การออกกำลังกายไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ใหญ่ทุกคนควรมีเป้าหมายออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งเป็นประโยชน์ทางสังคม อารมณ์และสุขภาพกาย ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ไม่มีกิจกรรมในระดับที่แนะนำ เราดูการศึกษาที่มีการเปรียบเทียบวิธีในการส่งเสริมการออกกำลังกาย 2 แบบ (แบบตัวต่อตัวกับมืออาชีพและการใช้เทคโนโลยีทางไกล) เพื่อตัดสินใจว่าวิธีไหนดีกว่า เราทราบจากงานอื่น ๆ ว่าทั้งสองแบบประสบความสำเร็จ จากการทบทวนวรรณกรรมทางการแพทย์ เราพบการศึกษาเดียวสามารถตอบคำถามของเราศึกษากับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 225 คน ดังนั้น เรายังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการส่งเสริมการออกกำลังกายและการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ - ทางเดินหายใจ นอกจากนี้ เรายังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และวิธีการ
มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะประเมินประสิทธิภาพการส่งเสริมการออกกำลังกายแบบตัวต่อตัวกับแบบทางไกลและ web 2.0
การส่งเสริมการออกกำลังกาย (PA) แบบตัวต่อตัว กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายแบบทางไกลและ web 2.0 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เราไม่แน่ใจว่าวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในระยะยาว
เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการแทรกแซงแบบตัวต่อตัวกับแบบทางไกลและ web 2.0 สำหรับส่งเสริมการออกกำลังกาย (PA) ในผู้ใหญ่ที่อยู่อาศัยในชุมชน (อายุ 16 ปีขึ้นไป)
เราค้นหา CENTRAL, MEDLINE, EMBASE, CINAHL และฐานข้อมูลอื่น ๆ (ตั้งแต่วันแรกสุดจนถึงเดือนตุลาคม 2012) ได้ตรวจสอบจากเอกสารอ้างอิงของเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา
การทดลองแบบสุ่มที่เปรียบเทียบการส่งเสริมการออกกำลังกาย (PA) แบบตัวต่อตัวกับแบบทางไกลและ web 2.0 สำหรับผู้ใหญ่ที่อยู่อาศัยในชุมชน เรารวมการศึกษาที่มีการเปรียบเทียบการส่งเสริมการออกกำลังกาย (PA) แบบตัวต่อตัวกับแบบทางไกลและ web 2.0 เป็นหลัก เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อเวลาผ่านไปการศึกษาที่รวมไว้มีการติดตามอย่างน้อย 12 เดือนนับตั้งแต่เริ่มการแทรกแซงจนถึงผลลัพธ์สุดท้าย เราแยกการศึกษาที่มผู้เข้าร่วมไม่ติดตามการศึกษามากกว่า 20% หากพวกเขาไม่ได้ใช้การวิเคราะห์ intention-to-treat
ผู้ทบทวนสองคนประเมินคุณภาพของการศึกษาและดึงข้อมูล เอกสารที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษได้รับการตรวจสอบด้วยความช่วยเหลือจากล่ามซึ่งเป็นนักระบาดวิทยา ได้ติดต่อผู้วิจัยเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น นำเสนอผลการศึกษาสำหรับตัวแปรต่อเนื่องในการวัด cardio-respiratory fitness ด้วยค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (SMD) และ ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CIs)
มีการศึกษา 1 เรื่องมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ 225 คน การศึกษาครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้สูง ตรวจสอบกับเกณฑ์การรวมจากการเข้าชม 27,299 ครั้ง บทความฉบับเต็ม 193 ฉบับ อย่างไรก็ตาม มีเพียงบทความนเดียวที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก การศึกษาครั้งนี้รายงานผลของการแทรกแซงของ PA ต่อการออกกำลังกายแบบ cardio-respiratory fitness ไม่มีรายงานข้อมูลสำหรับ PA, คุณภาพชีวิตหรือความคุ้มทุน ความแตกต่างระหว่างแบบทางไกลและ web 2.0ก ับแบบตัวต่อตัวไม่แตกต่างกัน (SMD -0.02; 95% CI -0.30 ถึง 0.26; หลักฐานคุณภาพสูง) ความเสี่ยงของอคติในการศึกษาต่ำและไม่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
แปลโดย เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2020