เรื่องนี้มีปัญหาอย่างไร
อาการท้องผูกในช่วงหลังคลอดเป็นความผิดปกติของลำไส้ซึ่งมีลักษณะอาการเช่นปวดหรือไม่สบายเครียดอุจจาระเป็นก้อนแข็งและรู้สึกถึงการขับถ่ายของลำไส้ที่ไม่สมบูรณ์ การสวนถ่ายก่อนคลอด ความสามารถของสตรีในการกินอาหารในช่วงคลอด และพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติและเปลี่ยนแปลงในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอดอาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ในช่วงไม่กี่วันหลังคลอด นี่คือการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่เผยแพร่ครั้งแรก ในปี 2015
ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ
ความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายตัวระหว่างการถ่ายอุจจาระอาจเป็นสาเหตุของความกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังพักฟื้นจากความเครียดจากการคลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสตรีนายนั้นได้รับการเย็บซ่อมฝีเย็บหรือเป็นโรคริดสีดวงทวาร อาการท้องผูกหลังคลอดอาจทำให้เครียดได้เนื่องจากการกดทับที่ผนังทวารหนักมากเกินไปซึ่งนำไปสู่การกระสับกระส่ายและการเจ็บปวดขณะถ่ายอุจจาระซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกแรกเกิด
ผู้วิจัยพบหลักฐานเชิงประจักษ์อะไรบ้าง
เราค้นหาการศึกษาจนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2019 เราไม่พบการศึกษาใหม่ที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกของเรา ดังนั้นเราจึงรวม 5 การทดลอง (ซึ่งเกี่ยวข้องกับสตรีทั้งหมด 1208 คน) ในการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ โดยรวมแล้วการศึกษาได้รับการรายงานที่ไม่ดีและ 4 ใน 5 การศึกษาได้รับการเผยแพร่เมื่อ 40 ปีก่อน มี 4 การศึกษาเปรียบเทียบยาระบายกับยาหลอก
มี 2 การศึกษาประเมินผลของยาระบาย ซึ่งตอนนี้เราพบว่าอาจเป็นอันตรายต่อมารดาที่ให้นมบุตร ยา Danthron แสดงให้เห็นว่าก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ และอีกตัวคือ Bisoxatin acetate ไม่แนะนำในกรณีที่ให้นมบุตร ดังนั้นเราจึงไม่รวมผลของการทดลองเหล่านี้ในการค้นพบหลักของเรา
การศึกษาไม่ได้ดูที่ความเจ็บปวดหรือความตึงเครียดในการถ่ายอุจจาระ อุบัติการณ์ของอาการท้องผูก หรือคุณภาพชีวิต แต่ประเมินเวลาในการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรก ในการศึกษาหนึ่งที่ประเมินผลของมะขามแขกเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่าสตรีจำนวนมากในกลุ่มที่ได้ยาระบายมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ในวันที่คลอดและมีสตรีน้อยลงที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรกในวันที่ 2 และ 3 ในขณะที่ผลยังสรุปไม่ได้ระหว่างกลุ่มในวันที่ 1 และ 4 หลังคลอด สตรีจำนวนมากมีอาการปวดบีบท้องเมื่อเทียบกับสตรีในกลุ่มยาหลอกและทารกที่มารดาได้รับยาระบายไม่มีแนวโน้มที่จะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องร่วง หลักฐานสำหรับผลลัพธ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีความไม่แน่นอนเนื่องจากเรามีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดอคติและผลลัพธ์ทั้งหมดมาจากการศึกษาขนาดเล็กที่ดำเนินการในสถาบันแห่งเดียวในแอฟริกาใต้
มี 1 การทดลอง เปรียบเทียบยาระบายร่วมกับยาเพิ่มการเกิดอุจจาระ (Ispaghula husk) กับยาระบายอย่างเดียวในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อเย็บแซมการฉีกขาดของฝีเย็บระดับที่ 3 (เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักภายในหรือภายนอก) ที่เกิดขึ้นระหว่างการคลอดทางช่องคลอด การทดลองรายงานเกี่ยวกับความเจ็บปวดหรือการเบ่งถ่ายอุจจาระ แต่ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนในเรื่องคะแนนความเจ็บปวดระหว่างกลุ่ม การทดลองรายงานว่าสตรีที่ได้รับยาระบายร่วมกับยาที่ทำให้เกิดการสร้างอุจจาระมีแนวโน้มที่จะมีอาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ในช่วงหลังคลอดทันที อย่างไรก็ตามหลักฐานมีความไม่แน่นอนอย่างมาก การทดลองไม่ได้รายงานเกี่ยวกับผลเสียใด ๆ ต่อทารก
หลักฐานนี้หมายความว่าอย่างไร
ไม่มีหลักฐานเพียงพอจากการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาระบายในช่วงหลังคลอดระยะแรกเพื่อให้ได้ข้อสรุปทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
เราไม่พบการทดลองใดๆ ที่ประเมินผลของวิธีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงและการออกกำลังกาย เราต้องการการทดลองขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงในเรื่องนี้โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิธีการที่ไม่ใช่ทางการแพทย์เพื่อป้องกันอาการท้องผูกหลังคลอด เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารและการออกกำลังกาย
ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาระบายเพื่อป้องกันอาการท้องผูกหลังคลอด หลักฐานในการทบทวนนี้ได้รับการประเมินว่าเป็นหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำถึงต่ำมาก โดยมีการลดระดับการตัดสินใจโดยพิจารณาจากข้อจำกัดในการออกแบบการทดลอง ความไม่แน่นอนและความไม่แม่นยำ
เราไม่พบการทดลองใด ๆ ที่ประเมินผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เราพบ 4 การทดลอง ที่ตรวจสอบยาระบายเทียบกับยาหลอก และอีก 1 การทดลอง ที่ตรวจสอบยาระบายเทียบกับยาระบายร่วมกับสารที่เพิ่มปริมาณอุจจาระ
นอกจากนี้จำเป็นต้องมีการทดลองอย่างเข้มงวดเพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาระบายในช่วงหลังคลอดเพื่อป้องกันอาการท้องผูก การทดลองควรประเมินวิธีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม และท่าทางที่ช่วยเพิ่มการถ่ายอุจจาระ ควรรายงานเกี่ยวกับผลลัพธ์หลักจากการทบทวนนี้: ความเจ็บปวดหรือความตึงเครียดในการถ่ายอุจจาระ อุบัติการณ์ของอาการท้องผูกหลังคลอด คุณภาพชีวิต ระยะเวลาในการขับถ่ายครั้งแรกหลังคลอดและผลข้างเคียงที่เกิดจากวิธีการที่ให้ เช่น คลื่นไส้อาเจียนปวด และ การผายลม
อาการท้องผูกหลังคลอดที่มีอาการเช่นปวดหรือความรู้สึกไม่สบาย ความเครียด และอุจจาระแข็งเป็นภาวะที่พบบ่อยที่ส่งผลต่อมารดา โรคริดสีดวงทวาร ความเจ็บปวดบริเวณแผลฝีเย็บ ผลของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ และการสร้างเม็ดเลือดที่ใช้ในการตั้งครรภ์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของอาการท้องผูกหลังคลอดได้ โดยปกติแล้วจะมีการรกระตุ้นการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงและเพิ่มปริมาณของเหลว แม้ว่ายาระบายมักใช้ในการบรรเทาอาการท้องผูก แต่ควรตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีการป้องกันที่มีอยู่เพื่อป้องกันอาการท้องผูกหลังคลอด นี่คือการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่เผยแพร่ครั้งแรก ในปี 2015
เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของมาตรการป้องกันอาการท้องผูกหลังคลอด
ในการปรับปรุงนี้เราสืบค้นจาก Cochrane Pregnancy and Childbirth's Trials Register และ ทะเบียนการทดลอง 2 ฐาน, ClinicalTrials.gov, the WHO International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) (7 ตุลาคม 2019) และเอกสารอ้างอิงของการทดลองที่สืบค้นมาได้
เราพิจารณาการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCTs) ทั้งหมดที่เปรียบเทียบวิธีการใด ๆ เพื่อป้องกันอาการท้องผูกหลังคลอดเทียบกับวิธีการอื่นๆ ยาหลอก หรือไม่ได้รับการดูแลรักษาใดๆ ในสตรีหลังคลอด วิธีการรักษาอาจรวมถึงเภสัชวิทยา (เช่นยาระบาย) และวิธีการที่ไม่ใช่เภสัชวิทยา (เช่นการฝังเข็ม วิธีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม) รวมถึง การทดลองที่เป็นแบบ Quasi-randomised trials และ cluster-RCTs แต่พบว่าไม่พบการทดลองลักษณะดังกล่าว การทดลองแบบ cross-over design ไม่ถูกนำเข้ามารวมในการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้
ผู้ประพันธ์การทบทวน 2 คน คัดกรองผลการค้นหาอย่างอิสระต่อกันเพื่อเลือกการทดลองที่อาจเกี่ยวข้อง ดึงข้อมูลประเมินความเสี่ยงของอคติและความเชื่อมั่นของหลักฐานโดยใช้แนวทาง GRADE เราไม่ได้รวมผลลัพธ์ไว้ในการวิเคราะห์อภิมาน แต่รายงานตามการศึกษา
เรารวม 5 การทดลอง (มารดาหลังคลอด 1208 ราย); 3 RCTs และ 2 quasi-RCTs มี 4 การทดลอง เปรียบเทียบยาระบายกับยาหลอก อีก 1 การทดลอง เปรียบเทียบยาระบายร่วมกับยาที่เพิ่มปริมาณอุจจาระเปรียบเทียบกับยาระบายอย่างเดียวในสตรีที่ได้รับการเย็บซ่อมฝีเย็บระดับที่ 3 โดยรวมแล้วการทดลองได้รับการรายงานที่ไม่ดีและ 4 ใน 5 การทดลองได้รับการเผยแพร่เมื่อ 40 ปีก่อน เราได้ตัดสินความเสี่ยงของอคติว่าไม่ชัดเจนสำหรับโดเมนส่วนใหญ่ โดยรวมแล้วเราพบว่ามีความเสี่ยงของการมีอคติสูงในการเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ (selection bias) และอคติในการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ (attrition bias)
การเปรียบเทียบระหว่างยาระบายกับยาหลอก
เรารวมการ 4 การทดลองไว้ในการเปรียบเทียบนี้ มี 2 การทดลอง ได้ตรวจสอบผลของยาระบายที่ไม่ใช้แล้ว พบว่ามีคุณสมบัติในการก่อมะเร็ง (Danthron) และอีกอันไม่แนะนำสำหรับสตรีให้นมบุตร (Bisoxatin acetate) ดังนั้นเราจึงไม่รวมผลลัพธ์ของการทดลองนี้ไว้ในการค้นพบหลักของเรา
ไม่มีการทดลองใดที่รวมอยู่ในการเปรียบเทียบนี้ที่ประเมินผลลัพธ์หลักของเรา: ความเจ็บปวดหรือความตึงเครียดจากการถ่ายอุจจาระ อุบัติการณ์ของอาการท้องผูกหลังคลอด หรือคุณภาพชีวิต หรือผลลัพธ์รองของเรา
ยาระบาย (มะขามแขก) อาจเพิ่มจำนวนสตรีที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด (risk ratio (RR) 2.90, 95% confidence interval (CI) 2.24 ถึง 3.75; 1 การทดลอง; สตรี 471 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ); อาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อจำนวนสตรีที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรกในวันแรกหลังคลอด (RR 0.94, 95% CI 0.72 ถึง 1.22; 1 การทดลอง, สตรี 471 คน; หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำมาก); อาจลดจำนวนสตรีที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรกในวันที่ 2 (RR 0.23, 95% CI 0.11 ถึง 0.45; 1 การทดลอง; สตรี 471 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) และวันที่ 3 (RR 0.05, 95% CI 0.00 ถึง 0.89; 1 การทดลอง; สตรี 471 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ); และอาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อจำนวนสตรีที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรกในวันที่ 4 หลังคลอด (RR 0.22, 95% CI 0.03 ถึง 1.87; 1 การทดลอง; สตรี 471 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) แต่บางส่วนของหลักฐานมีความไม่แน่นอนอย่างมาก
ไม่มีการรายงานเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ แสดงให้เห็นว่ายาระบาย (มะขามแขก) อาจเพิ่มจำนวนสตรีที่มีอาการปวดบีบท้อง (RR 4.23, 95% CI 1.75 ถึง 10.19; 1 การทดลอง, สตรี 471 คน) หลักฐานมีความน่าเชื่อถือต่ำมาก แสดงให้เห็นว่ายาระบายที่มารดาได้รับอาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลต่อการทำให้อุจจาระเหลวในทารก (RR 0.62, 95% CI 0.16 ถึง 2.41; 1 การทดลอง, ทารก 281 คน); หรือท้องเสีย (RR 2.46, 95% CI 0.23 ถึง 26.82; 1 การทดลอง, ทารก 281 คน)
ยาระบายร่วมกับยาที่ทำให้เกิดการสร้างอุจจาระเปรียบเทียบกับยาระบายอย่างเดียว
หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมากจาก 1 การทดลอง (สตรี 147 คน) แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างสตรี 2 กลุ่มนี้ที่ได้รับการซ่อมแซมฝีเย็บระดับที่ 3 มีการรายงานเฉพาะข้อมูลมัธยฐานและช่วงเท่านั้น การทดลองยังรายงานว่าไม่มีความแตกต่างในอุบัติการณ์ของอาการท้องผูกหลังคลอด (ไม่มีรายงานข้อมูล) แต่ไม่ได้รายงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต เวลาในการเคลื่อนไหวของลำไส้ครั้งแรกรายงานเป็นค่ามัธยฐาน (ช่วง); หลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำมากชี้ให้เห็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม ยาระบายร่วมกับสารเพิ่มปริมาณอุจจาระอาจเพิ่มจำนวนสตรีที่มีอาการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ในช่วง 10 วันแรกหลังคลอด (RR 1.81, 95% CI 1.01 ถึง 3.23; 1 การทดลอง, สตรี 147 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) การทดลองไม่ได้รายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวิธีการที่ให้ต่อทารกหรือผลลัพธ์รองหลายประการของเรา
Translation notes CD011625.pub3