ความเป็นมา: มะเร็งปากมดลูก (มะเร็งที่คอมดลูก) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4 ของสตรีทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยที่ตรวจพบรายใหม่ประมาณ 569,847 ราย และเสียชีวิต 311,365 รายทุกปี ในประเทศกำลังพัฒนา (รายได้ต่ำ) พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการเข้าถึงโปรแกรมการตรวจคัดกรองปากมดลูกมีจำกัด มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้และสตรีมักต้องได้รับการรักษาเพื่อควบคุมอาการที่น่าวิตก (อาการซีด) เช่น เลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกอาจรุนแรงพอที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิตในสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม การจัดการกับเลือดออกทางช่องคลอดมักเป็นเรื่องท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่การเข้าถึงรังสีรักษามีอย่างจำกัด ตัวเลือกสำหรับการรักษาแบบประคับประคองสำหรับภาวะเลือดออกทางช่องคลอดอย่างรุนแรง ได้แก่ การรักษาด้วยรังสีวิทยา (การใช้รังสีเอกซ์เพื่อเป็นแนวทางในการสอด 'ปลั๊ก' เข้าไปในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็ง) หรือการทำ vaginal packing (โดยที่ใส่ผ้าก๊อซเข้าไปในช่องคลอดเพื่อดูดซับเลือดและใช้แรงกดบริเวณปากมดลูก) แม้ว่าสิ่งเหล่านี้มักจะได้ผลเพียงบางส่วนและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ กาารทำ vaginal packs สามารถชุบด้วยฟอร์มาลินซึ่งเป็นสารเคมีกันเสีย ตัวเลือกอื่น ๆ ในการรักษาภาวะเลือดออกทางช่องคลอดอย่างรุนแรง ได้แก่ tranexamic acid (ยาที่ช่วยลดเลือดออกที่สามารถให้ทางปากหรือโดยการฉีด) และการรักษาด้วยรังสี (การใช้แสงเอ็กซเรย์พลังงานสูง)
คำถามการทบทวนวรรณกรรม:เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ tranexamic acid, vaginal packing (มีหรือไม่มีการชุบฟอร์มาลีน) การรักษาทางรังสีวิทยา หรือวิธีการรักษาอื่นๆ เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยรังสีเพื่อรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอดแบบประคับประคองในสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
การค้นพบหลัก: การค้นหาได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยถึงเดือนมีนาคม 2018 เราไม่พบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (การศึกษาทางคลินิกโดยสุ่มให้คนเข้าร่วมกลุ่มบำบัดหนึ่งในสองกลุ่มขึ้นไป) ดังนั้นจึงไม่มีหลักฐานว่า tranexamic acid, vaginal packing (มีหรือไม่มีการชุบฟอร์มาลิน) การรักษาด้วยเทคนิคทางรังสีวิทยาหรือการรักษาอื่นๆ มีประสิทธิภาพหรือปลอดภัยพอๆ กับการฉายแสงเพื่อควบคุมเลือดออกทางช่องคลอดในมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามแบบประคับประคอง จำเป็นต้องมีการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมหรือการศึกษาเปรียบเทียบที่ไม่มีการสุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพดีเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของการรักษาเหล่านี้เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยรังสีในแง่ของการควบคุมอาการคุณภาพชีวิต และอาการข้างเคียง
ความแน่นอนของหลักฐาน: ไม่มีการศึกษาใดที่เป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้า ดังนั้นจึงสรุปว่าไม่มีหลักฐานที่แน่นอน
ผู้ทบทวนวรรณกรรมไม่พบการศึกษาใหม่ตั้งแต่การทบทวนวรรณกรรมครั้งก่อน ไม่มีหลักฐานจากการทดลองที่ควบคุมเพื่อสนับสนุนหรือหักล้างการใช้การรักษาใดๆ ที่เสนอเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยรังสีรักษา ดังนั้นทางเลือกของการรักษาจะขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เทคนิคการฉายรังสีในการจัดการภาวะเลือดออกทางช่องคลอดไม่พร้อมในบางที่ที่เครื่องมือไม่เอื้ออำนวย ซึ่งพบว่ามีกรณีของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบนี้ระบุถึงความจำเป็นในการทดลองแบบสุ่มที่มีการควบคุมเพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษาแบบประคับประคองสำหรับอาการเลือดออกทางช่องคลอดในสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
นี่คือการปรับปรุงของการทบทวนวรรณกรรมที่เผยแพร่ในฉบับที่ 5, ปี 2015
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 4 ของสตรีทั่วโลกโดยผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 569,847 ราย และเสียชีวิต 311,365 รายต่อปี อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์และขั้นตอนในการวินิจฉัยแตกต่างกันอย่างมากระหว่างพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของโปรแกรมการคัดกรองประชากรที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ในไนจีเรียโรคระยะลุกลามในการนำเสนอเป็นเรื่องปกติ (86% ถึง 89.3%) ในขณะที่ในสหราชอาณาจักร มีสตรีเพียง 21.9% ที่เข้ารับการรักษาด้วย มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2 (International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) stage II + disease) สตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามมักต้องได้รับการบรรเทาอาการที่น่าวิตกเช่นเลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกทางช่องคลอดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตในโรคระยะลุกลาม โดยมีอุบัติการณ์ตั้งแต่ 0.7% ถึง 100% การมีเลือดออกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในทันทีซึ่งพบได้ 6% ของสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก และการจัดการเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทาย
ดังนั้นการมีเลือดออกทางช่องคลอดจึงยังคงเป็นผลมาจากมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบที่กล่าวถึงการรักษาแบบประคับประคองในการควบคุมเลือดออกทางช่องคลอดที่เกิดจากมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม จำเป็นต้องมีการประเมินอย่างเป็นระบบของการการรักษาแบบประคับประคองที่มีอยู่เพื่อให้ข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ
เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ tranexamic acid, vaginal packing (มีหรือไม่มีการชุบฟอร์มาลีน) การรักษาทางรังสีวิทยา หรือวิธีการรักษาอื่นๆ เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยรังสีเพื่อรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอดแบบประคับประคองในสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
การค้นหาข้อมูลต้นฉบับถูกทบทวนในวันที่ 23 มีนาคม 2015 และการค้นหาในภายหลังสำหรับการปรับปรุงนี้ทำขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2018 เราค้นหาจาก Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2018, Issue 3) ใน Cochrane Library; MEDLINE ผ่าน Ovid ถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม 2018 และ Embase ผ่าน Ovid ถึงสัปดาห์ที่ 12 มีนาคม 2018 และยังสืบค้นการศึกษาทางคลินิคที่ลงทะเบียนไว้ บทคัดย่อจากงานประชุมวิชาการ และเอกสารอ้างอิงของบทความ เราค้นหารายการอ้างอิงของการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
เราค้นหาการศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มและไม่สุ่มตัวอย่างที่ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ tranexamic acid การบรรจุเข้าไปในช่องคลอด (มีหรือไม่มีการชุบฟอร์มาลีน) ของการรักษาทางรังสีวิทยาหรือวิธีการรักษาอื่นๆ เปรียบเทียบกับเทคนิคการฉายรังสีสำหรับการรักษาภาวะเลือดออกทางช่องคลอดแบบประคับประคองในสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม (มีหรือไม่มีการแพร่กระจาย) โดยไม่คำนึงถึงสถานะการตีพิมพ์ ปีที่พิมพ์ หรือภาษา ในการทบทวนนี้
ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนประเมินว่างานวิจัยใดที่เข้าได้กับเกณฑ์การคัดเข้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน เราไม่พบการศึกษาที่เข้ากับเกณฑ์การคัดเข้า ดังนั้นจึงไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลใด ๆ
กลยุทธ์การค้นหาระบุการอ้างอิงที่ไม่ซ้ำกัน 1522 รายการ ซึ่งเราคัดออกไป 1330 ตามชื่อเรื่องและบทคัดย่อ เราเรียกดูบทความทั้งหมด 22 บทความ ที่เหลือ แต่ไม่มีบทความใดที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า เราระบุเฉพาะข้อมูลเชิงสังเกตจากการศึกษากลุ่มเดียว (single-arm studies) ของสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยการบรรจุฟอร์มาลินเข้าไปในช่องคลอด การรักษาทางรังสีวิทยาหรือเทคนิคการฉายรังสี สำหรับการควบคุมเลือดออกทางช่องคลอดแบบประคับประคองในสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก
แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว วันที่ 13 พฤษภาคม 2021