การให้การศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ประเด็นปัญหาคืออะไร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้สุขภาพของเด็กและแม่ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกดีขึ้น ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีปัญหาทางกระเพาะอาหารและทางการหายใจน้อยลง การติดเชื้อในหูน้อยลง การพูด การมองเห็นและการพัฒนาการทั้งกายและจิตใจดีขึ้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่เกิดจนถึงหกเดือนและรับนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัยจนถึงสองปี หรือนานกว่านั้น สตรีหลายคนไม่สามารถทำตามคำแนะนำนี้ได้และเราต้องการทราบวิธีการที่จะช่วยให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

ทำไมเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

การให้การศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์คือการสอนสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ ก่อนที่ทารกจะคลอด เหตุผลอย่างหนึ่งที่สตรีไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เพราะขาดความรู้ความเข้าใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร เราเชื่อว่าการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงตั้งครรภ์อาจจะช่วยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีขึ้น แต่เราไม่แน่ใจว่าการให้การศึกษาแบบไหนจะมีประโยชน์มากที่สุด

เราพบข้อมูลเชิงประจักษ์อะไรบ้าง

เรารวบรวมนำเข้าการศึกษา 24 เรื่อง สตรี 10,056 คนในการทบทวนนี้และมีการศึกษา 20 เรื่อง สตรี 9789 คนที่มีข้อมูลในการวิเคราะห์ การศึกษาส่วนใหญ่ทำในประเทศที่พัฒนาแล้วได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย การให้คำปรึกษาฉันเพื่อน, การให้คำปรึกษาการให้นมบุตรและการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเป็นระบบระหว่างการตั้งครรภ์ พบว่าไม่ช่วยเพิ่มการให้และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตามการทดลองที่ใหญ่กว่าในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง (ใน ไนจีเรีย และสิงค์โปร์)มีหลักฐานว่าการให้ศึกษาอาจช่วย

หมายความว่าอย่างไร

เรายังไม่แน่ใจว่าความรู้เรื่องการให้นมบุตรระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยสตรี ปัจจุบันไม่มีหลักฐานที่ดีจากการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่จะบอกว่าความพยายามที่จะให้ความรู้สตรีตั้งครรภ์จะทำให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นและนานขึ้น สตรีที่ได้รับการดูแลแบบมาตรฐานมีแนวโน้มจะเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอัตราเดียวกับสตรีที่ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรามีความมั่นใจว่าผลการศึกษาที่ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตอนแรกคลอดและตอนหกเดือนพบว่าการให้การศึกษาไม่มีผลต่อการตัสินใจ เรามีความสงสัยเกี่ยวกับผลของการให้การศึกษาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตอน สามและ หก เดือน การให้การศึกษาไม่ช่วย แต่การศึกษาในอนาคตอาจจะเปลี่ยนความเข้าใจของเรา การศึกษาในอนาคตน่าจะเปลี่ยนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับผลของการให้การศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตอนสามเดือน การศึกษาเกือบทั้งหมดในการทบทวนนี้ทำในประเทศทีมีรายได้สูง เราจึงไม่มั่นใจว่าข้อสรุปของเราจะใช้ได้กับบริบทอื่น

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

ไม่มีหลักฐานที่จะสรุปได้ว่าการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างตั้งครรภ์จะมีผลต่อการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตอน สามหรือ หกเดือน หรือระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องมีการทำวิจัยแบบ RCT คุณภาพสูงเพื่อประเมินประสิทธิผลและผลเสียของการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ LMIC หลักฐานที่มีในการทบทวนนี้ตรงประเด็นสำหรับประเทศที่มีรายได้สูง

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ยังไม่มีการประเมินผลของการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อเพิ่มการเริ่มและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีการสืบค้น: 

เราสืบค้น Cochrane Pregnancy and Childbirth Group's Trials Register เมื่อ 1 March 2016, CENTRAL (he Cochrane Library2016, Issue 3), MEDLINE(1966 ถึง 1 มีนาคม 2016) และ Scopus (มกราคม 1985 ถึง 1 มีนาคม 2016) เราติดต่อผู้เชี่ยวชาญและสืบค้นเอกสารอ้างอิงของบทความที่สืบค้นได้

เกณฑ์การคัดเลือก: 

การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่ตีพิมพ์แล้ว ยังไม่ได้ตีพิมพ์ และกำลังดำเนินการ ที่ประเมินผลของการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือเปรียบเทียบวิธีการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์สองแบบเพื่อเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เรารวบรวมเฉพาะการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่มีการให้การศึกษาในระหว่างการตั้วครรภ์ และไม่รวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มเปรียบเทียบที่มีการให้การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างคลอดและหลังคลอดด้วย เรารวบรวม cluster RCT ด้วย เราไม่รวม quasi RCT

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราประเมินการศึกษาทุกเรื่องที่ได้จากยุทธศาสตร์การสืบค้น ผู้ประพันธ์การทบทวนสองคนคัดลอกข้อมูลจากการศึกษาที่รวบรวมเข้ามาโดยใช้แบบฟอร์มที่ตกลงกันไว้แล้ว และประเมินความเสี่ยงของการเกิดอคติ เราแก้ปัญหาความเห็นไม่ตรงกันโดยการอภิปราย และประเมินคุณภาพของหลักฐานโดยวิธี GRADE

ผลการวิจัย: 

การ update การทบทวนวรรณกรรมนี้มีการศึกษา 24 เรื่อง(สตรี 10056 คน) มีการศึกษายี่สิบเรื่อง (สตรี 9789 คน) ที่มีข้อมูลให้การวิเคราะห์ การศึกษาส่วนใหญ่ทำในประเทศที่มีรายได้สูงได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย ในการเปรียบเทียบห้าเรื่องแรก เราแสดงผลการศึกษาที่รวบรวมเข้ามาแยกตามชนิดของวิธีการโดยไม่รวมข้อมูล สำหรับ Summary of findings เรารวมข้อมูลสำหร้บผลรวม

การศึกษาที่นำเข้ามีห้าเรื่องที่เป็น cluster RCT ทุกการศึกษามีการปรับข้อมูลและมีการรายงานผลเป็น odds ratios (OR) เราวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี generic inverse variance และนำเสนอผลเป็น odds ratio เพราะเราไม่สามารถคำนวน clustered-adjusted risk ratio จาก cluster RCT ที่ตีพิมพ์ เรายอมรับว่าการใช้ odds ratio ทำให้เราไม่สามารถรวมข้อมูลจาก cluster RCT ในการวิเคราะห์หลัก

การให้ความรู้แบบหนึ่งเปรียบเทียบกับการดูแลมาตรฐาน(ทั่วไป)

ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการให้นมแม่เป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการให้การศึกษาเพิ่มสัดส่วนของสตรีที่ให้นมลูกหรือนมลูกอย่างเดียวตอน สาม และ หกเดือน การศึกษาที่เปรียบเทียบการให้การศึกษาแบบต่างๆ ไม่สามารถบอกได้ว่า การให้การศึกษาช่วยเพิ่มการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยกเว้นการศึกษาขนาดเล็กที่มีปัญหาเรื่อง attrition bias การศึกษาหลายฉบับให้ผลว่า การให้การศึกษาได้ผล แต่มี ช่วงเชื่อมั่นกว้างและคล่อมเส้นไม่แตกต่าง ภาวะแทรกซ้อนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น เต้านมอักเสบและอย่างอื่น มีการวิจัยฉบับเดียวที่พบว่ามีผลคล้ายๆกันในกลุ่มที่ได้รับการให้การศึกษาที่ต่างกัน

เปรียบเทียบวิธีการให้การศีกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยวิธีการหลายอย่างกับการดูแลแบบที่ใช้เป็นประจำ

การวิจัยทุกฉบับในการเปรียบเทียบนี้ เรานำเสนอ cluter-adjusted odds ratio ตามที่ได้ตีพิมพ์ไว้ งานวิจัยฉบับหนี่งที่มีการเปรียบเทียบ สามวิธีการพบว่า การให้หนังสือเล่มเล็กๆ ร่วมกับ วิดีโอ และการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลปกติ เพิ่มสัดส่วนของสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตอน สาม เดือน (OR 2.60, 95% CI 1.25 to 5.40 สตรี 159 คน)และเพิ่มแบบเฉียดฉิวตอน หกเดือน (OR 2.40, 95% CI 1.00 to 5.76 สตรี 175 คน) ในการวิจัยฉบับเดียวกัน กลุ่มทดลองที่ไม่ได้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ได้รับหนังสือเล่มเล็กๆ ร่วมกับ วิดีโอไม่มีี่ผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตอน สามเดือน (OR 1.80, 95% CI 0.80 to 4.05 สตรี 159 คน) และตอนหกเดือน (OR 0.90, 95% CI 0.30 to 2.70 สตรี 184 คน) งานวิจัยหนึ่งฉบับเปรียบเทียบ การให้ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เดือนละครั้งกับการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ กับการดูแลมาตรฐานรายงานการเพิ่มขึ้นของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตอน 3 และ 6 เดือน (3 เดือน OR 1.80, 95% CI 1.10 ถึง 2.95 สตรี 390 คน: 6 เดือน OR 2.40, 95% CI 1.40 ถึง 4.11, สตรี 390 คน) การวิจัยหนึ่งฉบับพบว่า การให้ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เดือนละครั้งกับการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือดีกว่าการดูแลมาตรฐานในการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (OR 2.61, 95% CI 1.61 ถึง 4.24 สตรี 380 คน)

การให้ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เปรียบเทียบกับการดูแลมาตรฐาน การวิเคราะห์รวมสำหรับ Summary of findings (SoF)

การเปรียบที่นี้ไม่รวม cluster RCT ที่รายงาน adjusted odds ratio เราไม่ได้ downgrade หลักฐานของการวิจัยในเรื่อง blinding ไม่มีงานวิจัยใดที่ blind ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ตาราง SoF นำเสนอ risk ratios สำหรับผลลัพท์ทุกตัวที่ได้วิเคราะห์ สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนำแม่อย่างเดียว ไม่มีหลักฐานว่าการให้การศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตอน สามเดือน (RR 1.06, 95% CI 0.90 ถึง1.25 สตรี 822 คน การวิจัย 3 ฉบับ คุณภาพระดับปานกลาง) หรือตอน หกเดือน (RR 1.07, 95% CI 0.87 ถึง 1.30 สตรี 2161 คน การวิจัย 4 ฉบับ คุณภาพระดับปานกลาง) สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยรวม ไม่มีความแตกต่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตอน สามเดือน (RR 0.98, 95% CI 0.82 ถึง 1.18 สตรี 654 คน งานวิจัย 2 ฉบับ I² = 60% คุณภาพระดับตำ่) หรือตอน หกเดือน (RR 1.05, 95%CI 0.90 ถึง 1.23 สตรี 1636 คน งานวิจัย 4 ฉบับ I² = 61% คุณภาพระดับสูง ไม่มีหลักฐานว่าการให้การศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ในการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (RR 1.01, 95%CI 0.94-1.09 สตรี 3505 คน งานวิจัย 8 ฉบับ I² = 69% คุณภาพระดับสูง เรา downgrade หลักฐานการวิจัย เนื่องจากขนาดตัวอย่างน้อยหรือ CI คร่อมศูนย์หรือทั้งสองอย่าง

ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทำ subgroup analysis แยกตามอาชีพและการศึกษา

บันทึกการแปล: 

บทคัดย่อและบทสรุปในภาษาธรรมดาเรื่องนี้แปลโดย ศ ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตรและนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

Tools
Information