การล้างท่อนำไข่ในคนที่มีภาวะมีบุตรยาก

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ผู้เขียน Cochrane ทบทวนหลักฐานเกี่ยวกับผลของการใช้ contrast media ต่างๆ ในระหว่างการล้างท่อนำไข่ในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน

ความเป็นมา

ท่อนำไข่อุดตันหมายความว่าสเปิร์มไม่สามารถไปถึงไข่ในท่อนำไข่ได้ การพิจารณาว่าท่อนำไข่เปิดอยู่หรือไม่ (โล่ง) มีความสำคัญและต้องใช้สารทึบแสง (สี) ฉีดผ่านท่อในเวลาที่เอ็กซเรย์ (hysterosalpingogram) ระหว่างอัลตราซาวนด์ (hysterosalpingo-contrast-sonography) หรือระหว่างการผ่าตัดผ่านรูเล็กๆ (ส่องกล้อง) มีรายงานว่าสตรีหลายคนตั้งครรภ์ในช่วง 3 ถึง 6 เดือนแรกหลังการล้างท่อนำไข่แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้น มีการถกเถียงกันว่าควรใช้คอนทราสต์ที่ละลายในน้ำมัน (OSCM) หรือคอนทราสต์ที่ละลายน้ำได้ (WSCM) เนื่องจากอาจส่งผลต่อการเกิดมีชีพ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญระหว่างขั้นตอนคือการไหลย้อนกลับของสารทึบรังสีเข้าไปในเลือดหรือหลอดเลือดน้ำเหลือง ซึ่งเรียกว่าการแทรกซึมของหลอดเลือดและโดยทั่วไปจะไม่แสดงอาการ

ลักษณะการศึกษา

หลักฐานเป็นปัจจุบันจนถึงเดือนเมษายน 2020 เรารวม randomized controlled trials (RCTs) ที่ศึกษาผลของการล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM และ WSCM เปรียบเทียบกัน หรือเทียบกับการไม่รักษาในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน สตรีเหล่านี้เป็นคนที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากนี้เรายังดูอัตราของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รวมถึงการรั่วเข้าหลอดเลือดของสาร การติดเชื้อ และการตกเลือด

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

มีการทดลอง 15 ฉบับ เกี่ยวกับสตรี 3864 คนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้ เมื่อเทียบกับการไม่รักษา การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดมีชีพและการตั้งครรภ์ทางคลินิก นี่แสดงให้เห็นว่าหากโอกาสในการเกิดมีชีพหลังการไม่มีการรักษาถ้าถือว่าเป็น 11% โอกาสที่จะเกิดมีชีพหลังการล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM จะอยู่ระหว่างร้อยละ 16 ถึง 46 เราไม่แน่ใจว่าการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM ช่วยเพิ่มการเกิดมีชีพหรือการตั้งครรภ์ทางคลินิกเมื่อเทียบกับการไม่รักษา นี่แสดงให้เห็นว่าหากโอกาสในการเกิดมีชีพหลังการไม่รักษาเป็น 21% โอกาสหลังการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM จะอยู่ระหว่าง 15% ถึง 33% ในการเปรียบเทียบระหว่าง OSCM กับ WSCM ข้อมูลไม่คล้ายคลึงกันเพียงพอที่จะรวมในการวิเคราะห์เมตต้า การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ทางคลินิก ในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มโอกาสที่จะมีการรั่วของสีเข้าสู่หลอดเลือด (ไม่มีอาการ) เมื่อเทียบกับการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากมีโอกาสเกิดการรั่วเข้าหลอกเลือดหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM 1% โอกาสหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM จะอยู่ระหว่าง 2% ถึง 9% หลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ได้รับการรายงานไม่ดีและไม่สามารถสรุปได้

คุณภาพของหลักฐาน

คุณภาพโดยรวมของหลักฐานอยู่ในระดับต่ำมากถึงปานกลางสำหรับการเปรียบเทียบทั้งหมด ข้อจำกัดหลักคือความไม่แม่นยำ ความเสี่ยงของอคติและความไม่สอดคล้องกัน มีการศึกษาน้อยเกินไปที่จะประเมินความเสี่ยงของการมีอคติในการตีพิมพ์

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าเมื่อเทียบกับการไม่รักษา การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดมีชีพและการตั้งครรภ์ทางคลินิก ในขณะที่ไม่แน่ใจว่าการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM ปรับปรุงผลลัพธ์เหล่านั้นหรือไม่ เมื่อเทียบกับการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM พบว่า OSCM อาจปรับปรุงการตั้งครรภ์ทางคลินิกในขณะที่การวิเคราะห์เมตาเป็นไปไม่ได้สำหรับการคลอดบุตรมีชีพเนื่องจากความแตกต่างกันของการศึกษา หลักฐานยังชี้ให้เห็นว่า OSCM เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการรั่วเข้าสู่เส้นเลือดที่ไม่มีอาการ โดยรวมแล้ว เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระยะยาว ได้รับการรายงานไม่ดีในทุกการศึกษา

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การวิเคราะห์กลุ่มย่อยของท่อนำไข่ (ท่อ) เป็นการตรวจวินิจฉัยโดยทั่วไปสำหรับสตรีที่มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งมักจะทำได้โดยการใส่สารคอนทราสต์ผ่านท่อและการแสดงความไม่ตันของท่อโดยภาพรังสี อัลตราซาวนด์หรือการส่องกล้อง มีการพบว่าสตรีหลายคนจะตั้งครรภ์ในช่วง 3 ถึง 6 เดือนแรกหลังจากการล้างท่อนำไข่ ซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่การล้างท่อนำไข่อาจเป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย มีการถกเถียงกันว่าควรใช้คอนทราสต์ตัวกลางแบบใด (ตัวกลางที่ละลายน้ำได้หรือตัวกลางที่ละลายในน้ำมัน) เนื่องจากอาจส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญในระหว่างการล้างท่อนำไข่คือการรั่วไหลออกไปสู่เส้นเลือด (การไหลย้อนกลับของสารทึบรังสีเข้าสู่กระแสเลือดหรือหลอดเลือดน้ำเหลือง) ซึ่งอาจนำไปสู่เส้นเลือดอุดตัน แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการล้างท่อนำไข่ด้วยสารทึบแสงที่ละลายในน้ำมัน (OSCM) และสารทึบที่ละลายน้ำได้ (WSCM) เกี่ยวกับผลการเจริญพันธุ์ที่ตามมาในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากระดับน้อย

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหา Cochrane Gynecology and Fertility Group Specialized Register of controlled trials, MEDLINE, Embase, CENTRAL, PsycINFO, รายการอ้างอิงของบทความที่ระบุและทะเบียนการทดลอง การค้นหาล่าสุดดำเนินการในเดือนเมษายน 2020

เกณฑ์การคัดเลือก: 

Randomized controlled trials (RCTs) เปรียบเทียบการล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM, WSCM ระหว่างกันหรือไม่มีการรักษา ในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมสองคนเลือกการศึกษาวิจัย ประเมินความเสี่ยงของอคติ และดึงข้อมูลอย่างอิสระต่อกัน เราติดต่อผู้เขียนบทความวิจัยเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เราได้ประเมินคุณภาพโดยรวมของหลักฐานที่ได้โดยวิธีการ GRADE

ผลการวิจัย: 

มีการทดลอง 15 ฉบับ เกี่ยวกับสตรี 3864 คนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้ โดยรวมแล้ว คุณภาพของหลักฐานแตกต่างกันไปตั้งแต่ต่ำมากไปจนถึงปานกลาง: ข้อจำกัดหลักคือความเสี่ยงของอคติ ความแตกต่าง และความไม่แม่นยำ

OSCM กับไม่มีการรักษา

การเปรียบเทียบนี้รวมการศึกษา 4 ฉบับ (สตรี 506 คน)

การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มอัตราการเกิดมีชีพ (odds Ratio (OR) 3.27, 95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 1.57 ถึง 6.85, RCT 3 เรื่อง, สตรี 204 คน, I 2 = 0, หลักฐานคุณภาพต่ำ) นี่แสดงให้เห็นว่าหากโอกาสในการเกิดมีชีพหลังการไม่มีการรักษาถ้าถือว่าเป็น 11% โอกาสที่จะเกิดมีชีพหลังการล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM จะอยู่ระหว่างร้อยละ 16 ถึง 46

การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มอัตราโอกาสการตั้งครรภ์ทางคลินิก (odds Ratio (OR) 3.54, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (95% CI) 2.08 ถึง 6.02, RCT 4 ฉบับ, สตรี 506 คน, I2 = 18%, หลักฐานคุณภาพต่ำ) นี่แสดงให้เห็นว่าหากโอกาสของการตั้งครรภ์ทางคลินิกหลังไม่ได้รับการรักษาอยู่ที่ 9% โอกาสหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM จะอยู่ระหว่าง 17% ถึง 37%

ไม่มีการศึกษาใดที่วัดการแทรกซึมเข้าหลอดเลือดหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่น การติดเชื้อ การตกเลือด และความผิดปกติแต่กำเนิด

WSCM เทียบกับไม่มีการรักษา

มีการศึกษาเพียงการศึกษาเดียว (สตรี 334 คน) ในการเปรียบเทียบนี้

เราไม่แน่ใจว่าการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM ช่วยเพิ่มการเกิดมีชีพหรือไม่ เมื่อเทียบกับการไม่รักษา (OR 1.13, 95% CI 0.67 ถึง 1.91, 1 RCT, สตรี 334 คน, หลักฐานคุณภาพต่ำ) นี่แสดงให้เห็นว่าหากโอกาสในการเกิดมีชีพหลังการไม่รักษาเป็น 21% โอกาสหลังการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM จะอยู่ระหว่าง 15% ถึง 33%

เราไม่แน่ใจว่าการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM เพิ่มการตั้งครรภ์ทางคลินิกหรือไม่ เมื่อเทียบกับการไม่รักษา (OR 1.14, 95% CI 0.71 ถึง 1.84, RCT 1 ฉบับ, สตรี 334 คน, หลักฐานคุณภาพต่ำ) นี่แสดงให้เห็นว่าหากโอกาสของการตั้งครรภ์ทางคลินิกหลังไม่ได้รับการรักษาคือ 27% โอกาสหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM จะอยู่ระหว่าง 29% ถึง 40%

มีรายงานผู้ป่วยรายหนึ่งที่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานในกลุ่ม WSCM และไม่มีกรณีที่มีการติดเชื้อในกลุ่มที่ไม่มีการรักษาในการศึกษา 1 ฉบับ (สตรี 334 คน) การวิเคราะห์เมตต้าไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก

ไม่มีการศึกษาใดที่วัดการแทรกซึมเข้าหลอดเลือดหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่น การติดเชื้อ การตกเลือด และความผิดปกติแต่กำเนิด

OSCM กับ WSCM

การเปรียบเทียบนี้รวมการศึกษา 6 ฉบับ (สตรี 2598 คน)

การศึกษา 3 ฉบับ รายงานการเกิดมีชีพ โดยการศึกษา 2 ฉบับ มีการคลอดมีชีพสูงกว่าในกลุ่ม OSCM (OR 1.64, 95% CI 1.27 ถึง 2.11, สตรี 1119 คน; OR 3.45, 95% CI 1.97 ถึง 6.03, สตรี 398 คน); และการศึกษา 1 ฉบับ ที่มีหลักฐานไม่เพียงพอของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (OR 0.92, 95% CI 0.60 ถึง 1.40, ผู้เข้าร่วม 533 คน) เนื่องจากความแตกต่างที่สำคัญที่สังเกตพบ (I2 = 86%) จึงไม่ได้ทำการวิเคราะห์เมตต้า

การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการรั่วเข้ากระแสเลือด (ไม่มีอาการ) เมื่อเทียบกับการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM (OR 5.00, 95% CI 2.25 ถึง 11.12, RCT 4 ฉบับ, สตรี 1912 คน, I2 = 0, หลักฐานคุณภาพปานกลาง) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากมีโอกาสเกิดการรั่วเข้าหลอกเลือดหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM 1% โอกาสหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM จะอยู่ระหว่าง 2% ถึง 9%

การล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM อาจเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ทางคลินิก (OR 1.42, 95% CI 1.10 ถึง 1.85, RCT 6 ฉบับ, สตรี 2598 คน, I2 = 41%, หลักฐานคุณภาพต่ำ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากโอกาสของการตั้งครรภ์ทางคลินิกหลังจากการล้างท่อนำไข่ด้วย WSCM เป็น 26% โอกาสหลังจากล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM จะอยู่ระหว่าง 28% ถึง 39%

เราไม่แน่ใจว่าการล้างท่อนำไข่ด้วย OSCM ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ (OR 0.22, 95% CI 0.04 ถึง 1.22, RCT 2 ฉบับ, สตรี 662 คน, I2 = 0, หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) หรือการตกเลือด (OR 0.65, 95% CI 0.40 ถึง 1.06 RCT 2 ฉบับ สตรี 662 คน ค่า I2 = 0, หลักฐานคุณภาพต่ำมาก)

ในกลุ่ม OSCM มีรายงานทารกแรกเกิด 3 คนที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดในขณะที่ไม่มีรายงานความผิดปกติแต่กำเนิดในกลุ่ม WSCM ในการศึกษา 1 ฉบับ (สตรี 1119 คน) การวิเคราะห์เมตต้าไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้อย

บันทึกการแปล: 

แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว Edit โดย ผกากรอง 30 พฤศจิกายน 2022

Tools
Information