การเพิ่มแคลเซียมเพื่อป้องกันความดันโลหิตสูง

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราต้องการทราบผลของการบริโภคแคลเซียมต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ

ความเป็นมา

ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไต การศึกษาหลายรายการแสดงให้เห็นว่าการบริโภคแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นช่วยลดความดันโลหิตได้แม้ในบุคคลที่มีระดับความดันโลหิตปกติ การเพิ่มปริมาณแคลเซียมยังมีประโยชน์ต่อผลการตั้งครรภ์ ผลที่คิดว่าเกิดจากการลดความดันโลหิตด้วย ความดันโลหิตสูงได้รับการพบว่าุเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับการเสียชีวิต และแม้แต่ความดันโลหิตที่ลดลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และการเสียชีวิตได้

ลักษณะของการศึกษา

เราเลือกการศึกษาที่ประเมินผลของการให้แคลเซียมในอาหาร เช่น การเสริมหรือการเติมในอาหารต่อความดันโลหิตในผู้ที่มีภาวะปกติในทุกช่วงอายุ การค้นหาดำเนินการครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน 2020

ผลการศึกษาที่สำคัญ

การทบทวนวรรณกรรมนี้วิเคราะห์ข้อมูลจาก 20 การทดลอง โดย 18 การทดลอง (ผู้เข้าร่วม 3140 คน) ให้วันที่สำหรับผลของวิธีการ เราพบว่าการบริโภคแคลเซียมที่เพิ่มขึ้นช่วยลดทั้งความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลงได้เล็กน้อย ลดลง1.37 mmHg และลดลง 1.45 mmHg ตามลำดับ ผลนี้สูงขึ้นด้วยปริมาณแคลเซียมที่สูงกว่า 1,000 มก./วัน ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง 1.05 mmHg ด้วยปริมาณแคลเซียม 1,000 ถึง 1500 มก./วัน และ 2.79 mmHg ด้วยปริมาณแคลเซียมเท่ากับหรือมากกว่า 1500 มก./วัน

เราสังเกตเห็นการลดลงของความดันโลหิตในทั้งชายและหญิง และอายุ 11 ถึง 82 ปี แต่การลดลงนั้นมากขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาว ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลง 1.86 mmHg ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี และ 0.97 mmHg ในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

ไม่มีการศึกษาใดรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เราต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อกำหนดปริมาณการเสริมที่เหมาะสมที่สุด และจะมีประสิทธิผลและปลอดภัยกว่าในฐานะส่วนหนึ่งของอาหารหรือเป็นอาหารเสริม

คุณภาพของหลักฐาน

เราพบหลักฐานคุณภาพสูงสำหรับความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกทั้งในผู้ชายและผู้หญิง คุณภาพของหลักฐานยังสูงสำหรับผู้เข้าร่วมอายุ 35 ปีขึ้นไปและปานกลางสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า

คุณภาพของหลักฐานสูงสำหรับปริมาณแคลเซียม 1000 ถึง 1500 มก./วัน และอยู่ในระดับปานกลางสำหรับขนาดยาที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่า

5 จากทั้งหมด 18 การทดลองได้รับทุนสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

การบริโภคแคลเซียมเพิ่มขึ้นช่วยลดทั้งความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกเล็กน้อยในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนหนุ่มสาว ซึ่งบ่งชี้ถึงบทบาทในการป้องกันความดันโลหิตสูง ผลในทั้งกลุ่มย่อยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหลายกลุ่มและผลการตอบสนองต่อขนาดของยาที่เป็นไปได้เสริมข้อสรุปนี้ แม้แต่การลดความดันโลหิตเพียงเล็กน้อยก็อาจมีนัยสำคัญต่อสุขภาพในการลดโรคหลอดเลือด ความดันโลหิตซิสโตลิกที่ลดลง 2 มม.ปรอท คาดการณ์ว่าจะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองลดลงประมาณ 10% และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดลดลงประมาณ 7%

มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองทางคลินิกที่มีขนาดเพียงพอ ที่สุ่มตัวอย่างคนหนุ่มสาว การวิเคราะห์กลุ่มย่อยควรเกี่ยวข้องกับการบริโภคแคลเซียมพื้นฐาน อายุ เพศ ความดันโลหิตพื้นฐาน และดัชนีมวลกาย เรายังต้องการการประเมินผลข้างเคียง ปริมาณที่เหมาะสม และกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการปรับปรุงการบริโภคแคลเซียม

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคไต การศึกษาหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ผกผันระหว่างการบริโภคแคลเซียมและความดันโลหิต เนื่องจากความดันโลหิตลดลงเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดลดลงอย่างรวดเร็วแม้ในบุคคลที่มีความดันโลหิตในช่วงปกติ นี่เป็นการปรับปรุงครั้งแรกของการทบทวนวรรณกรรมเพื่อประเมินผลของการเสริมแคลเซียมในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติเพื่อเป็นมาตรการป้องกันสุขภาพ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการเสริมแคลเซียมเทียบกับยาหลอกหรือกลุ่มควบคุมในการลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและสำหรับการป้องกันความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ

วิธีการสืบค้น: 

ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลความดันโลหิตสูงของ Cochrane Hypertension Information ได้ค้นหาฐานข้อมูลต่อไปนี้สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมถึงเดือนกันยายน 2020: Cochrane Hypertension Specialized Register, CENTRAL (2020, Issue 9), Ovid MEDLINE, Ovid Embase, WHO International Clinical Trials Registry Platform และ US National Institutes of Health Ongoing Trials Register, ClinicalTrials.gov นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ติดต่อคณะผู้วิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหางานวิจัยทีตีพิมพ์และงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์เพิ่มเติม การค้นหาไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เราเลือกการทดลองที่สุ่มคนความดันปกติให้ได้รับแคลเซียมในอาหาร เช่น การเสริม หรือเติมในอาหาร เทียบกับยาหลอกหรือกลุ่มควบคุม เราไม่รวม quasi-randomised trials ผลลัพธ์หลักคือความดันโลหิตสูง (กำหนดเป็นความดันโลหิต ≥ 140/90 mmHg) และความดันโลหิต

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์การทบทวนวรรณกรรม 2 คน ได้คัดเลือกการทดลองเพื่อรวบรวมนำเข้า คัดลอกข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของอคติ อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราใช้แนวทาง GRADE เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐาน

ผลการวิจัย: 

การค้นหาที่ปรับปรุงในปี 2020 พบ 4 การทดลองใหม่ เรารวมทั้งหมด 20 การทดลองโดยมีผู้เข้าร่วม 3512 คน แต่เรารวมเพียง 18 การทดลองสำหรับ meta-analysis ที่มีผู้เข้าร่วม 3140 คน ไม่มีการศึกษาใดที่รายงานว่าความดันโลหิตสูงเป็นผลลัพธ์แบบ dichotomous ผลต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกคือ: ความแตกต่างเฉลี่ย (MD) -1.37 mmHg, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) -2.08, -0.66; ผู้เข้าร่วม 3140 คน; 18 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง และ MD -1.45, 95% CI -2.23, -0.67; ผู้เข้าร่วม 3039 คน; 17 การศึกษา; I 2 = 45% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง ตามลำดับ ผลต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี คือ: MD-1.86, 95% CI -3.45, -0.27; ผู้เข้าร่วม 452 คน; 8 การศึกษา; I 2 = 19% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง MD -2.50, 95% CI -4.22, -0.79; ผู้เข้าร่วม 351 คน; 7 การศึกษา ; I 2 = 54% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง ตามลำดับ ผลต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปคือ: MD -0.97, 95% CI -1.83, -0.10; ผู้เข้าร่วม 2688 คน; 10 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง MD -0.59, 95% CI -1.13, -0.06; ผู้เข้าร่วม 2688 คน; 10 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง ตามลำดับ ผลต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกสำหรับสตรีคือ: MD -1.25, 95% CI -2.53, 0.03; ผู้เข้าร่วม 2458; 8 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง MD -1.04, 95% CI -1.86, -0.22; ผู้เข้าร่วม 1915; 8 การศึกษา; I 2 = 4% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง ตามลำดับ ผลต่อความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกสำหรับผู้ชายคือ MD -2.14, 95% CI -3.71, -0.59; ผู้เข้าร่วม 507 คน; 5 การศึกษา; I 2 = 8% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง MD-1.99, 95% CI -3.25, -0.74; ผู้เข้าร่วม 507 คน; 5 การศึกษา; I 2 = 41% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง ตามลำดับ ผลที่ได้มีความสอดคล้องกันในทั้งสองเพศโดยไม่คำนึงถึงการบริโภคแคลเซียมพื้นฐาน

ผลต่อความดันโลหิตซิสโตลิกคือ: MD -0.02, 95% CI -2.23, 2.20; ผู้เข้าร่วม 302 คน; 3 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง สำหรับขนาดน้อยกว่า 1,000 มก. MD -1.05, 95% CI -1.91, -0.19; ผู้เข้าร่วม 2488 คน; 9 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง สำหรับขนาดยา 1,000 ถึง 1500 มก. และ MD -2.79, 95% CI -4.71, 0.86; ผู้เข้าร่วม 350 คน; 7 การศึกษา; I 2 = 0% หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง สำหรับขนาดยามากกว่า 1500 มก. ผลต่อความดันโลหิตไดแอสโตลิกคือ: MD -0.41, 95% CI -2.07, 1.25; ผู้เข้าร่วม 201 คน; 2 การศึกษา; I 2 = 0, หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง; MD -2.03, 95% CI -3.44, -0.62 ; ผู้เข้าร่วม 1,017 คน; 8 การศึกษา; และ MD -1.35, 95% CI -2.75, -0.05; ผู้เข้าร่วม 1821 คน; 8 การศึกษา; I 2 = 51% หลักฐานความเชื่อมั่นสูง ตามลำดับ

ไม่มีการศึกษาใดรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

บันทึกการแปล: 

แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 14 มกราคม 2022

Tools
Information