คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
เราต้องการทราบจากหลักฐานของการทบทวนวรรณกรรมว่าเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) สามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเอาชนะผลกระทบบางอย่างของปัญหาความทรงจำได้หรือไม่
ที่มาและความสำคัญ
ภาวะสมองเสื่อมทำให้เกิดปัญหาด้านความทรงจำซึ่งทำให้การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การทำอาหาร การจำนัดหมาย การรับประทานยา ปัญหาความทรงจำที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียอย่างมากต่อผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมและอาจทำให้เกิดความสับสน วิตกกังวล อับอาย หรือซึมเศร้า ความสามารถในการดำเนินกิจกรรมประจำวันที่ลดลงนี้อาจทำให้เกิดความเครียดกับผู้ดูแลในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ที่กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดีของผู้ป่วย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดซึ่งส่วนใหญ่เรียกกันว่าเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Assistive Technology (AT - ใช้ตลอดการทบทวนวรรณกรรมนี้)) และบางครั้งเป็นเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกอิเลกทรอนิกส์ (Electronic Assistive Technology (EAT)) - ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม อุปกรณ์เหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสี่ประเภทที่สามารถรองรับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น แผนภูมิสังคมดิจิทัล (digital social charts)) การช่วยเหลือในทางปฏิบัติกับปัญหาที่เกิดจากอาการของภาวะสมองเสื่อมโดยเฉพาะอาการสูญเสียความทรงจำ (เช่น กล่องจ่ายยาอิเล็กทรอนิกส์ สมุดบันทึกอิเล็กทรอนิกส์) การสนับสนุนการติดต่อทางสังคมและเพื่อน (เช่น โทรศัพท์รูปภาพหุ่นยนต์ 'สัตว์เลี้ยง' แบบโต้ตอบ); และรองรับการรับรู้ความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย (เช่น อุปกรณ์ติดตาม การตรวจจับการหกล้ม) ในการทบทวนวรรณกรรมนี้เรามุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้คนจัดการปัญหาความทรงจำของพวกเขา เราต้องการค้นหาว่า AT มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านความทรงจำเนื่องจากภาวะสมองเสื่อมในการดำเนินกิจกรรมประจำวันและทำให้พวกเขาพึ่งพาผู้อื่นน้อยลงหรือไม่ ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตหรือมีประสิทธิผลต่อการเข้ารับการดูแลในสถานพยาบาล นอกจากนี้เรายังต้องการตรวจสอบว่าอุปกรณ์นี้มีผลกระทบต่อครอบครัวและผู้ดูแลที่ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่
ลักษณะของการศึกษา
เราสืบค้นอย่างเป็นระบบสำหรับการศึกษาวิจัยทั้งหมดที่มีการประเมิน AT ด้วยการจัดสรรผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วยการสุ่มรับอุปกรณ์ AT หรือรับการดูแลรักษาปกติ หรือรับการแก้ไขโดยไม่ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนความทรงจำและทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ การค้นหาของเราได้รวบรวมหลักฐานทั้งหมดที่มีอยู่จนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2016
ผลการศึกษาที่สำคัญ
เราพบว่าไม่มีการศึกษาที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าของเรา
คุณภาพของหลักฐาน
การทบทวนระบุวรรณกรรมจำนวนมากเกี่ยวกับการพัฒนา AT รวมถึงรายงานของนักวิจัยที่ทำงานกับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแล เพื่อกำหนดประเภทและการออกแบบของ AT ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำมากมายที่เขียนขึ้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ใช้ AT เราพบการศึกษาขนาดเล็กบางการศึกษาที่ได้ทดสอบประสิทธิผลของอุปกรณ์ AT ที่เลือก แต่วิธีการที่ใช้ไม่มีคุณภาพสูงพอที่จะเป็นไปตามเกณฑ์การทบทวนวรรณกรรม ดังนั้นเราจึงไม่สามารถมั่นใจได้ในขณะนี้ว่า AT สามารถช่วยผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจัดการปัญหาความจำของพวกเขาได้จริงหรือไม่ เราเชื่อว่าควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในหัวข้อนี้
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้ชี้ให้เห็นถึงการขาดหลักฐานคุณภาพสูงในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบว่า AT มีประสิทธิผลในการสนับสนุนผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในการจัดการปัญหาความจำของพวกเขาหรือไม่
ความสนใจอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมได้รับแรงหนุนจากความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาแนวทางที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่บ้าน อีกทั้งต้นทุนที่ต่ำและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มากมายทำให้สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์แก่คนพิการได้มากขึ้น อุปกรณ์เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล (ICT) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมักเรียกว่า Assistive Technology (AT) หรือ Electronic Assistive Technology (EAT) การใช้ AT ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้เราอ้างถึงอุปกรณ์ช่วยเหลืออิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ AT หลายชนิดได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ผู้ดูแลในการจัดการกิจกรรมประจำวัน และเพื่อเพิ่มความปลอดภัย เช่นกล่องยาอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์แบบรูปภาพ หรืออุปกรณ์ติดตามมือถือ ซึ่งหลายอย่างมีขายตามท้องตลาด อย่างไรก็ตาม ประโยชน์และความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ของอุปกรณ์เหล่านี้มักได้รับการประเมินไม่ดี แม้ว่าจะมีการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเครื่องช่วยความจำ (อิเล็กทรอนิกส์) แต่ยังขาดการทบทวนการศึกษาอย่างเป็นระบบที่มุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของเครื่อง AT สำหรับการสนับสนุนหน่วยความจำในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม การทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวจะแนะนำผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลที่ไม่เป็นทางการและผู้เชี่ยวชาญในการเลือกใช้อุปกรณ์ AT ที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์หลัก
เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ AT สำหรับการส่งเสริมความจำในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในแง่ของประสิทธิภาพส่วนบุคคลและเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน (ADL) ระดับการพึ่งพา และการเข้ารับการดูแลระยะยาว
วัตถุประสงค์รอง
เพื่อประเมินผลกระทบของ AT ต่อ: ผู้ใช้ (ความเป็นอิสระ ความมีประโยชน์และความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ การนำ AT มาใช้) การทำงานของความรู้ความเข้าใจและอาการทางจิตเวช ความต้องการการดูแลอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการ การรับรู้คุณภาพชีวิต ภาระของผู้ดูแลที่ไม่เป็นทางการ ความภาคภูมิใจในตนเองและความรู้สึกถึงความสามารถ ความพึงพอใจในการทำงานของผู้ดูแลอย่างเป็นทางการ ภาระงานและความรู้สึกว่ามีความสามารถ และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
เราค้นหาจาก ALOIS, และ the specialised register of the Cochrane Dementia and Cognitive Improvement Group ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2016 ALOIS ได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลของ CDCIG และบรรจุการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม การรักษาภาวะสมองเสื่อม และการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคนที่มีสุขภาพดี เรายังค้นหารายการฐานข้อมูลต่อไปนี้ โดยปรับกลยุทธ์การค้นหาตามความจำเป็น: ฐานข้อมูล Center for Reviews and Dissemination (CRD) ถึงเดือนพฤษภาคม 2016 The Collection of Computer Science Bibliographies; DBLP Computer Science Bibliography; HCI Bibliography: Human-Computer Interaction Resources; and AgeInfo, all to June 2016; PiCarta; Inspec; Springer Link Lecture Notes; Social Care Online; and IEEE Computer Society Digital Library ทุกฐานสืบค้นถึงเดือนตุลาคม 2016 J-STAGE: Japan Science and Technology Information Aggregator, Electronic; and Networked Computer Science Technical Reference Library (NCSTRL), ทั้งสองฐานข้อมูลสืบค้นถึงเดือนพฤศจิกายน 2016; Computing Research Repository (CoRR) up to December 2016; and OT seeker; and ADEAR, ทั้งสองฐานข้อมูลสืยค้นถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2017 นอกจากนี้เรายังค้นหาใน Google Scholar และ OpenSIGLE เพื่อหาเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ (grey literature)
เราตั้งใจที่จะทบทวนการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) และการทดลองแบบสุ่มแบบคลัสเตอร์ที่มีการประเมินผลลัพธ์แบบปกปิด โดยประเมินอุปกรณ์ช่วยเหลืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวในการสนับสนุนฟังก์ชันหน่วยความจำในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ในกลุ่มควบคุมวิธีการที่ใช้อาจเป็น 'การดูแล (หรือการรักษา) ตามปกติ' หรือการใช้วิธีการทางจิตสังคมที่ไม่ใช่เทคโนโลยี (รวมถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความจำโดยเฉพาะ การวัดผลลัพธ์นั้นรวมรวมนำเข้ากิจกรรมในชีวิตประจำวัน ระดับการพึ่งพา ผลลัพธ์ทางคลินิก และผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล (ยกตัวอย่าง เช่น การเข้ารับการดูแลระยะยาว) การรับรู้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ AT เช่นเดียวกับผลกระทบของ AT ต่อผู้ดูแล
ผู้วิจัยสองคนคัดกรองชื่อเรื่องและบทคัดย่อทั้งหมดที่ได้จากการสืบค้นโดยอิสระต่อกัน
เราไม่พบการศึกษาใดที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า
แปลโดย นายอนุวัตน์ เพ็งพุฒ (Anuwat Pengput) นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 28 มกราคม 2564