การดูดหลอดลมของทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงที่น้ำคร่ำมี meconium-stained

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการเอา meconium ออกจากหลอดลม (windpipe) โดยการนำท่อเข้าไปในหลอดลม (intubation) และการดูดเมื่อแรกเกิดในทารกที่มีน้ำคร่ำที่เปื้อน meconium และมีอาการอ่ออนแอ (ระบุโดยการไม่หายใจหรืออาการอ่อนปวกเปียก หรืออัตราการเต้นของหัวใจต่ำ) เมื่อแรกเกิด

ความเป็นมา

Meconium เป็นสารคล้ายน้ำมันดินสีเขียวข้น ซึ่งอยู่ในลำไส้ของทารกในระหว่างตั้งครรภ์ Meconium ประกอบด้วยเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในลำไส้ (เลือด เซลล์ผิวหนัง ฯลฯ) ที่ทารกในครรภ์กินเข้าไป โดยปกติ Meconium จะผ่านออกไปภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ที่เลือดหรือออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์บกพร่อง หรือการตั้งครรภ์นานเกินช่วงปกติ 40 สัปดาห์ อาจมีการออกมาของ meconium ก่อนคลอด เมื่อออกมาแล้ว meconium อาจถูกสูด (สำลัก) จากน้ำคร่ำเข้าไปในทางเดินหายใจก่อนคลอดหรือด้วยการหายใจครั้งแรกหลังคลอด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจและการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดจากสารพิษ (โรคปอดบวมจากสารเคมี) เกือบ 10% ถึง 25% ของการเกิดมีภาวะแทรกซ้อนโดยการออกมาของ meconium ก่อนคลอด และในจำนวนนี้ 5% ถึง 12% ของทารกแรกเกิดมีอาการสำลัก meconium (MAS) MAS อาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงการหายใจล้มเหลวที่คุกคามถึงชีวิต แนวทางหนึ่งในการป้องกัน MAS คือการตรวจหาทารกที่มีอาการไม่แข็งแรงตั้งแต่แรกเกิด และเอา meconium ออกจากทางเดินหายใจก่อนที่ทารกจะหายใจครั้งแรก ในกระบวนการนี้ ท่อช่วยหายใจจะถูกสอดเข้าไปในหลอดลมส่วนบนและดึงออกมาในขณะที่หลอดลมกำลังถูกดูด อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจไม่ป้องกัน MAS หากทารกดูด meconium ก่อนคลอด นอกจากนี้ ทารกส่วนใหญ่ที่ควรได้รับวิธีการนี้จำเป็นต้องได้รับการช่วยชีวิตโดยทันที และการดำเนินการดูดหลอดลมมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายโดยการชะลอการเริ่มต้นของการช่วยหายใจ

ลักษณะของการศึกษา

เรารวมการศึกษา 4 รายการ (ทารกแรกเกิด 581 คน) ที่ดำเนินการในโรงพยาบาลในอินเดีย การศึกษา 3 ใน 4 รายการรวมทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดและอีก 1 รายการรวมทารกแรกเกิดที่เกิดที่ 34 สัปดาห์หรือนานกว่านี้ การศึกษาทั้ง 4 รายการค้นหาทารกแรกเกิดที่เข้าเกณฑ์โดยมีสิ่งต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่างตั้งแต่แรกเกิด: ไม่หายใจหรือร้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการประกอบด้วยการดูดหลอดลมในเวลาที่เกิดโดยมีเจตนาที่จะเอา meconium ออกจากหลอดลมก่อนการหายใจปกติจะเริ่มขึ้น ทารกแรกเกิดในกลุ่มควบคุมควรได้รับการช่วยชีวิตตั้งแต่แรกเกิดโดยไม่ต้องพยายามเอา meconum ออกจากหลอดลม

การสืบค้นเป็นปัจจุบันถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2020

ผลการศึกษาที่สำคัญ

เราไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับผลของการดูดหลอดลมในการลดความเสี่ยงของ MAS สำหรับทารกแรกเกิด 1000 คนที่ได้รับการดูดหลอดลม MAS อาจพบในทารกแรกเกิดน้อยลง 70 คนถึงมากขึ้น 80 คน ในทำนองเดียวกัน เราไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับผลของการดูดหลอดลมต่อความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนออกจากโรงพยาบาล (น้อยลง 22 คน ถึงมากขึ้น 92 คนต่อทารกแรกเกิด 1000 คน) เรายังไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับผลของการดูดหลอดลมต่อความเสี่ยงของผลลัพธ์อื่นๆ เช่น ความจำเป็นในการดำเนินมาตรการช่วยชีวิตขั้นสูง อาการทางสมอง (สมองเสียหายหรือเป็นโรค) เนื่องจากภาวะขาดอากาศหายใจ (การขาดออกซิเจนซึ่งส่งผลให้หมดสติและมักเสียชีวิต); ความจำเป็นหรือระยะเวลาของต้องช่วยการหาบใจด้วยเครื่อง ความจำเป็นในการสนับสนุนระบบทางเดินหายใจที่เป็นแบบ non-invasive (หน้ากาก); ระยะเวลาของการบำบัดด้วยออกซิเจน และระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้และอื่นๆ ของ MAS นั้นไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการดูดหลอดลม

ความชื่อมั่นของหลักฐาน

มีหลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมากจากการศึกษาทั้ง 4 รายการที่รวมอยู่ในการทบทวนวรรณกรรมนี้ ประการแรก ในการศึกษาส่วนใหญ่ เจ้าหน้าทที่ดูแลทางคลินิกหรือตัดสินใจการมีผลลัพธ์ที่ได้ ทราบถึงการแบ่งกลุ่มการศึกษาของทารก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของอคติ ประการที่สอง เนื่องจากการศึกษามีขนาดเล็กและอุบัติการณ์ของผลลัพธ์ต่ำ เราจึงมีความมั่นใจต่ำในการพิจารณาผลประโยชน์หรืออันตรายที่สำคัญทางคลินิกเมื่อทำการดูดหลอดลม การศึกษา 1 รายการ กำลังรอการจัดหมวดหมู่และไม่สามารถรวมในการทบทวนวรรณกรรม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมจากการทดลองขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินการอย่างดีเพื่อตอบคำถามการทบทวนวรรณกรรมโดยสรุป

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

เราไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับผลของการดูดหลอดลมต่ออุบัติการณ์ของ MAS และภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงที่มี MSAF การศึกษา 1 รายการ กำลังรอการจัดหมวดหมู่และไม่สามารถรวมในการทบทวนวรรณกรรม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมจากการทดลองขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินการอย่างดีเพื่อตอบคำถามการทบทวนวรรณกรรมโดยสรุป

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ทารกแรกเกิดที่น้ำคร่ำมี meconium-stained (MSAF) มีความเสี่ยงที่จะเกิด meconium aspiration syndrome (MAS) ทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงเนื่องจากภาวะขาดอากาศหายใจในครรภ์มีความเสี่ยงสูงในการเกิด MAS การเอา meconium ออกจากทางเดินหายใจใต้สายเสียงโดยการดูดหลอดลมก่อนเริ่มขั้นตอนอื่นๆ ของการช่วยชีวิตอาจลดความเสี่ยงของการเกิด MAS อย่างไรก็ตาม การดูดหลอดลมอาจไม่เพียงแต่ไม่ได้ผลเท่านั้น แต่ยังอาจชะลอการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งส่งผลให้ผลของการขาดออกซิเจนและขาดเลือดนานขึ้นและแย่ลง

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดูดหลอดลมตั้งแต่แรกเกิดในการป้องกัน meconium aspiration syndrome และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงที่น้ำคร่ำมี meconium stained

วิธีการสืบค้น: 

เราใช้วิธีการสืบค้นมาตรฐานของ Cochrane Neonatal เพื่อค้นหา Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL 2020 ฉบับที่ 11) ใน Cochrane Library Ovid MEDLINE(R) และ Epub Ahead of Print, In-Process & Other Non-Indexed Citations, Daily and Versions(R) (1946 ถึง 25 พฤศจิกายน 2020) สำหรับ randomized controlled trials (RCTs) และ quasi‐randomised trials นอกจากนี้เรายังสืบค้นฐานข้อมูลการทดลองทางคลินิกและรายการอ้างอิงของบทความที่พบสำหรับ RCT และการทดลองกึ่งสุ่ม (จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020)

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวมการศึกษาที่ศึกษาในทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงที่มี MSAF หากวิธีการที่ทำการทดสอบรวมถึงการดูดหลอดลมตอนเกิดโดยมีเจตนาที่จะเอา meconium ออกจากหลอดลมก่อนการหายใจปกติจะเริ่มขึ้น การดูดหลอดลมสามารถทำได้โดยใช้ท่อช่วยหายใจหรือสายสวนดูดขนาดกว้าง ทารกแรกเกิดในกลุ่มควบคุมควรได้รับการช่วยชีวิตตั้งแต่แรกเกิดโดยไม่ต้องพยายามทำความสะอาดเอา meconum ออกจากหลอดลม

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ประพันธ์การทบทวนวรรณกรรม 2 คนประเมินคุณภาพการทดลองและคัดลอกข้อมูลอย่างอิสระ โดยปรึกษากับผู้ประพันธ์การทบทวนคนที่ 3 เกี่ยวกับข้อขัดแย้งใดๆ เราใช้ขั้นตอนวิธีมาตรฐานของ Cochrane รวมถึงการประเมินความเสี่ยงของอคติสำหรับการศึกษาทั้งหมด ผลลัพธ์หลักของเราคือ: MAS; การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดทุกสาเหตุ และอุบัติการณ์ของโรคสมองจากสมองขาดเลือด (HIE) ผลลัพธ์รอง ได้แก่ ความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยหายใจ, อุบัติการณ์ของการรั่วไหลของลมในปอด, culture-positive sepsis และ persistent pulmonary hypertension เราใช้วิธี GRADE เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐาน

ผลการวิจัย: 

เรารวมการศึกษา 4 รายการ (รวมทารกแรกเกิด 581 คน) ในการทบทวนวรรณกรรม การศึกษาทั้ง 4 รายการดำเนินการในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในอินเดีย การศึกษา 3 ใน 4 รายการรวมทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดและอีก 1 การศึกษารวมทารกแรกเกิดที่เกิดที่ 34 สัปดาห์หรือนานกว่านี้ เนื่องจากลักษณะของวิธีการ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะปกปิดบุคลากรทางการแพทย์ที่ดำเนินการรักษา

การดูดหลอดลมเมื่อเทียบกับการไม่ดูดในทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงที่มี MSAF

ในทารกที่ไม่แข็งแรง ไม่มีความแตกต่างในความเสี่ยงของ MAS (RR 1.00, 95% CI 0.80 ถึง 1.25; RD 0.00, 95% CI -0.07 ถึง 0.08; การศึกษา 4 รายการ, ทารกแรกเกิด 581 คน) หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ( RR 1.24, 95% CI 0.76 ถึง 2.02; RD 0.02, 95% CI -0.03 ถึง 0.07; การศึกษา 4 รายการ, ทารกแรกเกิด 575 คน) โดยมีหรือไม่มีการดูดหลอดลม ไม่มีรายงานความแตกต่างในความเสี่ยงของ HIE ทุกความรุนแรง (RR 1.05, 95% CI 0.68 ถึง 1.63; 1 การศึกษา, ทารกแรกเกิด 175 คน) หรือ HIE ระดับปานกลางถึงรุนแรง (RR 0.68, 95% CI 0.43 ถึง 1.09; 1 การศึกษา, ทารกแรกคลอด 152 คน) ในกลุ่มทารกแรกเกิดที่ไม่แข็งแรงที่มี MSAF เรายังไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับผลของการดูดหลอดลมต่อผลลัพธ์อื่นๆ เช่น อุบัติการณ์ของการช่วยหายใจ (RR 0.99, 95% CI 0.68 ถึง 1.44; RD 0.00, 95% CI -0.06 ถึง 0.06; การศึกษา 4 รายการ, ทารกแรกเกิด 581 คน) การรั่วของอากาศในปอด (RR 1.22, 95% CI 0.38 ถึง 3.93; RD 0.00, 95% CI -0.02 ถึง 0.03; 3 การศึกษา, ทารกแรกเกิด 449 คน), ภาวะความดันปอดสูงแบบถาวร (RR 1.29, 95% CI 0.60 ถึง 2.77; RD 0.02, 95% CI -0.03 ถึง 0.06; การศึกษา 3 รายการ, ทารกแรกเกิด 406 คน) และ culture-positive sepsis (RR 1.32, 95% CI 0.48 ถึง 3.57; RD 0.01, 95% CI -0.03 ถึง 0.05; 3 การศึกษา, ทารกแรกเกิด 406 คน) ผลลัพธ์ที่รายงานทั้งหมดได้รับการพิจารณาว่าเป็นหลักฐานที่มีความเชื่อมั่นต่ำมาก

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 21 มิถุนายน 2021

Tools
Information