แมกนีเซียมสำหรับอาการตะคริว

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เราได้ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับผลของการเสริมแมกนีเซียมต่ออาการตะคริวของกล้ามเนื้อและรวมการศึกษาที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งหมายความรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับทุกคนที่เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อโดยไม่คำนึงว่าทำไมจึงเป็น นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการศึกษาที่ให้แมกนีเซียมด้วยวิธีใด ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการกลืนกินเป็นเม็ดยาหรือของเหลว การฉีดช้าๆ เข้าทางหลอดเลือดโดยตรงเป็นเวลาหลายชั่วโมง ('การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ') และการฉีดเข้ากล้าม ('การฉีดเข้ากล้าม') เรารวมการศึกษาเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอก เปรียบเทียบแมกนีเซียมกับการไม่รักษา และเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับการรักษาตะคริวอื่น ๆ เราพบการศึกษาทั้งหมด 11 การศึกษา เพื่อประเมินผลประโยชน์ เราได้ตรวจสอบผลของแมกนีเซียมต่อความถี่ของตะคริว อาการปวดตะคริว และระยะเวลาที่เป็นตะคริวและเราได้ตรวจสอบจำนวนผู้เข้าร่วมที่มีอัตราการเป็นตะคริวลดลงร้อยละ 25 หรือมากกว่านั้น เพื่อประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เราได้ตรวจสอบว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านสุขภาพที่สำคัญและไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นบ่อยเพียงใด

ความเป็นมา

ตะคริวเป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์มักบ่นว่าเป็นตะคริวที่ขาในขณะพักผ่อนนักกีฬาอาจเป็นตะคริวได้เมื่อพวกเขาเร่งขีดจำกัดของความอดทน และบางคนอาจเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อซึ่งเป็นอาการของโรคอื่น ๆ ทางอายุรกรรม การรักษาที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งทพบได้ทั่วไปเพื่อป้องกันตะคริวของกล้ามเนื้อคือการเสริมแมกนีเซียม แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั่วไปในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริมแร่ธาตุ ซึ่งมีจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ตหรือในร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพและร้านขายยา (โดยปกติจะอยู่ในรูปแบบของเม็ดหรือผงละลายในน้ำ) เราต้องการรวมการศึกษาเพื่อให้ได้ค่าประมาณผลของแมกนีเซียมที่ดีที่สุดต่อการเป็นตะคริว นอกจากนี้เรายังต้องการตรวจสอบผลของแมกนีเซียมในผู้ที่เป็นตะคริวประเภทต่างๆ ในกรณีที่อาจได้ผลในสถานการณ์หนึ่งแต่ไม่ได้ผลในสถานการณ์อื่น

ลักษณะของการศึกษา

เราค้นหาการศึกษาคุณภาพสูงที่ตีพิมพ์ทั้งหมดที่ประเมินประสิทธิผลของแมกนีเซียมในการป้องกันตะคริวของกล้ามเนื้อและพบการศึกษา 5 รายการในผู้สูงอายุ 5 รายการในสตรีตั้งครรภ์ และการศึกษา 1 รายการในผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง การศึกษาในผู้สูงอายุรวมผู้เข้าร่วม 271 คน (อายุ 61.6 ถึง 69.3 ปี) และการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์รวมผู้เข้าร่วม 408 คน การศึกษาเดียวในผู้ที่เป็นโรคตับแข็งมีเพียง 29 คนเท่านั้น และไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการตะคริว ไม่มีการศึกษาคนที่เป็นตะคริวขณะออกกำลังกาย แมกนีเซียมถูกเปรียบเทียบกับยาหลอกในการศึกษา 9 รายการจาก 11 รายการและเปรียบเทียบกับแคลเซียม วิตามินอี วิตามินบี 1 และบี 6 และไม่มีการรักษา ในสตรีตั้งครรภ์ 2 รายการ ระยะเวลาของการรักษาอยู่ในช่วง 14 ถึง 56 วัน แมกนีเซียมแบบรับประทานในการศึกษา 10 จาก 11 รายการและโดยการให้ทางหลอดเลือดดำในสี่ชั่วโมงในห้าวันติดต่อกันในหนึ่งการศึกษา แหล่งเงินทุนสำหรับการศึกษา มาจากผู้ผลิตแมกนีเซียมชนิดเม็ดใน 2 การศึกษา แหล่งทุนอิสระใน 3 การศึกษา และอีก 6 การศึกษาไม่มีรายงานแหล่งเงินทุน

ผลลัพธ์ที่สำคัญและความเชื่อมั่นของหลักฐาน

ผลรวมของการศึกษาที่น่าเชื่อถือ 5 รายการ ชี้ให้เห็นว่าด้วยความเชื่อมั่นระดับปานกลาง แมกนีเซียมไม่น่าจะลดความถี่หรือความรุนแรงของการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ ในทางตรงกันข้ามการศึกษาทั้ง 5 รายการในสตรีตั้งครรภ์มีข้อ จำกัดที่สำคัญ ในเรื่องความน่าเชื่อถือ (ทั้งในการออกแบบการศึกษาและการรายงานผล) ไม่ได้แสดงประโยชน์อย่างสม่ำเสมอและไม่สามารถรวมกันได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่แน่ใจว่าสตรีมีครรภ์ที่เป็นตะคริวกล้ามเนื้อจะได้รับประโยชน์จากแมกนีเซียมหรือไม่ การศึกษา 1 รายการในผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง ไม่พบความแตกต่างของความถี่หรือความรุนแรงของตะคริว แต่มีขนาดเล็กเกินไปที่จะสามารถหาข้อสรุปได้

จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมกนีเซียมในสตรีตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นตะคริวที่เกี่ยวกับปัญหาทางการแพทย์หรือตะคริวขณะออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุที่เป็นตะคริวไม่น่าจะได้รับประโยชน์จากการรักษานี้ ผลข้างเคียงที่สำคัญเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และผู้เข้าร่วมก็ถอนตัวออกจากการศึกษาในอัตราที่ใกล้เคียงกันเมื่อได้รับแมกนีเซียมหรือยาหลอก อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเล็กน้อย คือ ส่วนใหญ่คืออาการท้องเสีย (ตามที่คาดไว้จากเกลือแมกนีเซียม) และอาการคลื่นไส้เป็นเรื่องปกติและได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 11 (ร้อยละ 10 ในกลุ่มควบคุม) ถึง ร้อยละ 37 (ร้อยละ 14 ในกลุ่มควบคุม) ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด

การทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นปัจจุบันถึงเดือนกันยายน 2019

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ไม่น่าเป็นไปได้ที่การเสริมแมกนีเซียมจะช่วยป้องกันตะคริวที่มีความหมายทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการตะคริว ในทางตรงกันข้ามสำหรับผู้ที่มีอาการตะคริวจากการตั้งครรภ์วรรณกรรมยังมีความขัดแย้งกันและจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมในประชากรกลุ่มนี้ เราไม่พบ RCTs ที่ประเมินแมกนีเซียมสำหรับการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายหรือการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับโรค (ตัวอย่างเช่น amyotrophic lateral sclerosis/motor neuron disease) นอกเหนือจากการศึกษาขนาดเล็กเพียงครั้งเดียว (สรุปไม่ได้) ในผู้ที่เป็นโรคตับแข็งซึ่งมีเพียงบางคนเท่านั้นที่เป็นตะคริว

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ตะคริวเป็นได้บ่อยและมักเกิดร่วมกับการตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น การออกกำลังกาย หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทสั่งการ (เช่น amyotrophic lateral sclerosis) โดยปกติแล้วตะคริวดังกล่าวไม่มีพยาธิสภาพที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเรียกว่า idiopathic ผลิตภัณฑ์เสริมแมกนีเซียมมีจำหน่ายทั่วไปเพื่อป้องกันโรคตะคริว แต่ประสิทธิภาพของแมกนีเซียมเพื่ออาการนี้ยังไม่ชัดเจน

นี่คือการปรับปรุงของ Cochrane Review ที่เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2012 และดำเนินการเพื่อระบุและรวมการศึกษาล่าสุด

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของการเสริมแมกนีเซียมเมื่อเทียบกับการไม่ได้รับการรักษา การควบคุมด้วยยาหลอก หรือการรักษาตะคริวแบบอื่น ๆ ในผู้ที่เป็นตะคริว

วิธีการสืบค้น: 

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2019 เราได้ค้นหาจาก Cochrane Neuromuscular Specialized Register, CENTRAL, MEDLINE, Embase, LILACS, CINAHL Plus, AMED และ SPORTDiscus นอกจากนี้เรายังค้นหา WHO-ICTRP และ ClinicalTrials.gov สำหรับการทดลองที่ลงทะเบียนซึ่งอาจดำเนินต่อไปหรือไม่ได้เผยแพร่ และ ISI Web of Science สำหรับการศึกษาที่อ้างถึงการศึกษาที่รวมอยู่ในการทบทวนนี้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ของการเสริมแมกนีเซียม (ในรูปแบบใดก็ได้) เพื่อป้องกันการเป็นตะคริวในกลุ่มผู้ป่วยใด ๆ (เช่น การแสดงคลินิกทั้งหมดของตะคริว) เราพิจารณาการเปรียบเทียบการให้แมกนีเซียมกับไม่มีการรักษา การควบคุมยาหลอก หรือการรักษาแบบอื่น

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน เลือกงานวิจัยเพื่อการคัดเข้า และคัดลอกข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกัน ผู้เขียนการทบทวนวรรณกรรม 2 คนประเมินความเสี่ยงของอคติ เราพยายามติดต่อผูทำการศึกษาทั้งหมดเมื่อมีคำถามเกิดขึ้นและได้รับข้อมูลระดับผู้เข้าร่วมสำหรับการทดลอง 4 รายการซึ่งหนึ่งในนั้นไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ เรารวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นใน RCT ที่รวมไว้

ผลการวิจัย: 

เราพบุการทดลอง 11 รายการ (9 parallel-group, 2 cross-over) โดยรวมผู้เข้าร่วมทั้งหมด 735 คน ในบรรดาผู้เข้าร่วมการทดลอง cross over 118 คน ยังทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมของตนเอง 5 การทดลองที่รวมสตรีที่มีอาการปวดขาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ (ผู้เข้าร่วม 408 คน) และ 5 การทดลองที่รวมผู้ที่เป็นตะคริวที่ไม่ทราบสาเหตุ (ผู้เข้าร่วม 271 คนโดยมี 118 คนที่ข้ามไปเป็นกลุ่มควบคุมเพิ่มเติม) การศึกษาอีก 1 รายการรวมผู้ป่วยโรคตับแข็ง 29 คน มีเพียงบางคนเท่านั้นที่มีอากาตะคริวกล้ามเนื้อ การทดลองทั้งหมดให้แมกนีเซียมเป็นอาหารเสริมโดยการรับประทาน ยกเว้นการลอง 1 รายการที่ให้แมกนีเซียมเป็นชุดของการให้ยาทางหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ การทดลอง 9 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอก 1 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับไม่มีการรักษา แคลเซียมคาร์บอเนต หรือวิตามินบี และการทดลองอีก 1 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับวิตามินอีหรือแคลเซียม เราได้ตัดสินการทดลอง 1 ราการในผู้ป่วยโรคตับแข็งและทั้ง 5 การทดลองในผู้เข้าร่วมที่มีอาการปวดขาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีอคติ ในทางตรงกันข้ามเราให้คะแนนความเสี่ยงของการเกิดอคติสูงใน 1 ใน 5 การทดลองที่ผู้เข้าร่วมเป็นตะคริวที่ไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับตะคริวที่ไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ (อายุเฉลี่ย 61.6 ถึง 69.3 ปี) สันนิษฐานว่าเป็นตะคริวที่ขาตอนกลางคืน (เป็นอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด) ความแตกต่างในการวัดความถี่ของตะคริวเมื่อเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอกมีขนาดเล็ก ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและมีความแตกต่างกันน้อยที่สุด (I² = 0% ถึง 12%) ซึ่งรวมถึงจุดสิ้นสุดหลัก เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงจากค่าพื้นฐานของจำนวนตะคริวต่อสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ (mean difference (MD) −9.59%, 95% confidence interval (CI) −23.14% ถึง 3.97%; 3 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 177 คน หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง); และความแตกต่างของจำนวนตะคริวต่อสัปดาห์ ที่ 4 สัปดาห์ (MD −0.18 cramps/week, 95% CI −0.84 ถึง 0.49; 5 การศึกษา; ผู้เข้าร่วม 307 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง) ร้อยละของบุคคลที่มีอัตราการเป็นตะคริวลดลงอย่างน้อยร้อยละ 25 หรือมากกว่าจากการตรวจวัดพื้นฐานก็ไม่แตกต่างกัน (RR 1.04, 95% CI 0.84 ถึง 1.29; 3 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 177 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) ในทำนองเดียวกันไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 4 สัปดาห์ในการวัดความรุนแรงของตะคริวหรือระยะเวลาของตะคริว ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้เข้าร่วมให้คะแนนการเป็นตะคริวในระดับปานกลางหรือรุนแรงที่ 4 สัปดาห์ (RR 1.33, 95% CI 0.81 ถึง 2.21; 2 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 91 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง); และร้อยละของผู้เข้าร่วมที่มีระยะเวลาตะคริวส่วนใหญ่เป็นเวลา 1 นาทีหรือมากกว่า ที่ 4 สัปดาห์ (RR 1.83, 95% CI 0.74 ถึง 4.53, 1 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 46 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ)

เราไม่สามารถทำการ meta-analysis สำหรับการทดลองของตะคริวที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ได้ การศึกษาเดียวที่เปรียบเทียบแมกนีเซียมกับไม่มีการรักษาไม่สามารถพบประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับลำดับสามจุดของประสิทธิภาพการรักษาโดยรวม จากการทดลอง 3 รายการเปรียบเทียบแมกนีเซียมกับยาหลอกพบว่าไม่มีประโยชน์ในเรื่องความถี่หรือความรุนแรง อีก 1 การทดลองพบประโยชน์สำหรับทั้งสองอย่าง และการทดลองที่ 3 รายงานผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกันสำหรับความถี่ การศึกษาเดียวในผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีจำนวนผู้เข้าร่วมน้อยและมีรายงานการเกิดตะคริวที่จำกัด แต่ไม่พบความแตกต่างในแง่ของความถี่ของตะคริวหรือความรุนแรงของตะคริว

การวิเคราะห์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของเรารวบรวมการศึกษาทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงบริบทที่เกิดตะคริว เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ (เกิดขึ้นในผู้รับแมกนีเซียม 2 ใน 72 ราย และผู้รับยาหลอก 3 ใน 68 ราย) และการถอนตัวเนื่องจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกับกลุ่มยาหลอก อย่างไรก็ตามในการศึกษา 4 รายการที่สามารถระบุได้ ผู้เข้าร่วมมีอาการไม่พึงประสงค์เล็กน้อยในกลุ่มแมกนีเซียมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (RR 1.51, 95% CI 0.98 ถึง 2.33; 4 การศึกษา, ผู้เข้าร่วม 254 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) โดยรวมแล้วแมกนีเซแบบรับประทานมีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์ในระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ (เช่นอาการท้องเสีย) ซึ่งพบได้ร้อยละ 11 (ร้อยละ 10% ในกลุ่มควบคุม) ถึงร้อยละ 37 (ร้อยละ 14 ในกลุ่มควบคุม) ของผู้เข้าร่วม

บันทึกการแปล: 

Translation notes CD009402.pub3

Tools
Information