มีการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ในสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยยาสำหรับภาวะมีบุตรยากหรือไม่?

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ยาเพื่อกระตุ้นรังไข่ได้ถูกนำมาใช้สำหรับรักษาภาวะมีบุตรยากตั้งแต่ต้นปี คศ1960 มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาเหล่านี้และความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้, ภาวะมีบุตรยากนั้นพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่โดยตัวโรคเองเช่นกัน

วัตถุประสงค์ของการทบทวน
การอัพเดทรีวิวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปหลักฐานที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ในสตรีที่มีบุตรยากและได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นรังไข่เมื่อเทียบกับสตรีทั่วไปและสตรีที่มีบุตรยากซึ่งไม่ได้รับการรักษาด้วยยาเหล่านี้

ผลการค้นพบหลักคืออะไรบ้าง
โดยรวม, จากการศึกษา 37 การศึกษา, ทำในสตรีรวม 4,684,724 ราย, เราไม่พบหลักฐานที่เพียงพอที่บอกว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ในสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นรังไข่

การวิเคราะห์ข้อมูลจาก 12 การศึกษาแบบ case-control studies จาก USA พบว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นในสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นรังไข่ และความเสี่ยงนี้จะสูงกว่าในสตรีที่ยังไม่เคยมีบุตรเมื่อเทียบกับสตรีที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้ว หนึ่งใน 37 การศึกษาที่รวบรวมมา รายงานการเพิ่มขึ้นสองเท่าในการเกิดเนื้องอกรังไข่ชนิด serous borderline ovarian tumour ในสตรีที่ได้รับฮอร์โมน progesterone มากกว่าสี่รอบ; อย่างไรก็ดี จำนวนของสตรีที่รวมอยู่ในการศึกษานี้มีขนาดเล็กมาก การศึกษาแบบ cohort study หนึ่งการศึกษา พบความเสี่ยงของเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumour เพิ่มขึ้นในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากที่ได้รับการรักษาด้วย clomiphene citrate เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากซึ่งไม่ได้ผ่านการรักษาใดๆ

คุณภาพของหลักฐาน
การศึกษาที่พบการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่มีคุณภาพในระดับต่ำ, มีระยะเวลาการติดตามที่สั้นและขาดการปรับสำหรับปัจจัยที่เป็นตัวกวนผลการศึกษา; ดังนั้นผลการศึกษาจึงไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี, เมื่อเทียบกับการศึกษาที่เก่ากว่า, การศึกษาใหม่ๆนี้มีแนวโน้มที่จะรายงานทั้งขนาดยาและจำนวนรอบของการรักษาภาวะมีบุตรยากและได้รวมสูตรยาที่ร่วมสมัยมากขึ้น; ซึ่งทำให้ผลการศึกษาสุดท้ายเชื่อถือได้มากขึ้น

บทสรุป
ภาวะมีบุตรยากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคมะเร็งรังไข่. อย่างไรก็ดี, ความสัมพันธ์ระหว่างยาที่ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากและโรคมะเร็งรังไข่ต้องได้รับการพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่นอายุ, ดัชนีมวลกาย, ประวัติการมีบุตร, ปัจจัยทางพันธุกรรม (เช่นประวัติครอบครัวสำหรับโรคมะเร็งรังไข่), และ สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก, รวมถึงระยะเวลาการติดตามที่นานขึ้น

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

นับตั้งแต่ครั้งล่าสุดของรีวิวนี้, มีเพียงไม่กี่การศึกษาที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นมาใหมที่่ได้ให้ผลศึกษาเพิ่มเติมซึ่งสนับสนุนหลักฐานที่จะแนะนำว่ายาที่ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่เล็กน้อยในสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากซึ่งได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นรังไข่ เมื่อเทียบกับสตรีทั่วไปหรือเทียบกับสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากซึ่งไม่ได้รับการรักษา ความเสี่ยงสูงขึ้นเล็กน้อยใน สตรีที่ไม่เคยมีบุตรมากกว่าในสตรีที่เคยมีบุตรแล้วซึ่งได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นรังไข่, และสำหรับเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumours. อย่างไรก็ดี, มีการศึกษาในจำนวนที่น้อย, และจำนวนของสตรีที่พบมะเร็งมีขนาดเล็กมาก, และข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณหรือชนิดของยาทีใช้ในการรักษายังคงไม่เพียงพอ

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

รีวิวนี้เป็นการปรับปรุงของต้นฉบับ Cochrane review ที่ตีพิมพ์ใน Cochrane Library คศ 2013 (Issue 8) เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่ในสตรีที่ใช้ยารักษาภาวะมีบุตรยากเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปหรือสตรีที่มีภาวะมีบุตรยากที่ไม่ได้รับการรักษา ความสัมพันธ์ระหว่างยากระตุ้นรังไข่และโรคมะเร็งรังไข่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน.

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่ที่รุกรานและเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumours ในสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นรังไข่สำหรับภาวะมีบุตรยาก

วิธีการสืบค้น: 

การรีวิวต้นฉบับนั้นได้รวบรวมการศึกษาทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ได้รับการตีพิมพ์ ตั้งแต่ คศ 1990 ถึง 2013 สำหรับการอัปเดตนี้เราขยายการสืบค้นข้อมูลจากเดือนกุมภาพันธ์ คศ2013 ถึงเดือนพฤศจิกายน คศ2018; เราประเมินคุณภาพของการศึกษาที่รวบรวมมาและตัดสินความแน่นอนของหลักฐานโดยใช้วิธ GRADE เราได้รายงานผลในตาราง Summary of findings table เพื่อที่จะนำเสนอขนาดของผลการศึกษาในทุกชนิดของผลลัพธ์ที่ได้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

ในรีวิวเดิมและในการปรับปรุงนี้เราค้นหาการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (rcts) และการศึกษาที่ไม่ใช่แบบสุ่มและการศึกษาที่รายงานกรณีศึกษา (case series) ที่มีมากกว่า 30ราย

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้รีวิวสองคนประเมินการศึกษาเพื่อนำเข้ามาทบทวน ตรวจสอบอคติและดึงข้อมูลอย่างเป็นอย่างอิสระต่อกัน เราจัดกลุ่มการศึกษาโดยขึ้นอยู่กับยาที่ใช้สำหรับสองผลลัพธ์: เนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumours และมะเร็งรังไข่ที่รุกราน. เราไม่ได้ดำเนินการวิเคราะห์แบบเมตา (meta-analyses) เนื่องจากระเบียบวิธีวิจัยและลักษณะทางคลินิกที่มีความแตกต่างกัน

ผลการวิจัย: 

เรารวบรวม13 การศึกษาชนิด case-control studies และ 24 การศึกษาชนิด cohort studies (เพิ่มเติม 9 cohort และ 2 case-control studies ใหม่), ซึ่งทำในสตรีรวมทั้งหมด 4,684,724 ราย

สองการศึกษาแบบ cohort รายงานอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งรังไข่รุกรานที่เพิ่มขึ้นในสตรีที่ได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากเมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่ได้ผ่านการรักษา หนึ่งการศึกษารายงานอัตราส่วนมาตรฐานอุบัติการณ์ (standardised incidence ratio, SIR) คือ 1.19 (95% confidence interval (CI) 0.54 to 2.25) จาก 17 รายที่เป็นมะเร็ง การศึกษา cohort อื่นๆรายงานอัตราส่วนอันตราย (hazard ratio, HR) คือ 1.93 (95% CI 1.18 to 3.18), และความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นในสตรีที่ยังคงไม่มีบุตรหลังใช้ clomiphene citrate (HR 2.49, 95% CI 1.30 to 4.78) เมื่อกับสตรีที่มีบุตรแล้ว (HR 1.52, 95% CI 0.67 to 3.42) (คุณภาพหลักฐานในระดับต่ำมาก) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ในสตรีที่ได้รับการรักษาโดยการทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilisation, IVF) ระหว่าง 1 ถึง 3 รอบการรักษา , แต่ผลการศึกษานี้ไม่ได้มีนัยสำคัญทางคลินิก (P = 0.18). ไม่มีการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ที่รุกรานหลังจากการใช้ยาเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีการกลายพันธุ์ของ BRCA gene จากผลของการศึกษาแบบ cohort หนึ่งการศึกษาและ การศึกษาแบบ case-control หนึ่งการศึกษา ความแน่นอนของหลักฐานที่ประเมินโดยใช้วิธี GRADE อยู่ในระดับต่ำมาก

สำหรับเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumours, ผลการศึกษาจากหนึ่ง cohort รายงานการเพิ่มความเสี่ยงในสตรีที่ได้รับการรักษา โดย SIR คือ 3.61 (95% CI 1.45 to 7.44) และความเสี่ยงนี้มากขึ้นหลังการรักษาด้วย clomiphene citrate (SIR 7.47, 95% CI 1.54 to 21.83) จาก 12 รายที่เป็นมะเร็ง รายงานจากการศึกษา cohort อื่นๆ, พบความเสี่ยงของเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumour เพิ่มขึ้น, โดย HR คือ 4.23 (95% CI 1.25 to 14.33), สำหรับสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยการทำ IVF เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาด้วย IVF เมื่อติดตามไปมากกว่าหนึ่งปี การศึกษา Cohort ขนาดใหญ่รายงานความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumours, HR 2.46 (95% CI 1.20 to 5.04), จาก 17 รายที่เป็นมะเร็ง การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการเกิด serous borderline ovarian tumours มีรายงานในหนึ่งการศึกษาแบบ cohort หลังจากการใช้ฮอร์โมน progesterone มากกว่าสี่รอบการรักษา (risk ratio (RR) 2.63, 95% CI 1.04 to 6.64). การศึกษาแบบ case-control รายงานความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหลังจากการใช้ clomiphene citrate, SIR 2.5 (95% CI 1.3 to 4.5) จากสตรี 11 รายที่เป็นมะเร็งและอีกหนึ่งการศึกษารายงานการเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการใช้ human menopausal gonadotrophin (odds ratio (OR) 9.38, 95% CI 1.66 to 52.08) การศึกษาอื่นรายงานความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumour, แต่การประมาณนี้เป็นไปตาม 4 รายที่เป็นมะเร็งและไม่มีกลุ่ม control ความแน่นอนของหลักฐานที่ประเมินโดยใช้วิธี GRADE อยู่ในระดับต่ำมาก

อย่างไรก็ดี, แม้ว่าบางการศึกษาพบการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่และเนื้องอกรังไข่ชนิด borderline ovarian tumour, แต่ไม่มีหลักฐานที่มีคุณภาพในระดับปานกลางหรือสูง, ตามที่สรุปในตาราง GRADE

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล พญ.นันทสิริ เอี่ยมอุดมกาล ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Tools
Information