น้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นปัญหาสุขภาพทั่วโลก การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนอาจมีผลต่อการทำงานของวิธีการคุมกำเนิดบางชนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์การคุมกำเนิดโดย ฮอร์โนนรวมถึง ยาเม็ด แผ่นแปะผิวหนัง วงแหวนช่องคลอด ยาฝัง ยาฉีด และห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน
เราสืบค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนในสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2016 เราค้นหางานวิจัยที่เปรียบเทียบสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนกับสตรีที่มีน้ำหนักหรือดัชนีมวลกายปกติ สูตรสำหรับดัชนีมวลกายคือ น้ำหนัก (กก)/ส่วนสูง (ม)2เรารวบรวมนำเข้าการวิจัยทุกรูปแบบ สำหรับการทบทวนวรรณกรรมเริ่มแรก เราติดต่อผู้วิจัยเพื่อสืบค้นงานวิจัยที่อาจจะหลุดไป
มีงานวิจัยเพิ่มขึ้น 8 เรื่องในการปรับให้ทันสมัยนี้ เราจึงมีงานวิจัย 17 เรื่อง มีสตรีทั้งหมด 63,813 คน ในครั้งนี้เราสนใจงานวิจัย 12 เรื่องที่มีคุณภาพสูง ปานกลาง และต่ำ งานวิจัยเกือบทั้งหมดไม่ได้แสดงว่ามีการตั้ครรภ์มากกว่าในสตรีน้ำหนักเกินหรืออ้วน งานวิจัย 2 ใน 5 ฉบับที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ดัชนีมวลกายต่างกัน ในงานวิจัยฉบับหนึ่ง สตรีทีน้ำหนักเกินมีความเสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์สูงกว่า อีกฉบับหนึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่าในสตรีอ้วนเมื่อเทียบกับสตรีไม่อ้วน การวิจัยฉบับที่ 2 ศึกษาแผ่นปิดผิวหนังชนิดใหม่ สตรีอ้วนในกลุ่มที่ใช้แผ่นแปะผิวหนังมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่า จากการวิจัย 5 ฉบับที่ศึกษายาฝัง มี 2 งานวิจัยพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มน้ำหนัก เป็นการศึกษายาฝังรุ่นเก่าชนิด 6 แท่ง งานวิจัยฉบับหนึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าในปีที่ 6 และ 7 รวมกันในสตรีที่หนัก 70 กก หรือมากกว่า อีกงานวิจัยรายงานความแตกต่างในปีที่ 5 เฉพาะกลุ่มน้ำหนักตัวน้อย ผลการวิจัยในวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่นไม่ได้แสดงว่าน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนจะสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ วิธีการดังเกล่าได้แก่ ยาฉีด ห่วงที่มีฮอร์โมน และยาฝังที่มี 1 หรือ 2 แท่ง
งานวิจัยเหล่านี้โดยทั่วไปไม่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลร่างกายหรือน้ำหนักกับผลของฮอร์โมนคุมกำเนิด เราพบงานวิจัยจำนวนน้อยสำหรับวิธีส่วนใหญ่ งานวิจัยที่ใช้ดัชนีมวลกายสามารถบอกได้ว่าไขมันในร่างกายสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดได้ดีกว่างานวิจัยที่ใช้น้ำหนักตัว วิธีการวิจัยที่ใช้ ทำงานได้ดีเมื่อใช้สอดคล้องกับทิศทาง การวิจัยโดยทั่วไปมีคุณภาพต่ำโดยเฉพาะการศึกษาเก่าๆ อย่างไรก็ตามงานวิจัยจำนวนมากน่าจะมีคุณภาพสำหรับวัตถุประสงค์เดิมสูงกว่าสำหรับการเปรียบเทียบครั้งนี้
หลักฐานโดยทั่วไปไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายหรือน้ำหนักตัวที่สูงกับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม เราพบงานวิจัยบางเรื่องสำหร้บวิธีคุมกำเนิดส่วนใหญ่ งานวิจัยที่ใช้ดัชนีมวลกายร่วมกับน้ำหนักตัวด้วยสามารถให้ข้อมูลว่าส่วนประกอบของร่างกายจะเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการคุมกำเนิดหรือไม่ วิธีการคุมกำเนิดที่มีการศึกษานี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลสูงสุดถ้าได้ใช้ตามที่กำหนดไว้
เราพิจารณาว่าคุณภาพโดยรวมของงานวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้อยู่ในระดับต่ำ งานวิจัยระยะหลังมีคุณภาพต่างกัน แต่งานวิจัยเก่าๆโดยทั่วไปมีคุณภาพต่ำ คุณภาพของงานวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์เบื้องต้นน่าจะดีกว่าในการเปรียบเทียบที่ไม่ได้สุ่มนี้ ผู้วิจัยควร พิจารณาควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับดัชนีมวลกายและประสิทธิผลของการคุมกำเนิด งานวิจัยใหม่ซึ่งมีสัดส่วนของสตรีน้ำหนักเกินและอ้วน จะช่วยประเมินประสิทธิผลและอาการข้างเคียงของฮอร์โมนคุมกำเนิดในกลุ่มดังกล่าว
โรคอ้วนได้เพิ่มขึ้นถึงสัดส่วนการเป็นโรคระบาดไปทั่วโลก ประสิทธิผลของฮอร์โมนคุมกำเนิด อาจจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเมตาโบลิซึ่มในโรคอ้วน หรือดัชนีมวลกาย หรือไขมันในร่างกาย ฮอร์โมนคุมกำเนิดได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีด ห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน แผ่นแปะผิวหนัง และวงแหวนสำหรับช่องคลอด (vaginal ring) จากปัญหาความชุกของการมีน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน ผลกระทบทางสารธารณสุขต่อประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดอาจจะมีความสำคัญ
เพื่อประเมินประสิทธิผลของฮอร์โมนคุมกำเนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์ในสตรีทีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนเปรียบเทียบกับสตรีที่ดัชนีมวลกายหรือน้ำหนักน้อยกว่า
จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2016 เราสืบค้นงานวิจัยใน PubMed (MEDLINE), CENTRAL, POPLINE, Web of Science, ClinicalTrials.gov และ ICTRP เราตรวจสอบเอกสารอ้างอิงของงานวิจัยเหล่านี้เพื่อค้นหางานวิจัยอื่น ในการทบทวนวรรณกรรมครั้งแรก เราติดต่อผู้วิจัยเพื่อค้นหางานวิจัยเพิ่มเติมทั้งที่ได้ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์
งานวิจัยทุกชนิดสามารถนำมาใช้ได้ งานวิจัยฮอร์โมนคุมกำเนิดอะไรก็ได้ รายงานต้องมีข้อมูลวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ ผลลัพธ์หลักคือการตั้งครรภ์ น้ำหนักเกินหรืออ้วนจะต้องมีการกำหนดโดยน้ำหนักหรือค่าดัชนีมวลกาย(kg/m2)(kg/m2)
ผู้วิจัย 2 คนดึงข้อมูลจากงานวิจัยโดยเป็นอิสระต่อกัน คนหนึ่งบันทึกข้อมูลลงใน RevMan และอีกคนตรวจสอบความถูกต้อง การเปรียบเทียบที่สำคัญคือสตรีน้ำหนักเกินหรืออ้วนกับสตรีที่น้ำหนักหรือดัชนีมวลกายน้อยกว่า เราประเมินคุณภาพของข้อมูลโดยใช้ Newcastle-Ottawa Quality Assessment Scale เราใช้ life-table rates ถ้ามี เราใช้อัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ปรับ relative risk หรือ rate ratio สำหรับตัวแปร dichotomous เราคำนวน odds ratio และ 95% confidence interval (CI).
มีงานวิจัยเพิ่มเติม 8 ฉบับในการ update ครั้งนี้ มีงานวิจัยเข้าข่าย 17 ฉบับ มีสตรีทั้งหมด 63813 คน เราพิจารณางานวิจัย 12 ฉบับที่มีข้อมูลที่มีคุณภาพสูง ปานกลางและต่ำ งานวิจัยเกือบทั้งหมดไม่ได้แสดงอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นในสตรีน้ำหนักเกินหรืออ้วน งานวิจัยยาเม็ดคุมกำเนิด 5 ฉบับพบว่า ดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับอัตราการตั้งครรถ์ แต่ในทิศทางต่างกัน สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี norethindrone acetate and ethinyl estradiol (EE)อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นในสตรีน้ำหนักเกิน กล่าวคือ เปรียบเทียบ BMI ≥ 25 กับ < 25 พบ relative risk 2.49, 95% CI 1.01 to 6.13. ในทางตรงข้าม งานวิจัยยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี levonorgestrel และ EE รายงาน Pearl Index เท่ากับ 0 ในสตรีอ้วน(BMI ≥ 30) เปรียบเทียบกับ 5.59 ในสตรีที่ BMI < 30. งานวิจัยเดียวกันประเมินแผ่นแปะผิวหนังที่มี levonorgestrel and EE ในกลุ่มแผ่นแปะผิวหนัง สตรีอ้วนในกลุ่มย่อย"treatment-compliant"มี Pearl Index สูงกว่าสตรีไม่อ้วน (4.63 versus 2.15) งานวิจัย 2 ใน 5 ฉบับที่ศึกษายาฝังที่มี levonorgestrel 6 แท่งพบความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์กับน้ำหนัก งานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าน้ำหนักที่มากกว่าจะมีอัตราการตั้งครรภ์ในปีที่ 6 และ 7 รวมกันสูงกว่า (P < 0.05) งานวิจัยอีกฉบับหนึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์แตกต่างกันในปีที่ 5 เฉพาะกลุ่มที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า (P < 0.01) และไม่เกี่ยวกับสตรีที่หนัก 70 กกหรือมากกว่า
การวิเคราะห์ข้อมูลของการคุมกำเนิดชนิดอื่นไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์กับน้ำหนักเกินหรืออ้วน ทั้งนี้ครอบคลุมถึง ยาฉีด ห่วงที่มี levonorgestrel ยาฝังชนิด 2 แท่ง และยาฝังชนิด etonogestrel
ผู้แปล ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น