ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์อัตโนมัติ (ATCS) สามารถส่งข้อความเสียงและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจากผู้ป่วยโดยใช้ได้ทั้งแบบปุ่มกดระบบสัมผัสหรือซอฟต์แวร์จดจำเสียง ATCS สามารถเสริมหรือแทนที่การติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ATCS มีหลายประเภท: ข้อความเสียงทางเดียวไปยังผู้ป่วย (Unidirectional), ระบบตอบสนองด้วยเสียงแบบโต้ตอบ (IVR) ที่มีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การส่งต่อเพื่อคำแนะนำ (ATCS Plus) หรือระบบที่ ATCS เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่ซับซ้อน (หลายรูปแบบ)
คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนนี้เป็นการประเมินประสิทธิภาพของ ATCS ในการป้องกันโรคและการจัดการโรคระยะยาว
ผลการศึกษา
เราพบการทดลอง 132 เรื่องซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 4 ล้านคนในขอบเขตการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและเพื่อการจัดการโรคระยะยาว
การศึกษาเปรียบเทียบประเภท ATCS ในหลาย ๆ ด้าน
งานวิจัยบางเรื่องรายงานการผลการศึกษาระหว่างโรค ATCS อาจเพิ่มการได้รับภูมิคุ้มกันในเด็กและในวัยรุ่นเล็กน้อย แต่ในผู้ใหญ่ยังไม่แน่ชัดสำหรับการป้องกัน สำหรับการป้องกันนั้น Multimodal ATCS ยังเพิ่มจำนวนผู้ที่ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาจเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน ATCS Plus อาจเพิ่มการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเล็กน้อย โดยมีประสิทธิผลที่ไม่แน่นอนต่อการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน IVR อาจเพิ่มจำนวนการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้นานถึง 6 เดือน โดยมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ATCS (Unidirectional หรือ IVR) อาจปรับปรุงการมาตามนัดหมาย ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและจัดการโรค
ATCS หลายรูปแบบมีผลที่ไม่สอดคล้องกันในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอสำหรับการจัดการระยะยาว ATCS Plus อาจปรับปรุงการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ เมื่อเทียบกับการควบคุม ATCS Plus และ IVR อาจปรับปรุงการความสม่ำเสมอ ในขณะที่ Unidirectional ATCS อาจมีประสิทธิผลเล็กน้อยหรือเชิงบวกเพียงเล็กน้อย ไม่มีการแทรกแซงที่ปรับปรุงผลลัพธ์ทางคลินิกอย่างสม่ำเสมอ IVR อาจช่วยปรับปรุงการความสม่ำเสมอในการตรวจ แต่ ATCS Plus อาจมีผลเพียงเล็กน้อย
ATCS ยังใช้ในโรคเฉพาะอีกด้วย ผลกระทบแตกต่างกันไปตามโรคและประเภท ATCS Multimodal ATCS แต่ไม่ใช่ ATCS ประเภทอื่น อาจช่วยลดความเจ็บปวดจากมะเร็งและความเจ็บปวดเรื้อรัง ผลลัพธ์อาจดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อใช้ ATCS กับการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง สุขภาพจิต หรือการเลิกบุหรี่มีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ในหลายขอบเขต (แอลกอฮอล์/สารเสพติด การเสพติด โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เอชไอวี/เอดส์ คอเลสเตอรอลสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความผิดปกติของไขสันหลัง ความเครียดทางจิตใจของผู้ดูแล) ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกได้ว่า ATCS มีผลกระทบอย่างไร
มีการศึกษา 4 เรื่องรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ความเชื่อมั่นในหลักฐานของเราแตกต่างกันไป (มากไปน้อย) และมักถูกลดลงเนื่องจากข้อจำกัดในการศึกษา ซึ่งหมายความว่าการวิจัยเพิ่มเติมอาจเปลี่ยนแปลงข้อค้นพบบางอย่าง
บทสรุป
ATCS อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพบางอย่าง ปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพ และเพิ่มการรับรู้ด้านการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น
วิธีการแบบ ATCS สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ปรับปรุงผลลัพธ์ทางคลินิก และเพิ่มการดูแลด้านการรักษาพยาบาล มีผลในเชิงบวกในหลายด้านที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างภูมิคุ้มกัน การตรวจคัดกรอง การนัดหมาย และการปฏิบัติตามยาหรือการทดสอบ การตัดสินใจรวมวิธีการแบบ ATCS ในการให้บริการการดูแลสุขภาพเป็นประจำควรสะท้อนถึงความแปรปรวนในความเชื่อมั่นของหลักฐานที่มีอยู่และขนาดของผลกระทบในโรคต่างๆ ร่วมกับลักษณะที่หลากหลายของวิธีการแบบ ATCS ที่ประเมิน การวิจัยในอนาคตควรประเมินทั้งเนื้อหาของวิธีการแบบ ATCS และรูปแบบการให้บริการ ประสบการณ์ของผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการยอมรับ และชี้แจงว่า ATCS ประเภทใดมีประสิทธิภาพและคุ้มทุนมากที่สุด
ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์อัตโนมัติ (ATCS) สามารถส่งข้อความเสียงและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจากผู้ป่วย โดยใช้ได้ทั้งปุ่มกดระบบสัมผัสหรือซอฟต์แวร์จดจำเสียง ATCS สามารถเสริมหรือแทนที่การติดต่อทางโทรศัพท์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ATCS มีสี่ประเภทที่แตกต่างกัน ได้แก่ ระบบทิศทางเดียว ((Unidirectional), ทางเดียว, การสื่อสารด้วยเสียงแบบไม่โต้ตอบ), ระบบตอบกลับด้วยเสียงแบบโต้ตอบ (Interactive voice response (IVR)), ATCS พร้อมฟังก์ชั่นเพิ่มเติม เช่น การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ (ATCS Plus) และ ATCS หลากหลายรูปแบบ ซึ่งการโทรถูกนำไปใช้โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการแบบหลายองค์ประกอบ (Multicomponent intervention)
เพื่อประเมินประสิทธิผลของ ATCS ในการป้องกันโรคและจัดการโรคระยะยาวต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม คลินิก กระบวนการ การรับรู้ ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์
เราสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 10 แห่ง (Cochrane Central Register of Controlled Trials; MEDLINE; Embase; PsycINFO; CINAHL; Global Health; WHOLIS; LILACS; Web of Science และ ASSIA); เอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่จำนวน 3 ฐานข้อมูล (Dissertation Abstracts, Index to Theses, Australasian Digital Theses); และการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกจำนวน 2 ฐานข้อมูล (www.controlled-trials.com; www.clinicaltrials.gov) สำหรับเอกสารที่เผยแพร่ระหว่างปี 1980 ถึงเดือนมิถุนายน 2015
เราคัดเข้าการทดลองแบบสุ่ม แบบคลัสเตอร์ แบบกึ่งสุ่ม แบบ interrupted time series และการศึกษาก่อนและหลังที่มีการควบคุมซึ่งเปรียบเทียบวิธีการแบบ ATCS กับกลุ่มควบคุมใดๆ หรือ ATCS ประเภทอื่น ๆ การศึกษาในทุกขอบเขต การศึกษาสำหรับผู้รับบริการ/ผู้ให้บริการ การศึกษาในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันหรือบทบาทการจัดการสภาพในระยะยาวนั้นผ่านเกณฑ์การคัดเข้าเช่นกัน
เราใช้วิธีมาตรฐานของ Cochrane ในการคัดเลือก สกัดข้อมูล และประเมินการศึกษาที่เข้าเกณฑ์
เรานำเข้าการทดลองจำนวน 132 การศึกษา (N = 4,669,689 คน) การศึกษาครอบคลุมในหลายขอบเขตทางคลินิก โดยประเมินการเปรียบเทียบจำนวนมากโดยพิจารณาจากการประเมินประเภท ATCS ต่างๆ และกลุ่มเปรียบเทียบทหลากหลาย การศึกษา 41 เรื่องประเมิน ATCS ในการให้บริการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การศึกษา 84 เรื่องประเมินการจัดการโรคระยะยาว และการศึกษา 7 เรื่องเพื่อเตือนการนัดหมาย เราลดระดับความเชื่อมั่นของเราในหลักฐานหลัก เนื่องจากความเสี่ยงของการเกิดอคติในผลลัพธ์หลายๆ อย่าง เราประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติเกิดจากกระบวนการจัดสรรในระดับต่ำสำหรับการศึกษาเพียงครึ่งเดียวและการศึกษาที่เหลือนั้นไม่ชัดเจน เราพิจารณาว่าการศึกษาส่วนใหญ่มีความเสี่ยงที่ไม่ชัดเจนในประสิทธิภาพหรือการตรวจจับอคติ เนื่องจากการปกปิด (blinding) ในขณะที่มีเพียง 16% ของการศึกษาที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยทั่วไปเราประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติ เนื่องจากข้อมูลสูญหายและการเลือกผลลัพธ์เพื่อรายงานที่ไม่ชัดเจน
สำหรับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ATCS (ATCS Plus, IVR, Unidirectional) อาจเพิ่มการรับวัคซีนในเด็ก (ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) 1.25, 95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 1.18 ถึง 1.32; 5 การศึกษา, N = 10,454; ความเชื่อมั่นปานกลาง) และ ระดับที่น้อยกว่าในวัยรุ่น (RR 1.06, 95% CI 1.02 ถึง 1.11; 2 การศึกษา, N = 5725; ความเชื่อมั่นปานกลาง) ประสิทธิผลของ ATCS ในผู้ใหญ่ไม่ชัดเจน (RR 2.18, 95% CI 0.53 ถึง 9.02; 2 การศึกษา, N = 1743; ความเชื่อมั่นต่ำมาก)
สำหรับการตรวจคัดกรองนั้น Multimodal ATCS เพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (RR 2.17, 95% CI 1.55 ถึง 3.04; 2 การศึกษา, N = 462; ความเชื่อมั่นสูง) และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (CRC) (RR 2.19, 95% CI 1.88 ถึง 2.55; การศึกษา 3 เรื่อง N = 1,013; ความเชื่อมั่นสูง) เทียบกับการดูแลตามปกติ นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนอีกด้วย วิธีการแบบ ATCS Plus อาจเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเล็กน้อย (ความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ผลต่อการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนยังไม่แน่นอน ระบบ IVR อาจเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ 6 เดือน (RR 1.36, 95% CI 1.25 ถึง 1.48; 2 การศึกษา, N = 16,915; ความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ไม่ใช่ที่ 9 ถึง 12 เดือน โดยอาจมีประสิทธิผลของ IVR เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย (RR 1.05, 95% CI 0.99, 1.11; 2 การศึกษา, ผู้เข้าร่วมโครงการ 2599 คน; ความเชื่อมั่นปานกลาง) หรือ Unidirectional ATCS ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การแจ้งเตือนการนัดหมายที่ส่งผ่าน IVR หรือ Unidirectional ATCS อาจปรับปรุงอัตราการเข้าร่วมเมื่อเทียบกับไม่มีการโทร (ความเชื่อมั่นต่ำ) สำหรับการจัดการในระยะยาวนั้น การปฏิบัติตามการใช้ยาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้หลักฐานในระดับทั่วไปมากที่สุดในโรคต่างๆ (การศึกษา 25 เรื่อง ไม่มีการรวมข้อมูล) Multimodal ATCS เทียบกับการดูแลตามปกติมีผลที่ขัดแย้งกัน (ในเชิงบวกและความไม่แน่นอน) ต่อการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ATCS Plus อาจช่วยเล็กน้อย (เทียบกับกลุ่มควบคุม ความแน่นอนปานกลาง) หรืออาจ (เทียบกับการดูแลตามปกติ ความแน่นอนปานกลาง) ช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยา แต่อาจมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการยึดมั่นในการทดสอบ (เทียบกับการควบคุม) IVR อาจช่วยให้การรับประทานยาดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (ความเชื่อมั่นปานกลาง) เมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติ IVR อาจช่วยปรับปรุงความร่วมมือในการตรวจและเพิ่มเพียงเล็กน้อยในการใช้ยาถึง 6 เดือน แต่จะมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในช่วงเวลาที่นานขึ้น (ความเชื่อมั่นปานกลาง) Unidirectional ATCS เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อาจให้ผลเพียงเล็กน้อยหรือปรับปรุงความสม่ำเสมอของยาเล็กน้อย (ความเชื่อมั่นต่ำ) หลักฐานชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลยของ ATCS ทุกประเภทต่อผลลัพธ์ทางคลินิก (การควบคุมความดันโลหิต ไขมันในเลือด การควบคุมโรคหอบหืด ความครอบคลุมในการรักษา) ที่เกี่ยวข้องกับความสม่ำเสมอ แต่มีการศึกษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ให้ข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก
ผลลัพธ์ข้างต้นมุ่งเน้นไปที่ขอบเขตที่มีข้อค้นพบทั่วไปมากที่สุดในโรคต่างๆ ในขอบเขตเฉพาะตามโรคนั้น ประสิทธิผลของ ATCS จะแตกต่างกันรวมไปถึงประเภทของวิธีการแบบ ATCS ที่ใช้งาน
Multimodal ATCS อาจลดทั้งความเจ็บปวดจากมะเร็งและความเจ็บปวดเรื้อรัง เช่นเดียวกับภาวะซึมเศร้า (ความเชื่อมั่นปานกลาง) แต่ ATCS ประเภทอื่นๆ มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ATCS อาจมีผลเล็กน้อยต่อผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวิธีการที่ใช้ ATCS มีประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง สุขภาพจิต หรือการเลิกบุหรี่ และไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุผลกระทบในการป้องกันการใช้แอลกอฮอล์/สารเสพติด หรือการจัดการการติดยาที่ผิดกฎหมาย โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เอชไอวี /โรคเอดส์ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ภาวะหยุดหายใจอุดกั้นขณะหลับ ความผิดปกติของไขสันหลังอักเสบ หรือความเครียดทางจิตใจในผู้ดูแล
มีเพียง 4 การทดลอง (3%) ที่รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และไม่ชัดเจนว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวิธีการที่ใช้หรือไม่
แปลโดย นายอนุวัตน์ เพ็งพุฒ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ 17 มิถุนายน 2021