คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
เราทบทวนหลักฐานเกี่ยวกับผลของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มีต่อภาวะเจริญพันธ์ สัดส่วนของร่างกาย การเผาผลาญและคุณภาพชีวิต ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่เล็กๆหลายใบ
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ภาวะถุงน้ำรังไข่เล็กๆหลายใบ (Polycystic ovary syndrome; PCOS) พบได้บ่อย ประมาณ 8-13% ในสตรี การที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ ทำให้ลักษณะทางคลินิคของ PCOS แย่ลง ลักษณะทางคลินิคเหล่านี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญพันธุ์ เช่น การตกไข่ที่ลดลง และประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ มีบุตรยาก ลักษณะของถุงน้ำรังไข่เล็กๆจากภาพอัลตราซาวน์และระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูง ซึ่งทำให้เกิดขนมากขึ้นและมีสิวได้ PCOS ยังสัมพันธ์กับการเผาผลาญ โดยเป็นความเสี่ยงของการเกิดเบาหวาน และโรคในระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด รวมถึงภาวะดื้อต่ออินซูลิน และไขมันในเลือดผิดปกติ PCOS ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และทำให้เกิดความกังวลและซึมเศร้าได้ จากอาการของโรคเองหรือโรคเรื้อรังที่พบร่วม การดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ประกอบด้วย อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนัก
ลักษณะของการศึกษา
เราพบการศึกษา 15 ฉบับ ทำในสตรีรวม 498 ราย การศึกษา 10 ฉบับ เปรียบเทียบการออกกำลังกาย กับการลดอาหารและการแทรกแซงพฤติกรรม (behavioral intervention) หรือไม่ทำใดๆ การศึกษา 5 ฉบับ เปรียบเทียบ การทำร่วมกันระหว่างควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการแทรกแซงพฤติกรรม กับ การแทรกแซงเล็กน้อย (minimal intervention) การศึกษา 1 ฉบับ เปรียบเทียบ การแทรกแซงพฤติกรรม (behavioral intervention) กับ การแทรกแซงเล็กน้อย (minimal intervention) ความเสี่ยงของการเกิดอคติหลากหลายและส่วนใหญ่ไม่ชัดเจน หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือนมีนาคม 2018
ผลการศึกษาที่สำคัญ
ไม่มีการศึกษาที่ดูผลของวิถีการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพดีต่อการเกิดมีชีพ การแท้ง หรือรอบประจำเดือน การใช้วิถีชีวิตอย่างมีสุขภาพดี อาจส่งผลช่วยให้น้ำหนักลดลง หรือช่วยลดระดับฮอร์โมนเพศชายในสตรีบางราย อาหารและการออกกำลังกายอาจไม่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกาย
คุณภาพของหลักฐาน
คุณภาพของหลักฐานการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ ข้อจำกัดหลักของหลักฐานการศึกษา คือผลที่ไม่สอดคล้องกันและความไม่เที่ยงของผล และการรายงานวิธีที่ใช้ศึกษาที่จำกัด
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต อาจช่วยปรับปรุงให้ระดับฮอร์โมนเพศชาย (free androgen index) ลดลง ช่วยลดน้ำหนักและดัชนีมวลกาย ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่เล็กๆหลายใบ เราไม่แน่ใจผลของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตต่อการเผาผลาญน้ำตาล ไม่มีการศึกษาที่ดูผลของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตต่อการเกิดมีชีพ การแท้ง ความสม่ำเสมอของรอบประจำเดือน การศึกษาส่วนใหญ่ในรีวิวนี้มีคุณภาพอยู่ในระดับต่ำ จากการที่มีความเสี่ยงของการเกิดอคติสูงหรือไม่ชัดเจน และมีความไม่ไปด้วยกันของผลของระดับฮอร์โมนเพศชาย
ภาวะถุงน้ำรังไข่เล็กๆหลายใบ (Polycystic ovary syndrome; PCOS) พบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ได้ 8-13% และสัมพันธ์กับความผิดปกติของภาวะเจริญพันธฺู์และการเผาผลาญ ความอ้วนทำให้ลักษณะทางคลินิคของ PCOS แย่ลง และการจัดการน้ำหนัก (ลดน้ำหนัก ป้องกันน้ำหนักเกิน) ถือเป็นหลักการรักษาเบื้องต้น ซึ่งทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ประกอบด้วย อาหาร การออกกำลังกาย และการแทรกแซงพฤติกรรม (behavioral intervention)
เพื่อประเมินผลของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มีต่อ ภาวะเจริญพันธ์ สัดส่วนของร่างกาย การเผาผลาญและคุณภาพชีวิต ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่เล็กๆหลายใบ
เราค้นฐานข้อมูลต่อไปนี้ถึง มีนาคม 2018 : The Cochrane Gynaecology and Fertility Specialised Register, the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE, Embase, PsycINFO, CINAHL และ AMED นอกจากนั้น ยังค้นการศึกษาที่ลงทะเบียนไว้ การศึกษาจากงานประชุมต่างๆ เอกสารอ้างอิงจากการศึกษา และ grey literature databases โดยไม่จำกัดภาษา
การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งเปรียบเทียบ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (อาหาร การออกกำลังกาย การแทรกแซงพฤติกรรม (behavioral intervention) หรือการทำหลายอย่างร่วมกัน) กับการแทรกแซงเล็กน้อย (minimal intervention) หรือไม่รักษา ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่เล็กๆหลายใบ
ผู้ประพันธ์ 2 คน คัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินคุณภาพระเบียบวิธีการวิจัย ความเสี่ยงของการเกิดอคติ และการดึงข้อมูลจากการศึกษาอย่างอิสระต่อกัน ผลลัพธ์หลัก คือ การคลอดมีชีวิต การแท้งบุตร และ การตั้งครรภ์ เราใช้ inverse variance และ fixed-effect models ในการทำ meta-analyses ข้อมูลที่เป็น dichotomous outcomes รายงานเป็น odds ratio และข้อมูลที่เป็น continuous outcomes รายงานเป็น mean difference (MD) หรือ standardised mean difference (SMD)
เรารวบรวม 15 การศึกษา ที่ทำในสตรีรวม 498 ราย การศึกษา 10 ฉบับ เปรียบเทียบการออกกำลังกาย กับการลดอาหารและการแทรกแซงพฤติกรรม (behavioral intervention) หรือไม่ทำใดๆ การศึกษา 5 ฉบับ เปรียบเทียบ การทำร่วมกันระหว่างควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการแทรกแซงพฤติกรรม กับ การแทรกแซงเล็กน้อย (minimal intervention) การศึกษา 1 ฉบับ เปรียบเทียบ การแทรกแซงพฤติกรรม (behavioral intervention) กับ การแทรกแซงเล็กน้อย (minimal intervention) ความเสี่ยงของการเกิดอคติมีความหลากหลาย: การศึกษา 8 ฉบับมี sequence generation ที่เพียงพอ การศึกษา 7 ฉบับมีการปกปิดแพทย์และผู้ประเมินผลอย่างเพียงพอ การศึกษา 7 ฉบับมี allocation concealment ที่เพียงพอ การศึกษา 6 ฉบับมี ข้อมูลผลการศึกษาที่ครบถ้วน การศึกษา 6 ฉบับไม่มีการเลือกการรายงานผล ไม่มีการศึกษาที่ประเมิน ผลของการเจริญพันธุ์ที่เป็นผลลัพธ์หลักคือ การเกิดมีชีพ หรือการแท้ง ไม่มีการศึกษาที่รายงานผลของการเจริญพันธุ์ที่เป็นผลลัพธ์รอง คือ ความปกติของประจำเดือน
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต อาจช่วยปรับปรุงให้ผลของการเจริญพันธุ์ที่เป็นผลลัพธ์รองดีขึ้น คือ ฮอร์โมนเพศชาย (free androgen index) ที่ลดลง (MD -1.11, 95% confidence interval (CI) -1.96 ถึง -0.26, การศึกษา 6 ฉบับ, สตรี = 204 ราย, I2 = 71%, คุณภาพหลักฐานระดับต่ำ) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต อาจช่วยลดน้ำหนักได้ (MD -1.68 kg, 95% CI -2.66 ถึง -0.70, การศึกษา 9 ฉบับ, สตรี = 353 ราย, I2 = 47%, คุณภาพหลักฐานระดับต่ำ) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต อาจช่วยลดดัชนีมวลกายได้ (BMI) (kg/m2) (-0.34 kg/m2, 95% CI -0.68 ถึง -0.01, การศึกษา 12 ฉบับ, สตรี = 434 ราย, I2= 0%, คุณภาพหลักฐานระดับต่ำ) ผลของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ต่อการเผาผลาญน้ำตาล (ระดับน้ำตาลในการทำ oral glucose tolerance test) ไม่ชัดเจน (SMD -0.02, 95% CI -0.38 ถึง 0.33, การศึกษา 3 ฉบับ, สตรี = 121 ราย, I2 = 0%, คุณภาพหลักฐานระดับต่ำ)
แปลโดย พญ.นันทสิริ เอี่ยมอุดมกาล ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 3 เมษายน 2019