ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

ยาปฏิชีวนะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อในสตรีที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งกำลังได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่

ความเป็นมา

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (SUI) หมายถึง ปัสสาวะเล็ดโดยไม่สามารถควบคุมได้เมื่อความดันภายในช่องท้องเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น ระหว่างการไอ จาม หรือหัวเราะ Continence surgery เป็นการรักษาแบบหนึ่งสำหรับ SUI การผ่าตัดมี 2 ประเภท: การผ่าตัดแบบเปิด เช่น colposuspension (เปิดแผลที่หน้าท้องเพื่อเย็บในช่องคลอดที่ด้านใดด้านหนึ่งของท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะที่ระบายออกจากกระเพาะปัสสาวะของคุณ) หรือขั้นตอนที่ไม่ invasive เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Colposuspension) (ใช้แผลเล็กเพื่อสอดเย็บแผล) การทำสลิง (โดยใช้เทปหรือตาข่ายทำสลิงรอบท่อปัสสาวะเพื่อยกกลับเข้าท่าปกติแล้วแนบไปกับผนังช่องท้อง) หรือการฉีดสารเพิ่มน้ำหนัก (เช่น คอลลาเจน) เข้าสู่คอกระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อที่บริเวณที่ทำการผ่าตัดหรือทางเดินปัสสาวะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังการผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทั้งหมด ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันมีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อที่บาดแผลหลังผ่าตัด แต่หลักฐานสนับสนุนยังมีจำกัด

การทบทวนวรรณกรรมนี้เป็นปัจจุบันเพียงใด

เราค้นหาการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs ทุกคนมีโอกาสเท่ากันที่จะได้รับการรักษาที่กำลังทดสอบ) และ quasi-RCT (การรักษาอยู่ระหว่างการทดสอบแต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีโอกาสได้รับเท่ากัน) จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2021

ลักษณะการศึกษา

เรารวม 3 การศึกษา (ในรายงาน 7 ฉบับ) เกี่ยวกับสตรีทั้งหมด 390 คนที่ได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 1 ใน 2 แบบ และได้รับยาปฏิชีวนะ 3 ขนาดที่แตกต่างกัน (เซฟาโซลิน) หรือยาหลอก หรือไม่ได้รับการรักษาเลย ขนาดตัวอย่างในการทดลองมีสตรีตั้งแต่ 26 ถึง 305 คน ไม่มีการศึกษาใดที่ระบุอย่างชัดเจนถึงเวลาของการประเมินผล อายุเฉลี่ยของสตรีอยู่ระหว่าง 45 ถึง 54 ปี

แหล่งเงินทุนสนับสนุนการศึกษา

2 การศึกษาไม่ได้รับทุน; การศึกษาที่ 3 ไม่ได้ให้ข้อมูลเงินทุน

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

ยาปฏิชีวนะเชิงป้องกันอาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อการติดเชื้อที่บริเวณผ่าตัด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือแบคทีเรียในปัสสาวะ (มีแบคทีเรียในปัสสาวะ) ไข้หลังการผ่าตัด หรือการปรากฏตัวของเทปเทียมหรือตาข่ายที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านผิวหนังใต้ท่อปัสสาวะ แต่เราไมเชื่อมั่นในผลลัพธ์มาก

ไม่มีการศึกษาใดที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ภาวะติดเชื้อหรือภาวะแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือการดื้อยาปฏิชีวนะจากแบคทีเรีย

ความเชื่อมั่นของหลักฐาน

เราไม่เชื่อมั่นในผลการวิจัยของเรา เนื่องจากมาจาก 3 การศึกษาขนาดเล็กเท่านั้น แต่ละการศึกษาประเมินประสิทธิผลของยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขั้นตอนการผ่าตัด ปริมาณยาปฏิชีวนะ และผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ แต่ละการศึกษาที่รวบรวมมามีขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เล็ก และบางการศึกษาดำเนินการในลักษณะที่อาจรวมข้อบกพร่องเข้ากับผลลัพธ์ การค้นพบของเราอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมี RCT ที่มีคุณภาพดีขึ้นและขนาดใหญ่

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

มีเพียงข้อมูลที่จำกัดเท่านั้นจากทั้ง 3 การศึกษา ที่รวบรวมมา และโดยรวมแล้ว ความเชื่อมั่นของหลักฐานต่ำมาก นอกจากนี้ ทั้ง 3 การศึกษายังได้ประเมินขั้นตอนการผ่าตัดและปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะที่แตกต่างกัน

ดังนั้นจึงไม่มีหลักฐานสนับสนุนหรือหักล้างการใช้ยาปฏิชีวนะแบบป้องกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จำเป็นต้องมี RCTs เพิ่มเติม

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ทางเลือกในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (SUI) มักจะถูกพิจารณาหลังจากการรักษาแบบอนุรักษ์นิยม (conservative interventions) ล้มเหลว การผ่าตัดแบ่งออกเป็นสองประเภท: เทคนิคแบบดั้งเดิม (การผ่าตัดแบบเปิด) และวิธีการ invasive น้อยที่สุด เช่น วิธีการส่องกล้อง การใส่สลิงที่ท่อปัสสาวะ และการฉีดด้วยสารเพิ่มขนาดท่อปัสสาวะ การติดเชื้อหลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อที่บริเวณผ่าตัดหรือทางเดินปัสสาวะ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียหลังการผ่าตัด อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อนหรือระหว่างการผ่าตัด

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินผลของยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของสตรี

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหา Cochrane Incontinence Specialized Register ซึ่งมีการทดลองที่พบจาก CENTRAL, MEDLINE, MEDLINE In-Process, MEDLINE Epub Ahead of Print, CINAHL, ClinicalTrials.gov และ WHO ICTRP; และวารสารที่สืบค้นด้วยมือและรายงานการประชุมจนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2021 นอกจากนี้ยังค้นรายการอ้างอิงทั้งหมดจากบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวม randomized controlled trials (RCTs) และ quasi-RCTs ที่ประเมินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เพื่อรักษา SUI

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

ผู้ทบทวนวรรณกรรมสองคนเลือกการศึกษาวิจัยที่เข้าเกณฑ์ ดึงข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ เราแสดงผลลัพธ์เป็น risk ratios (RR) สำหรับผลลัพธ์แบบ dichotomous และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (MD) สำหรับผลลัพธ์ที่เป้นข้อมูลต่อเนื่อง และช่วงความเชื่อมั่น (CIs) 95% เราประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานที่ได้โดยวิธี GRADE

ผลการวิจัย: 

เราพบ 1 quasi-RCT และ 2 RCTs ซึ่งมีสตรีทั้งหมด 390 คน 1 การศึกษาดำเนินการผ่าตัดท่อปัสสาวะ retropubic ที่ต้องการแผลผ่าตัดตามขวางเหนือหัวเหน่าในขณะที่ 2 การศึกษาทำการผ่าตัดทำ midurethral sling surgery ควรสังเกตว่าไม่มีการศึกษาใดที่ระบุช่วงเวลาของการประเมินผลลัพธ์ที่ชัดเจน

เราไม่เชื่อมั่นอย่างมากว่ายาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (เซฟาโซลิน) มีผลต่อการติดเชื้อที่บริเวณผ่าตัดหรือไม่ (RR 0.56, 95% CI 0.03 ถึง 12.35; 2 การศึกษา, สตรี 85 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือแบคทีเรียในปัสสาวะ (RR 0.84, 95% CI 0.05 ถึง 13.24, 2 การศึกษา, สตรี 85 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ผลของยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (เซฟาโซลิน) ต่อ febrile morbidity ก็ยังไม่แน่นอน (RR 0.08, 95% CI 0.00 ถึง 1.29; 2 การศึกษา, สตรี 85 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) เราไม่แน่ใจอย่างมากว่ายาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (เซฟาโซลิน) มีผลกระทบต่อ mesh exposure หรือไม่ (RR 0.32, 95% CI 0.01 ถึง 7.61; 1 การศึกษา, สตรี 59 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำมาก) ไม่มีการศึกษาใดในสามการศึกษาที่บรรยายการประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ ภาวะติดเชื้อ หรือภาวะแบคทีเรียในกระแสเลือดในรายงาน

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 เมษายน 2022

Tools
Information