ที่มาและความสำคัญของปัญหา
อย่างน้อยหนึ่งในสามของผู้อยู่อาศัยในชุมชนมีอายุมากกว่า 65 ปี มีการหกล้มในแต่ละปี การออกกำลังกายเพื่อเป้าหมายเรื่องการทรงตัว ท่าทางการเดิน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้รับการค้นพบก่อนหน้านี้ว่าช่วยป้องกันการหกล้มในกลุ่มคนเหล่านี้
วัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้
เพื่อประเมินผลกระทบ (ประโยชน์และอันตราย) ของการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน
ช่วงเวลาที่สืบค้น
เราสืบค้นรายงานเอกสารการดูแลสุขภาพที่เป็น randomised controlled trials ที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนนี้จนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2018 ในการศึกษาที่ผู้เข้าร่วมถูกสุ่มเข้ากลุ่มเพื่อรับสิ่งแทรกแซงหนึ่งอย่างจากทั้งหมดสองอย่างหรือมากกว่าที่เปรียบเทียบกัน การออกจากกลุ่มที่ถูดจัดสรรให้อย่างสุ่มช่วยให้มั่นใจว่าระชากรผู้เข้าร่วมมีความคล้ายคลึงในกลุ่ม
ลักษณะของการศึกษา
การทบทวนนี้รวบรวม randomised controlled trials 108 ฉบับ มีผู้เข้าร่วม 23,407 คน ดำเนินการใน 25 ประเทศ โดยเฉลี่ย ผู้เข้าร่วมอายุ 76 ปี และ 77% เป็นสตรี
ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
การทดลองส่วนใหญ่มีความไม่ชัดเจนหรือมีความเสี่ยงสูงต่อการมีอคติ ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการปกปิดผู้เข้าร่วมการทดลองและบุคลากรจากการทราบสิ่งแทรกแซงที่ได้รับ สิ่งนี้อาจมีอิทธิพลต่อการดำเนินการทดลองและการประเมินผลลัพธ์ มีความเชื่อมั่นของหลักฐานสูงในการแสดงให้เห็นถึงผลกระทบโดยรวมของการออกกำลังกายต่อการหกล้ม ความเสี่ยงของการกระดูกหัก การเข้ารักษาในโรงพยาบาล การดูแลด้านการแพทย์ และเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ ไม่มีการรายงานที่ดี หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำถึงต่ำมาก สิ่งนี้นำไปสู่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อสรุปจากหลักฐานสำหรับผลลัพธ์เหล่านี้
ผลการศึกษาที่สำคัญ
การทดลองแปดสิบเอ็ดฉบับเปรียบเทียบการออกกำลังกาย (ทุกประเภท) กับ กลุ่มคุบควบคุมซึ่งได้รับสิ่งแทรกแซงที่ไม่คิดว่าจะลดการหกล้มในผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน (รวมถึงผู้ที่ยังไม่ได้ออกจากโรงพยาบาลด้วย) การออกกำลังกายช่วยลดจำนวนการหกล้มเมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณหนึ่งในสี่ (ลดลง 23%) จากตัวอย่างหนึ่ง ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่าหากมีการหกล้ม 850 ครั้ง ใน 1,000 คน เมื่อติดตามตลอดระยะเวลาหนึ่งปี การออกกำลังกายช่วยลดการหกล้มลง 195 ครั้ง การออกกำลังกายยังช่วยลดจำนวนคนที่หกล้มหนึ่งครั้งหรือมากกว่า (จำนวนผู้ที่หกล้ม) ได้ประมาณหนึ่งในหก (15%) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่าหากมีคนหกล้ม 480 คน ใน 1,000 คน เมื่อติดตามตลอดระยะเวลาหนึ่งปี การออกกำลังกายช่วยลดจำนวนคนหกล้มได้ 72 คน ผลกระทบจากการหกล้มนั้นคล้ายคลึงกันไม่ว่าการทดลองจะเลือกคนที่มีความเสี่ยงของการล้มเพิ่มขึ้นหรือไม่
เราพบว่าการออกกำลังกายที่เป็น Balance exercise และการฝึกแบบ Functional training ช่วยลดการหกล้มเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โปรแกรมที่มีการออกกำลังกายหลายประเภท (โดยทั่วไปมักจะมี balance exercise, functional exercise ร่วมกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน(resistance exercise)) อาจช่วยลดการหกล้ม และ Tai Chi อาจช่วยลดการหกล้มได้เช่นกัน เราไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาผลกระทบของโปรแกรมการออกกำลังกายซึ่งถูกจำแนกออกเป็น การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน การเต้น โปรแกรมการเดิน เราไม่พบหลักฐานใด ๆ ในการพิจารณาผลกระทบของโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่น (flexibility) การออกกำลังกายฝึกความอดทน (endurance exercise)
มีหลักฐานน้อยมากสำหรับผลลัพธ์ที่ไม่ใช่การหกล้ม การออกกำลังกายอาจลดจำนวนผู้ที่กระดูกหักได้มากกว่าหนึ่งในสี่ (27%) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันเรื่องนี้ การออกกำลังกายอาจลดความเสี่ยงของการหกล้มที่รุนแรงถึงขั้นต้องการการดูแลด้านการแพทย์ เราไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาผลกระทบของการออกกำลังกายต่อความเสี่ยงของการหกล้มจนต้องเข้าโรงพยาบาล การออกกำลังกายอาจสร้างความแตกต่างด้านสุขภาพเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต หลักฐานสำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายมี จำกัดเช่นกัน หากมีการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มักเป็นเหตุการณ์ไม่ร้ายแรง เป็นตามธรรมชาติของกล้ามเนื้อและกระดูก การทดลองหนึ่งรายงานการแตกหักของกระดูกเชิงกรานและไส้เลื่อน
โปรแกรมการออกกำลังกายลดอัตราการหกล้มและลดจำนวนคนที่หกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน (หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายดังกล่าวไม่ชัดเจนสำหรับผลลัพธ์ที่ไม่ใช่การหกล้มอื่น ๆ ซึ่งรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ว่าไม่ร้ายแรง
โปรแกรมการออกกำลังกายที่ลดการหกล้มส่วนใหญ่รวมถึง balance exercises และ functional exercises ในขณะที่โปรแกรมที่อาจลดการหกล้ม ได้แก่ การออกกำลังกายหลายประเภท (โดยทั่วไปคือ balance exercises และ functional exercises ร่วมกับ resistance exercises) Tai Chi อาจป้องกันการหกล้มได้เช่นกัน แต่เราไม่แน่ใจในผลของ resistance exercise (โดยไม่มี balance exercise และ functional exercise) การเต้น การเดิน ต่ออัตราการหกล้ม
อย่างน้อยหนึ่งในสามของผู้อยู่อาศัยในชุมชนมีอายุมากกว่า 65 ปี มีการหกล้มในแต่ละปี การออกกำลังกายเพื่อเป้าหมายเรื่องการทรงตัว ท่าทางการเดิน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้รับการค้นพบว่าช่วยป้องกันการหกล้มในกลุ่มคนเหล่านี้ การสังเคราะห์หลักฐานที่ทันสมัยมีความสำคัญเนื่องจากมีผลกระทบระยะยาวที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการล้มและการบาดเจ็บจากการล้ม
เพื่อประเมินผลกระทบ (ประโยชน์และอันตราย) ของการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน
เราสืบค้นจาก CENTRAL, MEDLINE, Embase, ฐานข้อมูลอื่นๆอีกสามฐาน และสอง trial registers จนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2018 ร่วมกับการตรวจสอบรายการเอกสารอ้างอิง และติดต่อผู้ประพันธ์การศึกษานั้นๆ เพื่อระบุการศึกษาเพิ่มเติม
เรารวม randomised controlled trials (RCTs) ที่ประเมินผลกระทบของการออกกำลังกายทุกรูปแบบ เป็นสิ่งแทรกแซงต่อการหกล้มในคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชน เราคัดการทดลองที่มีเงื่อนไขเฉพาะออก เช่นโรคหลอดเลือดสมอง
เราใช้ระเบียบวิธีการวิจัยตามมาตรฐานของ Cochrane ผลลัพธ์หลักของเราคือ อัตราการหกล้ม
เรารวบรวม RCTs 108 ฉบับ มีผู้เข้าร่วม 23,407 คน ที่อาศัยในชุมชน ใน 25 ประเทศ มี Cluster-RCTs จำนวนเก้าฉบับ โดยเฉลี่ย ผู้เข้าร่วมอายุ 76 ปี และ 77% เป็นสตรี การทดลองส่วนใหญ่มีความไม่ชัดเจนหรือมีความเสี่ยงสูงต่อการมีอคติหนึ่งประเด็นขึ้นไป ผลลัพธ์จากการทดลองสี่ฉบับที่มุ่งเน้นไปที่คนที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลและจากการเปรียบเทียบการออกกำลังกายที่แตกต่างกันไม่ได้อธิบายไว้ที่นี่
การออกกำลังกาย (ทุกประเภท) เทียบกับ กลุ่มควบคุม
การทดลองแปดสิบเอ็ดฉบับ (ผู้เข้าร่วม 19,684 คน) เปรียบเทียบการออกกำลังกาย (ทุกประเภท) กับกลุ่มควบคุม (ไม่คิดว่าจะลดการหกล้ม) การออกกำลังกายลดอัตราการหกล้มได้ประมาณ 23% (rate ratio (RaR) 0.77, 95% confidence interval (CI) 0.71 ถึง 0.83; ผู้เข้าร่วม 12,981 คน, การศึกษา 59 ฉบับ หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) จากการอธิบายความเสี่ยงของการหกล้ม 850 ครั้ง ใน 1000 คน ติดตามตลอดระยะเวลาหนึ่งปี (ข้อมูลอิงตามข้อมูลกลุ่มควบคุมจากการศึกษา 59 ฉบับ) ซึ่งเท่ากับ การหกล้ม 195 ครั้ง (95% CI 144 ถึง 246) ที่ลดลงในกลุ่มออกกำลังกาย การออกกำลังกายยังช่วยลดจำนวนผู้ที่หกล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้ประมาณ 15% (risk ratio (RR) 0.85, 95% CI 0.81 ถึง 0.89; ผู้เข้าร่วม 13,518 คน, การศึกษา 63 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) จากการอธิบายความเสี่ยงของคนที่หกล้ม 480 คน ใน 1000 คน ติดตามตลอดระยะเวลาหนึ่งปี (ข้อมูลอิงตามข้อมูลกลุ่มควบคุมจากการศึกษา 63 ฉบับ) ซึ่งเท่ากับ ผู้ที่หกล้ม 72 คน (95% CI 52 ถึง 91) ที่ลดลงในกลุ่มออกกำลังกาย การวิเคราะห์กลุ่มย่อยไม่พบหลักฐานของความแตกต่างที่มีผลต่อผลลัพธ์เรื่องการหกล้ม แบ่งกลุ่มย่อยตามการทดลองที่เลือกผู้เข้าร่วมที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการหกล้มหรือไม่
ผลการวิจัยสำหรับผลลัพธ์อื่น ๆ มีความเชื่อมั่นน้อย สะท้อนให้เห็นจากจำนวนการศึกษาและผู้เข้าร่วมที่น้อย การออกกำลังกายช่วยลดจำนวนคนที่หกล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่า-ที่เกี่ยวข้องกับกระดูกหัก (RR 0.73, 95% CI 0.56 ถึง 0.95; มีผู้เข้าร่วม 4047 คน, การศึกษา 10 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) และจำนวนของผู้ที่หกล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่าที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์ (RR 0.61, 95% CI 0.47 ถึง 0.79; มีผู้เข้าร่วม 1019 คน, การศึกษา 5 ฉบับ; การศึกษามีความเชื่อมั่นต่ำ) ผลของการออกกำลังกายต่อจำนวนคนที่หกล้มหนึ่งครั้งหรือมากกว่าที่ถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลนั้นไม่ชัดเจน (RR 0.78, 95% CI 0.51 ถึง 1.18; มีผู้เข้าร่วม 1705 คน, การศึกษา 2 ฉบับ, การศึกษามีความเชื่อมั่นต่ำ) การออกกำลังกายอาจสร้างความแตกต่างที่สำคัญเล็กน้อยในด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต: การเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ที่ถูกรวม (pooled results) (standardised mean difference (SMD) -0.03, 95% CI -0.10 ถึง 0.04; มีผู้เข้าร่วม 3172 คน, มีการศึกษา 15 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) คะแนน EQ-5D และ FS-36 แสดงให้เห็นว่า 95% CIs นั้นน้อยกว่าค่าความแตกต่างที่สำคัญเล็กน้อยสำหรับเครื่องมือวัดทั้งสอง
เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ถูกรายงานในระดับหนึ่งในการศึกษา 27 ฉบับ (มีผู้เข้าร่วม 6019 คน) แต่ได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดทั้งในกลุ่มการออกกำลังกายและกลุ่มควบคุมในการทดลองเพียงฉบับเดียว การทดลองสิบสี่ฉบับรายงานว่าไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ นอกเหนือจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์สองเหตุการณ์ที่รุนแรง (กระดูกเชิงกรานหักหนึ่งรายและการผ่าตัดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบหนึ่งราย) ซึ่งมีรายงานในการทดลองหนึ่งฉบับ ส่วนที่เหลือเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ไม่ร้ายแรงซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะธรรมชาติของกล้ามเนื้อและกระดูก ค่ามัธยฐานของเหตุการณ์สามเหตุการณ์ (range 1 ถึง 26) ในกลุ่มออกกำลังกาย
ประเภทการออกกำลังกายที่แตกต่างกันเทียบกับกลุ่มควบคุม
รูปแบบที่แตกต่างกันของการออกกำลังกายมีผลกระทบต่อการหกล้ม (ทดสอบความแตกต่างของกลุ่มย่อย, อัตราการหกล้ม) P = 0.004, I² = 71%). เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า balance exercises และ functional exercises ลดอัตราการหกล้มได้ 24% (RaR 0.76, 95% CI 0.70 ถึง 0.81; มีผู้เข้าร่วม 7920 คน, การศึกษา 39 ฉบับ;หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) และลดจำนวนผู้ที่หกล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้ 13% (RR 0.87, 95% CI 0.82 ถึง 0.91; มีผู้เข้าร่วม 8288 คน, การศึกษา 37 ฉบับ; ความเชื่อมั่นของหลักฐานสูง) การออกกำลังกายหลายประเภท (โดยทั่วไปมักจะมี balance exercises และ, functional exercise plus resistance exercise) อาจจะลดอัตราการหกล้มได้ 34% (RaR 0.66, 95% CI 0.50 ถึง 0.88; มีผู้เข้าร่วม 1374 คน, การศึกษา 11 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) และลดจำนวนผู้ที่หกล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้ 22% (RR 0.78, 95% CI 0.64 ถึง 0.96; มีผู้เข้าร่วม 1623 คน, การศึกษา 17 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) Tai Chi อาจลดอัตราการหกล้มได้ 19% (RaR 0.81, 95% CI 0.67 ถึง 0.99; มีผู้เข้าร่วม 2655 คน, การศึกษา 7 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) เช่นเดียวกับการลดจำนวนผู้ที่หกล้มได้ 20% (RR 0.80, 95% CI 0.70 ถึง 0.91; มีผู้เข้าร่วม 2677 คน, การศึกษา 8 ฉบับ; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) เราไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลกระทบของโปรแกรมแบบ resistance training, หรือการเต้น หรือโปรแกรมการเดินโดยส่วนใหญ่ ต่ออัตราการหกล้มและจำนวนคนที่หกล้ม ไม่มีการทดลองที่เปรียบเทียบ flexibility exercises หรือ endurance exercise เทียบกับกลุ่มควบคุม
ผู้แปล นางสาวน้ำเพชร จำปาทอง Cochrane Thailand แปลเมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม 2019