ที่มาและความสำคัญของปัญหา
Juvenile myoclonic Epilepsy (JME) คือกลุ่มโรคลมชักที่มีการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และแขน แบบควบคุมไม่ได้ด้วยตนเองโดยเป็นในช่วงหลังตื่นนอน กลุ่มโรคลมชักนี้มักเริ่มต้นเป็นในช่วงวัยเด็ก
ลักษณะของการศึกษา
เราสืบค้นจากฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ การศึกษาทางคลินิกที่เปรียบเทียบการใช้ยากันชัก, topiramate กับยาหลอก(การรักษาหลอก) หรือ ยากันชักอื่น ๆ ในคนไข้ที่เป็น JME เราต้องการประเมินการทำงานและผลข้างเคียงของยา topiramate หลักฐานที่มีอยู่เป็นปัจจุบันจนถึงเดือนกรกฎาคม 2018
ผลลัพธ์ที่สำคัญ
เราได้รวบรวมและวิเคราะห์ การทดลองแบบ randomized controlled trials 3 เรื่อง (การศึกษาทางคลินิกที่สุ่มคนมาเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสองกลุ่มหรือมากกว่าสองกลุ่มการรักษา) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 83 คน จากข้อมูลในการทดลองเหล่านี้ ดูเหมือนยา topiramate จะทนต่อผลข้างเคียงได้ดีกว่ายา Valproate แต่ไม่ได้มีประสิทธิผลเหนือกว่ายา Valproate Topiramate เหมือนจะทำงานได้ดีกว่าการใช้ยาหลอก แต่เป็นผลการศึกษานี้ได้มาจากกลุ่มประชากรจำนวนน้อย
คุณภาพของหลักฐาน
คุณภาพของหลักฐานจากการศึกษานี้ต่ำมาก และควรมีการแปลผลการศึกษาอย่างระมัดระวัง ยังคงต้องการการทดลองแบบ randomized controlled trial ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เพื่อทดสอบถึงประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการใช้ยา topiramate ในคนที่เป็น JME การทดลองในอนาคตควรมีการออกแบบงานวิจัยที่ดี และ มีกระบวนการปกปิดทั้งผู้เข้าร่วมและผู้วิจัยไม่ให้ทราบถึงการรักษาที่ให้ไปจนกระทั่งผลการศึกษาถูกเก็บรวบรวมแล้ว
บทสรุป
การทบทวนวรรณกรรมนี้ไม่ได้ให้ข้อมูลพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้ยา topiramate ในการรักษาคนไข้ JME
เราไม่พบการศึกษาใหม่ตั้งแต่การทบทวนวรรณกรรมครั้งสุดท้ายในปี 2017 การทบทวนวรรณกรรมนี้ไม่ได้ให้ข้อมูลพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้ยา topiramate ในการรักษาคนไข้ JME จากข้อมูลที่จำกัดในขณะนี้ พบว่ายา topiramate ดูเหมือนจะดีกว่ายา valproate ในเรื่องการทนต่อผลข้างเคียงแต่ไม่มีประโยชน์ชัดเจนในเรื่องประสิทธิภาพที่เหนือกว่ายา valproate การออกแบบรูปแบบงานวิจัยที่ดี double-blind RCTs ที่มีขนาดตัวอย่างใหญ่ มีความจำเป็นในการที่จะช่วยทดสอบประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาโดยใช้ยา topiramate ในผู้ป่วยโรคลมชักแบบ JME
Topiramate เป็นยากันชักกลุ่มใหม่ที่ออกฤทธิ์กว้างครอบคลุมการชักได้หลายชนิด บางการศึกษาได้แสดงถึงประโยชน์ของการใช้ยา topiramate ในการรักษาคนไข้โรคลมชักกลุ่ม juvenile myoclonic epilepsy (JME) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อวัดประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการใช้ยา topiramate ในผู้ป่วยที่เป็น JME การศึกษานี้เป็นการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของ Cochrane หลังจากเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2015 และมีการปรับปรุงล่าสุดในปี 2017
เพื่อประเมินประสิทธิผลและการทนต่อผลข้างเคียงของการรักษา JME ด้วยยา topiramate
สำหรับการปรับปรุงล่าสุด วันที่ 10 กรกฎาคม 2018 เราพบการศึกษาที่ลงทะเบียนใน Cochrane (CRS web) ซึ่งประกอบด้วย the Cochrane Epilepsy Group's Specialized Register และ the Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL), MEDLINE (Ovid 1946- ), และ ClinicalTrials.gov เรายังสืบค้นในการลงทะเบียนทดลองที่ต่อเนื่อง, รายชื่อเอกสารอ้างอิง, การประชุมที่เกี่ยวข้อง, ผู้เขียนการศึกษาที่อยู่ในการติดต่อ และ บริษัทยา อีกด้วย
เรารวบรวมการทดลองแบบ Randomized controlled trials (RCTs) ที่ค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ยา topiramate กับยาหลอก หรือยากันชักอื่น ๆ ในการรักษาผู้ป่วย JME โดยดูผลลัพธ์เป็นสัดส่วนของการตอบสนองต่อยาและสัดส่วนของผลข้างเคียงที่พบจากผู้เข้าร่วมการทดลอง
สองผู้ประพันธ์ผู้ทำการทบทวนได้ทำการคัดกรองหัวข้อและบทคัดย่อของบันทึกที่เกี่ยวข้อง, เลือกการศึกษาที่จะเข้ามา, คัดแยกข้อมูลมและตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องและประเมินคุณภาพเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย เราไม่ได้ทำการวิเคราะห์แบบ meta-analyses เนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่
เรารวบรวมการศึกษาได้ 3 เรื่อง มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 83 คน สำหรับเรื่องประสิทธิภาพพบว่ามีสัดส่วนที่มากขึ้นในกลุ่มที่ใช้ยา topiramate 50% หรือ ลดการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (PGTCS) ได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญในเรื่องการตอบสนองของยาระหว่างยาtopiramateและ valproate โดยสามารถลดการชักแบบสะดุ้ง (myoclonic seizure) หรือการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (PGTCS) ได้มากกว่า 50% หรือทำให้ไม่มีอาการชักเลย เกี่ยวกับความทนต่อผลข้างเคียงของยา เราได้จัดระดับผลข้างเคียงของยา topiramate ไว้ในระดับปานกลางถึงรุนแรง ในขณะที่ผลข้างเคียงที่เชื่อมโยงกับยา valproate พบ 59% ซึ่งเป็นการร้องเรียนที่รุนแรง ยิ่งไปกว่านั้น คะแนนความเป็นพิษ (Systemic toxicity scores) พบสูงกว่าในกลุ่มที่ใช้ยา Valproate เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยา Topiramate
โดยรวมแล้ว เราตัดสินทั้งการศึกษา 3 เรื่อง ว่ามีความเสี่ยงสูงของการมีอคติ attrition bias และ มีความเสี่ยงไม่ชัดเจนของการมีอคติ reporting bias การศึกษาทั้ง 3 เรื่อง ยังคงมีอคติระดับต่ำถึงระดับไม่ชัดเจนในเรื่องประเด็นที่เหลือ (random sequence, allocation, blinding) เราได้ตัดสินว่าคุณภาพของหลักฐานนี้อยู่ในระดับต่ำมาก
แปลโดย พญ.วธูหทัย ไพบูลย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 9 มกราคม 2020