ใจความสำคัญ
-
หลักฐานเกี่ยวกับผลของเทคนิคการจัดการฝีเย็บเพื่อป้องกันการบาดเจ็บหลังคลอดและการเสียเลือดยังคงไม่ชัดเจนเนื่องจากคุณภาพการศึกษาไม่ดีและการศึกษามีขนาดเล็ก
-
จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในวงกว้างที่ดำเนินการอย่างดี และควรวัดการตกเลือดหลังคลอด ผลข้างเคียง และความพึงพอใจของมารดา
การบาดเจ็บหลังคลอดคืออะไร
อาการบาดเจ็บหลังคลอดอาจเกิดขึ้นที่บริเวณฝีเย็บ (พื้นที่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก) ในระหว่างการคลอดบุตร สตรีที่ได้รับบาดเจ็บหลังคลอดอาจมีการเสียเลือดมาก
เราต้องการค้นหาอะไร
เราต้องการค้นหาว่าเทคนิคการจัดการฝีเย็บ (เช่น การประคบอุ่น การนวด การเปล่งเสียง หรือน้ำมัน) ใดที่ดีกว่าการดูแลปกติในระหว่างการคลอดบุตร เพื่อปรับปรุงการบาดเจ็บบริเวณฝีเย็บและการเสียเลือด
นอกจากนี้ เรายังอยากทราบด้วยว่าเทคนิคการจัดการฝีเย็บที่แตกต่างกันมีความเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการหรือไม่
เราทำอะไรไปแล้วบ้าง
เราได้ค้นหาการศึกษาวิจัยที่ดูว่าการใช้เทคนิคการจัดการฝีเย็บ เช่น การนวด การประคบอุ่น การเปล่งเสียง หรือน้ำมัน ในระยะคลอดจริง จะส่งผลให้การบาดเจ็บของฝีเย็บและการเสียเลือดในระหว่างการคลอดลดลงเมื่อเทียบกับการดูแลตามปกติหรือไม่
เราเปรียบเทียบและสรุปผลการศึกษา และให้คะแนนความเชื่อมั่นในหลักฐานโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น วิธีการศึกษาและจำนวนผู้เข้าร่วม
เราพบอะไร
เราพบการศึกษา 17 ฉบับ ที่รวมผู้หญิงทั้งหมด 13,695 คนที่ได้รับการจัดการฝีเย็บหรือการดูแลตามปกติระหว่างการคลอดบุตร
หลักฐานมีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ครึ่งหนึ่งของการศึกษาที่รวมอยู่ในนั้นดำเนินการก่อนปี 2010 ดังนั้นจึงนำเสนอหลักฐานเก่ากว่าเกี่ยวกับเทคนิคที่อาจไม่ได้ใช้บ่อยนักในทางคลินิกในปัจจุบัน การศึกษาวิจัยมีน้อยมากที่รายงานการเสียเลือด ประสบการณ์ของสตรีหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ หรือผลลัพธ์ที่สำคัญอื่นๆ
หลักฐานนี้เป็นปัจจุบันแค่ไหน
หลักฐานเป็นปัจจุบันถึงวันที่ 16 เมษายน 2024
โดยรวมแล้ว หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของเทคนิคการจัดการฝีเย็บในการลดการบาดเจ็บทางฝีเย็บและเลือดออกหลังคลอดยังคงไม่น่าเชื่อมั่นอย่างมาก
มีการศึกษาน้อยมากที่รายงานอัตราการตกเลือดหลังคลอด เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ประสบการณ์ของสตรีหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผลลัพธ์สำคัญอื่นๆ ที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงประสิทธิผลและความยอมรับของเทคนิคทางฝีเย็บเพื่อลดการบาดเจ็บทางฝีเย็บ ก่อนที่จะดำเนินการทดลองขนาดใหญ่ใดๆ เพิ่มเติม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อชี้แจงประเภทของวิธีการ รวมทั้งคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง มีความจำเป็นต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่าจะเสนอ วิธีการ อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลตามที่ต้องการ การทดลองจะได้รับประโยชน์จากการประเมินกระบวนการควบคู่ไป เพื่อสำรวจบริบท กลไก และผลกระทบ
เพื่อประเมินผลของเทคนิคการจัดการฝีเย็บในระยะที่ 2 ของการคลอดบุตรต่ออุบัติการณ์และการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บของฝีเย็บเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
เราค้นหา 4 ฐานข้อมูลและ 2 ทะเบียนการทดลองจนถึงวันที่ 16 เมษายน 2024 เราตรวจสอบเอกสารอ้างอิง ค้นหาการอ้างอิง และติดต่อผู้ประพันธ์การศึกษาเพื่อคันหาการศึกษาเพิ่มเติม
แปลโดย ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ สาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5 ธันวาคม 2024