคจมูกและไซนัสอักเสบเฉลียบพลันคือการติดเชื้อของโพรงจมูกและไซนัสข้างจมูกที่เป็นน้อยกว่า 4 สัปดาห์ การวินิจฉัยภาวะจมูกและไซนัสอักเสบเฉียบพลันโดยทั่วไปทำการวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยนอก การส่งตรวจเพิ่มเติมนั้นไม่ได้ทำเป็นประจำ และไม่แนะนำในหลายประเทศ บางการทดลองแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะนั้นดีกว่า แต่การชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และโทษนั้นยังไม่ชัดเจน
เรารวม Cochrane Reviews 2 เรื่องเข้าด้วยกันในการปรับปรุงนี้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการที่ต่างกัน และมีประชากรซ้ำกันทำให้ได้ผลที่ต่างกัน สำหรับการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมนี้ เราสามารถที่จะแยกประชากรโดยแยกระหว่างการวินิจฉัยโดยอาการและอาการแสดง กับ การใช้ภาพถ่ายรังสี
ในการประเมินผลของยาปฏิชีวนะ กับ ยาหลอก หรือไม้ได้รับการรักษาในผู้ป่วยนอก
เราสืบค้นใน CENTRAL (2017, Issue 12), ซึ่งครอบคลุมถึง the Cochrane Acute Respiratory Infections Group's Specialised Register, MEDLINE (มกราคม 1950 ถึง มกราคม 2018), Embase (มกราคม 1974 ถึง มกราคม 2018), และ trials registers 2 ฐาน (มกราคม 2018) เรายังทำการตรวจสอบเเหล่งอ้างอิงจาก การทดลอง, systematic review ที่พบ และ แนวทางการปฎิบัติที่เกี่ยวข้อง
การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบระหว่างยาปฏิชีวนะกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา ในผู้ที่มีอาการและอาการแสดงเหมือนโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ หรือ ได้รับการยืนยันจากภาพถ่ายรังสีว่ามีไซนัสอักเสบ
ผู้ทบทวนสองคนดึงข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียง และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างอิสระต่อกัน เราติดต่อผู้ทำการศึกษาวิจัย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
เรานำเข้าการศึกษา 15 เรื่อง โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษา 3057 คน จากการศึกษา 15 เรื่องที่นำเข้า มีการศึกษา 10 เรื่องที่มีอยู่ในการทบทวนในปี 2012 และ อีกการศึกษา 5 เรื่อง (ผู้เข้าร่วมรวม 631 คน) นั้นเป็นงานที่เกิดจากการรวมกันของการทบทวนวรรณกรรม 2 เรื่อง ไม่มีการศึกษาใหม่ที่ถูกนำเข้าในการปรับปรุงครั้งนี้ โดยรวมแล้ว มีความเสี่ยงของการมีอคติต่ำ มีผู้เข้าร่วมที่เป็นโพรงจมูกและไซนัสอักเสบที่ไม้ได้รับยาปฏิชีวนะ (ทั้งที่ยืนยันและไม่ได้ยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสี) 46% หายจากโรคหลังจาก 1 สัปดาห์ และ อีก 64% หายหลังผ่านไป 14 วัน ยาปฏิชีวนะสามารถลดระยะเวลาของการรักษาได้ แต่มีเพียงแค่ 5 ถึง 11 คนต่อ 100 คนที่หายเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา ; วินิจฉัยจากอาการมี (odds ratio 1.25, 95% confidence interval, 1.02 ถึง 1.54; จำนวนของผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ (NNTB) 19 คน จึงจะทำให้เห็นผลการรักษาสำเร็จเพิ่มขึ้น หนึ่งคน , 95% CI 10 ถึง 205; I² = 0%; การศึกษา 8 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพสูง) และ การวินิจฉัยที่ได้รับการยืนยันด้วยภาพถ่ายรังสี (OR 1.57, 95% CI 1.03 ถึง 2.39; NNTB 10, 95% CI 5 ถึง 136; I² = 0%; การศึกษา 3 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) อัตราการหายโดยใช้ยาปฏิชีวนะจะสูงกว่าในกรณีที่พบระดับน้ำหรือมีการทึบรังสีในไซนัสใดไซนัสหนึ่งที่พบในภาพถ่ายเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ (OR 4.89, 95% CI 1.75 ถึง 13.72; NNTB 4, 95% CI 2 ถึง 15; การศึกษา 1 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพปานกลาง) การมีสารคัดหลั่งที่เป็นหนองสามารถหายเร็วขึ้นด้วยยาปฏิชีวนะ(OR 1.58, 95% CI 1.13 ถึง 2.22; NNTB 10, 95% CI 6 ถึง 35; I² = 0%; การศึกษา 3 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพสูง) แต่ว่า มี 13 คนที่มีข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้การรักษา (OR 2.21, 95% CI 1.74 ถึง 2.82; จำนวนของผู้ป่วยที่จะได้รับผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ (NNTH) เพิ่มขึ้นหนึ่งคน หากมี 8 คนที่ได้รับยาปฏิชีวนะ, 95% CI 6 to 12; I² = 16%; 10 การศึกษา; หลักฐานคุณภาพสูง) ในกลุ่มคนที่ได้ยาปฏิชีวนะมีคนที่การรักษาล้มเหลวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษาอยู่ 5 คนต่อ 100 คน (Peto OR 0.48, 95% CI 0.36 ถึง 0.63; NNTH 19, 95% CI 15 ถึง 27; I² = 21%; การศึกษา 12 เรื่อง; หลักฐานคุณภาพสูง) เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค (ผีในสมอง) ใน 1 คนจากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 3057 คน โดยเกิดขึ้น 1 สัปดาห์หลังจากได้ยาปฏิชีวนะอย่างเปิดเผย (ความล้มเหลวทางคลินิก, กลุ่มควบคุม)
แปลโดย นศพ.ธนทัต ผาณิตพงศ์