คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
เราต้องการทราบว่า indomethacin มีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่มีการรักษาหรือยาหลอก (สารที่ไม่มีผลการรักษา) ในการรักษา patent ductus arteriosus (PDA) ที่มีอาการในทารกคลอดก่อนกำหนด
ความเป็นมา
PDA เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อย PDA เป็นช่องทางเดินของหลอดเลือดที่เปิดอยู่ระหว่างปอดและหัวใจ ซึ่งโดยปกติจะปิดไม่นานหลังคลอด ในทารกคลอดก่อนกำหนด PDA ยังคงเปิดอยู่และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามชีวิตได้ เราต้องการตรวจสอบว่ายาที่ใช้กันทั่วไปในการปิด PDA, indomethacin ดีกว่าหรือแย่กว่าไม่มีการรักษาหรือยาหลอกสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอาการจาก PDA
ลักษณะการศึกษา
เราค้นหาฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (การศึกษาทางคลินิกโดยสุ่มให้คนเข้าร่วมกลุ่มการรักษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสองกลุ่มขึ้นไป) ในทารกคลอดก่อนกำหนด (เกิดตอนอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์) หรือทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย (น้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม) ที่มี PDA ที่มีอาการ ได้รับการวินิจฉัยโดยการรวมกันของลักษณะทางคลินิกเฉพาะและ / หรืออัลตราซาวนด์ของหัวใจ การศึกษาที่รวมไว้เปรียบเทียบ indomethacin กับการไม่รักษาหรือยาหลอก ผู้ทบทวนสืบค้นการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์จนถึง 31 กรกฎาคม 2020
ผลลัพธ์ที่สำคัญ
การทบทวนการทดลองทางคลินิก 14 รายการ (ทารก 880 คน) พบว่า indomethacin มีประสิทธผลมากในการปิด PDA ช่วยลดความเสี่ยงของการเปิด PDA ที่ 1 สัปดาห์ถึง 70% เมื่อเทียบกับการไม่ได้รับการรักษาหรือยาหลอก จากการศึกษาทั้งหมด 14 รายการมีรายงานการเสียชีวิต 8 ครั้งซึ่งไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม มีการศึกษาเพียง 1 รายการที่รายงานจำนวนทารกที่ต้องการออกซิเจนที่ 28 วันของชีวิตและมีเพียงการศึกษา 1 รายการที่รายงานจำนวนทารกที่ใช้ออกซิเจนเมื่ออาย 36 สัปดาห์ุหลังประจำเดือน (การตั้งครรภ์กี่สัปดาห์บวกกับระยะเวลาที่ทารกมีชีวิต) ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผลลัพธ์เหล่านี้ การศึกษาทั้ง 2 รายการไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ที่ได้รับ indomethacin หรือไม่ได้รับการรักษาหรือยาหลอก ผลข้างเคียงของยาหรือผลข้างเคียงอื่น ๆ (เช่นเลือดออกในกระเพาะอาหาร การบาดเจ็บที่ไต และการติดเชื้อในลำไส้ / การขาดเลือดที่เรียกว่า necrotizing enterocolitis) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม
ความเชื่อมั่นของหลักฐาน
ตาม GRADE (วิธีที่ใช้ในการให้คะแนนความเชื่อมั่นของการทดลองที่สนับสนุนแต่ละผลลัพธ์) หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นสูงแสดงให้เห็นว่า indomethacin มีประสิทธิผลในการปิด PDA ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอาการ อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกว่า indomethacin ช่วยลดการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บที่ปอด นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกได้ว่า indomethacin ก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการไม่รักษาหรือยาหลอก จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูว่า indomethacin สามารถลดการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บที่ปอดในทารกที่มีอาการ PDA ได้หรือไม่
หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นสูงแสดงให้เห็นว่า indomethacin มีประสิทธิผลในการปิด PDA ที่มีอาการเมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่มีการรักษาในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หลักฐานไม่เพียงพอเกี่ยวกับผลของ indomethacin ต่อผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางคลินิกและผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับยา
Patent ductus arteriosus (PDA)ที่มีอาการ เกี่ยวข้องกับการตายและการเจ็บป่วยในทารกคลอดก่อนกำหนด ในทารกเหล่านี้การใช้ indomethacin เพื่อป้องกันโรค ซึ่งเป็น non-selective cyclooxygenase inhibitor ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ทางคลินิกในระยะสั้น ผลของ indomethacin ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอาการ PDA ยังไม่ได้รับการพิจารณา
เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของ indomethacin (ให้โดยเส้นทางใด ๆ) เมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่มีการรักษาใด ๆ ในการลดอัตราการตายและการเจ็บป่วยในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มี PDA ที่มีอาการ
เราใช้วิธีการสืบค้นมาตรฐานของ Cochrane Neonatal เพื่อค้นหา Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2020, Issue 7) ใน Cochrane Library; Ovid MEDLINE (R) และ Epub Ahead of Print, In-Process & Other Non-Indexed Citations Daily and Versions(R); and the Cumulative Index to Nursing and Allied Health Literatue (CINAHL) ในวันที่ 31 กรกฏาคม 2020 เรายังสืบค้นฐานข้อมูลการทดลองทางคลินิก และเอกสารอ้างอิงของบทความที่ได้มา สำหรับการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) และการทดลองแบบ quasi-RCTs
เรารวม RCTs และ quasi-RCTs ที่เปรียบเทียบ indomethacin (ขนาดใดก็ได้ทุกเส้นทาง) เทียบกับยาหลอกหรือไม่มีการรักษาในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
เราใช้วิธีการมาตรฐานของ Cochrane Neonatal โดยมีการประเมินคุณภาพการทดลองและการคัดลอกข้อมูลโดยผู้ประพันธ์การทบทวนอย่างน้อย 2 คน เราใช้วิธี GRADE เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับผลลัพธ์ต่อไปนี้: ความล้มเหลวของการปิด PDA ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากให้ยา indomethacin ครั้งแรก; bronchopulmonary dysplasia (BPD) ที่อายุหลังคลอด 28 วันและที่อายุหลังประจำเดือน 36 สัปดาห์; สัดส่วนของทารกที่ต้องผ่าตัด ligation หรือ transcatheter occlusion; การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดทุกสาเหตุ; necrotizing enterocolitis (NEC) (≥ Bell stage 2); และเลือดออกทางเมือกหรือทางเดินอาหาร
เรารวบรวม RCTs 14 รายการ (ทารกคลอดก่อนกำหนด 880 คน) การศึกษา 4 ใน 14 รายการถูกตัดสินว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอคติในหนึ่ง หรือหลายโดเมน การให้ยา indomethacin มีความสัมพันธ์กับการลดความล้มเหลวของการปิด PDA อย่างมาก ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังการให้ยา ครั้งแรก (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.30, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.23 ถึง 0.38; ความแตกต่างของความเสี่ยง (RD) -0.52, 95 % CI -0.58 ถึง -0.45; 10 การศึกษา, ทารก 654 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นสูง) อาจมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างในอุบัติการณ์ของ BPD (BPD หมายถึงความต้องการออกซิเจนเสริมที่อายุหลังคลอด 28 วัน: RR 1.45, 95% CI 0.60 ถึง 3.51; 1 การศึกษา ทารก 55 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ; BPD หมายถึงความต้องการออกซิเจนเสริมที่อายุหลังประจำเดือน 36 สัปดาห์: RR 0.80, 95% CI 0.41 ถึง 1.55; 1 การศึกษา ทารก 92 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ) และอาจมีอัตราการเสียชีวิตเพียงเล็กน้อยหรือไม่แตกต่างกัน (RR 0.78, 95% CI 0.46 ถึง 1.33; 8 การศึกษา, ทารก 314 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นปานกลาง) โดยใช้ indomethacin สำหรับ PDA ที่มีอาการ ไม่พบความแตกต่างในความจำเป็นในการผ่าตัด PDA ligation (RR 0.66, 95% CI 0.33 ถึง 1.29; 7 การศึกษา, ทารก 275 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นปานกลาง) ใน NEC (RR 1.27, 95% CI 0.36 ถึง 4.55; 2 การศึกษา, ทารก 147 คนหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) หรือเลือดออกทางเยื่อเมือกหรือทางเดินอาหาร (RR 0.33, 95% CI 0.01 ถึง 7.58; 2 การศึกษา, ทารก 119 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำ) โดยใช้ indomethacin เทียบกับยาหลอกหรือไม่ได้รับการรักษา ความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับ BPD, การผ่าตัด PDA ligation, NEC และเลือดออกทางเยื่อบุหรือทางเดินอาหารถูกลดระดับลงเนื่องจากความไม่แม่นยำที่ร้ายแรงมากหรือร้ายแรง
แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ 21 มกราคม 2021