วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความต้องการของเด็ก หรือตามนาฬิกา

ประเด็นปัญหาคืออะไร?

รูปแบบของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่างกันได้มาก มีสองวิธีที่แตกต่างกันมากที่ใช้ในการตรวจสอบว่าเมื่อไรทารกจะต้องให้นมและนานเท่าไหร่ วิธีการหนึ่งที่นำโดยทารกและเป็นที่รู้จักกันว่า กำหนดโดยทารก ไม่จำกัด หรือให้นมตามความต้องการ อีกวิธีการหนึ่งคือกำหนดโดยเวลา และเป็นที่รู้จักกันว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตามกำหนด ตามเวลา หรือแบบจำกัด

จากช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ผู้หญิงในสภาพแวดล้อมต่อสุขภาพหลายอย่างได้รับคำแนะนำให้นมลูกตามนาฬิกา; ระยะเวลาและจำกัดทั้งความถี่และระยะเวลาของการให้นมลูก คำแนะนำนี้เป็นไปตามรูปแบบการให้นมขวด การปฏิบัตินี้เปลี่ยนไปเมื่อการให้นมบุตรตามความต้องการได้รับการสนับสนุน ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปริมาณของนมที่ผลิตจะถูกกำหนดโดยความต้องการของทารก ทารกควบคุมอุปทานของนมเพื่อให้มั่นใจว่านมมากพอที่จะผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการ ด้วยวิธีนี้ การสัมผัสใกล้ชิดระหว่างแม่และลูกได้รับการสนับสนุนโดยไม่มีข้อจำกัดของเวลาอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม แม่อาจจะไม่อยู่ในฐานะที่จะให้นมลูกทารกของเธอในความต้องการได้ เนื่องจาก เช่นถูกแยกออกจากลูกของเธอด้วยเหตุผลใด ๆ และแม่อาจจะไม่แน่ใจว่าเมื่อไรลูกของเธอจะไม่ต้องการนมแม่ .

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

แม่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความถี่และระยะเวลาของการให้นม แต่พวกเขาได้รับการแนะนำที่ขัดแย้งกัน แนวทางปฏิบัติในปัจจุบันขอแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมที่กำหนดตามความต้องการของทารก เป็นสิ่งสำคัญที่จะมีการทบทวนหลักฐานอย่างเป็นระบบเพิ่อช่วยการตัดสินใจของสตรีในประสิทธิผลของแต่ละวิธี

การทบทวนวรรณกรรมนี้มีความสำคัญ เนื่องจาก การให้นมแม่ตามความต้องการของทารกไม่ได้มีการทำตามอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากผู้หญิงและผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวนมากดูเหมือนจะมีความสะดวกสบายด้วยการกำหนดเวลามากกว่าแบบการให้ตามความต้องการของทารก

เราพบหลักฐานอะไร?

เราสืบค้นหาหลักฐานเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 และพบว่าไม่มีการศึกษาใหม่เพิ่มในการปรับปรุงการการทบทวนวรรณกรรมนี้

หมายความว่าอย่างไร

เรามองหาการศึกษาที่เปรียบเทียบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความต้องการของทารก กับวิธีที่มีการกำหนดเวลาไว้ (หรือผสม)สำหรับเลี้ยงลูกด้วยนมที่ประสบความสำเร็จสำหรับทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพดี แต่ไม่มีการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก แนะนำว่ายังไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันโดยไม่มีงานวิจัยที่แข็งแกร่ง รวมถึงรูปแบบของการเลี้ยงลูกด้วยนมหลายวิธี และไม่ จำกัดเฉพาะการเลี้ยงลูกด้วยนมตามความต้องการของทารกและการกำหนดเวลา การวิจัยสำรวจในอนาคตเกี่ยวกับการให้นมแม่ตามความต้องการของทารกยังเป็นสิ่งจำเป็น โดยที่จะใช้มุมมองของมารดาเข้าสู่การพิจารณา

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การทบทวนวรรณกรรมนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีหลักฐานจากการทดลองควบคุมแบบสุ่มที่ประเมินผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความต้องการของเด็กเทียบกับที่กำหนดเวลาไว้ (หรือผสม) เพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จสำหรับทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพดี แนะนำว่ายังไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันโดยไม่มีงานวิจัยที่แข็งแกร่ง ที่รวมรูปแบบของการเลี้ยงลูกด้วยนมหลายวิธี และไม่จำกัดเฉพาะการเลี้ยงลูกด้วยนมตามความต้องการของทารกและการกำหนดเวลา การวิจัยสำรวจในอนาคตเกี่ยวกับการให้นมแม่ตามความต้องการของทารกยังเป็นสิ่งจำเป็น โดยที่จะใช้มุมมองของมารดาเข้าสู่การพิจารณา

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความต้องการของเด็กได้รับการแนะนำว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำหนดความถี่และระยะเวลาของการให้นมแม่ วิธีทางเลือกคือที่เรียกว่าตามกำหนด โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำตามเวลาที่กำหนดและ จำกัด ในความถี่และระยะเวลา จำเป็นต้องมีการตรวจสอบหลักฐานที่สนับสนุนข้อเสนอแนะในปัจจุบันเพื่อให้สตรีมีหลักฐานที่มีคุณภาพสูงเพื่อใช้ในการตัดสินใจวิธีการให้นมของพวกเขา

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามความต้องการของเด็กเปรียบเทียบกับที่กำหนดไว้ (หรือผสม) สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมที่ประสบความสำเร็จเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

วิธีการสืบค้น: 

เราได้ค้นหา Cochrane Pregnancy and Childbirth Group's Trials Register (23 กุมภาพันธ์ 2016) CINAHL (1981 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2016),EThOS, Index to Theses and ProQuest database และหลักฐานขององค์การอนามัยโลก ปี 1998 เพื่อสนับสนุน สิบขั้นตอนในการเลี้ยงลูกด้วยนมที่ประสบความสำเร็จ ( 10 พฤษภาคม 2016)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราวางแผนที่จะรวมการทดลองทั้งแบบสุ่ม และแบบเสมือนกับการสุ่มที่สุ่มทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่ม การศึกษาที่เสนอในรูปแบบคัดย่อจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมหากข้อมูลที่มีอยู่เพียงพอ การศึกษาแบบ cross over จะไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าสำหรับงานวิจัยนี้

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้วิจัย 2 คนประเมินการศึกษาที่ได้จากการสืบค้น เพื่อนำเข้ามาทบทวนอย่างอิสระต่อกัน เราวางแผนไว้แก้ไขความขัดแย้งใด ๆ โดยการอภิปรายหรือหากจำเป็นต้องปรึกษาผู้วิจัยคนที่สาม แต่นี้ก็ไม่จำเป็น

ผลการวิจัย: 

ไม่มีการศึกษาที่ถูกระบุว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการรวมในการทบทวนนี้

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาศุติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 30 มกราคม 2560

Tools
Information