MRSA คืออะไรและทําไมจึงเป็นปัญหาในโรงพยาบาล
MRSA หมายถึง Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อ meticillin- (หรือ methicillin-) เป็นแบคทีเรียที่พบบ่อย (Staphylococcus aureus) ที่ไม่สามารถถูกฆ่าโดย meticillin (หรือที่เรียกว่า 'methicillin', ยาปฏิชีวนะ) หรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ ที่ใช้บ่อยในการรักษาโรคติดเชื้อ MRSA สามารถอาศัยอยู่กับคนโดยไม่ทําให้ป่วยและไม่แสดงอาการใดๆ แต่เป็นอันตรายเมื่อมันติดเชื้อคนที่ป่วย
MRSA สามารถติดต่อจากผู้ป่วยรายหนึ่งไปยังผู้ป่วยคนอื่นในโรงพยาบาลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทําให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงและอาจทําให้เกิดการเสียชีวิตได้ การแพร่เชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยผ่านเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพ เมื่อมือ เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์ปนเปื้อน MRSA ในระหว่างการดูแลทั่วไปของผู้ป่วยที่มี MRSA การสัมผัสของมือ เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อน กับผู้ป่วยอื่นๆ ทำให้ MRSA แพร่กระจายภายในโรงพยาบาล
ทําไมการใช้ถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากาก จึงช่วยป้องกันการติดต่อ MRSA ระหว่างผู้ป่วยในโรงพยาบาล
มีความเป็นไปได้ว่าการใช้ถุงมือที่ใช้แล้วทิ้ง ร่วมกับหรือไม่ร่วมกับการใช้เสื้อกาวน์ที่ใช้แล้วทิ้งหรือใช้แล้วซัก สามารถป้องกันการแพร่เชื้อ MRSA เนื่องจากเป็นการป้องกันมือและเสื้อผ้าของผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพจากการปนเปื้อน MRSA ถุงมือและเสื้อกาวน์ จะถูกเลิกใช้หลังการดูแลผู้ป่วยคนหนึ่งและใช้ของสะอาดใหม่ในการดูแลผู้ป่วยคนต่อไป การใช้หน้ากากอาจป้องกันการแพร่กระจายของ MRSA ผ่านทางอากาศ
ยังไม่ทราบว่าการใช้ถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากากลดการแพร่กระจายของ MRSA เมื่อมีการใช้เป็นรายอย่าง หรือไม่ว่าจะรวมสองในสามหรือทั้งสามอย่าง ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า
จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้และสิ่งที่ผู้วิจัยพบ
นักวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาว่าการใช้ถุงมือ เสื้อกาวน์หรือหน้ากากโดยบุคคลใดๆ ในโรงพยาบาล (เช่นแพทย์) ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่พบว่ามี MRSA ป้องกันการแพร่ MRSA จากผู้ป่วยรายนี้ไปยังบุคคลอื่นในโรงพยาบาล
นักวิจัยได้ค้นหาวรรณกรรมทางการแพทย์อย่างกว้างขวางจนถึงเดือนมิถุนายน 2015 แต่ไม่พบการศึกษาที่เคร่งครัดที่ประเมินหัวข้อนี้
ในปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าการสวมถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากากโดยคนใกล้ชิดกับผู้ป่วย MRSA จะช่วยลดการแพร่ MRSA ไปยังบุคคลอื่นในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ไม่ควรตีความว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่าถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากากไม่มีประสิทธิภาพ; หมายความว่าการวิจัยที่จะต้องวัดผล - ถ้ามี - ยังไม่ได้ทํา
เราพบว่าไม่มีการศึกษาที่ประเมินผลของการใส่ถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากากสําหรับการสัมผัสผู้ป่วย MRSA ในโรงพยาบาล หรือสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิด ในการแพร่ MRSA ให้กับผู้ป่วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้มาเยี่ยม การไม่มีหลักฐานที่เป็นข้อสรุปชัดเจน ไม่ควรตีความว่าวิธีการเหล่านี้ขาดประสิทธิผล ผลกระทบของถุงมือ เสื้อกาวน์ และหน้ากากในสถานการณ์เหล่านี้ยังต้องมีการประเมินโดยการศึกษาแบบทดลองอย่างเข้มงวด เช่น cluster RCTs ที่ทำในหลาย wards หรือโรงพยาบาล, หรือการศึกษาแบบ interrupted time series
Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อ methicillin (MRSA; ยังเป็นที่รู้จักกันว่า Meticillin-resistant S aureus) เป็นเชื้อโรคในโรงพยาบาลที่พบได้ทั่วไปซึ่งเพิ่มการเจ็บป่วย การตาย และค่ารักษาพยาบาล การควบคุมเรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ในโรงพยาบาลจํานวนมากทั่วโลก หลักฐานเชิงประจักษ์สําหรับผลของการใช้ถุงมือ เสื้อกาวน์หรือหน้ากากเป็นมาตรการควบคุม MRSA ยังไม่ชัดเจน
เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใส่ถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากากเมื่อคาดว่าจะสัมผัส ผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มี colonised หรือติดเชื้อ MRSA หรือสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
เราสืบค้นทะเบียนพิเศษของกลุ่ม Cochrane สามกลุ่ม (Wounds Group เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2015) กลุ่ม Effective Practice and Organisation of Care (EPOC) Group เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2013; and Infectious Diseases Group เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2009); CENTRAL (The Cochrane Library 2015, Issue 6); DARE, HTA, NHS EED, and the Methodology Register (The Cochrane Library 2015, Issue 6); MEDLINE and MEDLINE In-Process & Other Non-Indexed Citations (1946 ถึง มิถุนายน สัปดาห์ที่ 1 2015); EMBASE (1974 ถึง 4 มิถุนายน 2015); Web of Science (WOS) Core Collection (จาก inception ถึง 7 มิถุนายน 2015); CINAHL (1982 ถึง 5 มิถุนายน 2015); British Nursing Index (1985 ถึง 6 กรกฎาคม 2010); และ ProQuest Dissertations & Theses Database (1639 ถึง 11 มิถุนายน 2015) นอกจากนี้เรายังค้นหา Trial registries สามแห่ง (ในวันที่ 6 มิถุนายน 2015) เอกสารอ้างอิงของบทความและ conference proceedings ในที่สุดเราก็ติดต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องสําหรับการศึกษาเพิ่มเติม
การศึกษาที่ประเมินผลกระทบต่อการแพร่ของ MRSA จากการใช้ถุงมือ เสื้อกาวน์ หรือหน้ากากโดยบุคคลใดๆ ในโรงพยาบาลเมื่อคาดว่าจะมีผู้ป่วยในโรงพยาบาลมี colonisation หรือติดเชื้อ MRSA หรือกับสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เราไม่ได้ประเมินผลข้างเคียงหรือประเด็นทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเหล่านี้
เราพิจารณาการเปรียบเทียบทุกอย่างที่เป็นไปได้ เกี่ยวกับรูปแบบของการศึกษา มีเพียง randomised controlled trials (แบบ cluster หรือไม่ก็ได้) และการศึกษาแบบ non-randomised experimental studies ต่อไปนี้สามารถนำมารวบรวมได้: quasi-randomised controlled trials (แบบ cluster หรือไม่ก็ได้), non-randomised controlled trials (แบบ cluster หรือไม่ก็ได้), การศึกษาแบบ controlled before-and-after studies, การศึกษาแบบ controlled cohort before-after studies, การศึกษาแบบ interrupted time series studies (controlled or not), และการศึกษาแบบ repeated measures เราไม่คัดการศึกษาใดๆ ออกเนื่องจากภาษาหรือเวลาที่ตีพิมพ์
ผู้ทบทวนสองคนได้ตัดสินใจอย่างอิสระในการคัดเลือกการศึกษา ถ้ามีการศึกษาใดๆ ที่ได้รับการรวบรวมนำเข้า ผู้ประพันธ์สองคนจะได้คัดลอกข้อมูล (อย่างน้อยที่สุดสําหรับข้อมูลผลลัพธ์) และประเมินความเสี่ยงของอคติอย่างอิสระต่อกัน เราจะปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการมาตรฐานที่แนะนําโดย Cochrane และ Cochrane EPOC Group เพื่อประเมินความเสี่ยงของอคติและการวิเคราะห์ข้อมูล
เราไม่พบการศึกษาที่เข้าเกณฑ์การทบทวนวรรณกรรมนี้ ไม่ว่าจะเสร็จสมบูรณ์หรือกำลังดำเนินการ
แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ 23 มีนาคม 2020