คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
เราได้ทบทวนวรรณกรรมเพื่อพิจารณาว่าความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง (ความชุก) โดยทั่วไปเป็นอย่างไร ในผู้ป่วยหลังจากการรักษาโรคมะเร็งในวัยเด็ก นอกจากนี้เรายังต้องการอธิบายความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังจากเสร็จสิ้นการรักษาโรคมะเร็ง และเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปไของความเหนื่อยล้าที่เพิ่มขึ้นในประชากรกลุ่มนี้
ความเป็นมา
วิธีการรักษาโรคมะเร็งในเด็กกำลังได้รับการปรับปรุงและมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งมากขึ้น ผลกระทบของการเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย ร่วมกับการบำบัดมะเร็งแบบเข้มข้นบ่อยครั้ง อาจส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจในบั้นปลายของชีวิตได้ ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าผลกระทบภายหลังอย่างน้อยหนึ่งอย่างหรือมากกว่า ความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงเป็นผลกระทบที่เกิดภายหลังที่พบบ่อยในผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งในผู้ใหญ่ และอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้หลายแบบ ตอนนี้เรายังไม่ทราบว่าอาการเหนื่อยล้ารุนแรงเกิดขึ้นบ่อยเพียงใดหลังการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก และปัจจัยเสี่ยงใดที่อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้
ลักษณะของการศึกษา
หลักฐานเป็นข้อมูลล่าสุดถึงเดือนมีนาคม 2019
เรารวบรวมการศึกษา 30 ฉบับ มีผู้เข้าร่วม 18,682 คนหลังการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก เราพบความแตกต่างอย่างมากระหว่างการศึกษาในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง อายุของผู้เข้าร่วม แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินความเหนื่อยล้า และขนาดของการศึกษา
ผลการศึกษาที่สำคัญ
การศึกษา 18 ฉบับ รายงานความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง ซึ่งอยู่ระหว่าง 0% ถึง 61.7% การศึกษา 4 ฉบับรายงานความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงในหมู่พี่น้องของผู้ป่วยหรือประชากรในกลุ่มควบคุม อัตราความชุกในกลุ่มควบคุมเหล่านี้อยู่ระหว่าง 3.1% ถึง 10.3% ในการศึกษาทั้ง 4 ฉบับนี้ ผู้รอดชีวิตมักจะเหนื่อยล้ามากกว่ากลุ่มควบคุม ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญมีเฉพาะในการศึกษา 2 ฉบับเท่านั้น
เมื่อเราดูไปที่ความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงในผู้รอดชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว (มะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่ง) เราพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 1.8% ถึง 35.9% การศึกษา 2 ฉบับ รายงานเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งสมอง โดยมีอัตรา 21.13% และ 14.6% การศึกษา 1 ฉบับในผู้รอดชีวิตจากมะเร็งกระดูกรายงานว่าไม่มีกรณีของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง สำหรับผู้รอดชีวิตที่มีอายุ 18 ปีหรือต่ำกว่า อัตราความชุกอยู่ระหว่าง 6.7% ถึง 12.5% ในทางตรงกันข้าม ในการศึกษาซึ่งรวมทั้งผู้เข้าร่วมที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป (แต่ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 18 ปี) อัตราความชุกอยู่ระหว่าง 4.4% ถึง 61.7%
การศึกษา 22 ฉบับ ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้สำหรับความเหนื่อยล้าหนึ่งอย่างหรือมากกว่า การทบทวนวรรณกรรมของเราแสดงให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าอาจเพิ่มความเหนื่อยล้าได้ อายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและระดับการศึกษาของผู้รอดชีวิตดูเหมือนจะไม่ส่งผลต่อความเหนื่อยล้า
การศึกษาเพียงหนึ่งเรื่องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของความเหนื่อยล้าเมื่อเวลาผ่านไป และพบว่าตลอดระยะเวลา 2.7 ปี ผู้เข้าร่วม 32 คนจากทั้งหมด 102 คน (31.4%) รายงานว่ามีอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงต่อเนื่อง
คุณภาพของหลักฐาน
การศึกษาที่รวบรวมมาทั้งหมดมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของหลักฐาน และเราพบว่ามีความแตกต่างมากมายระหว่างการศึกษาของคุณลักษณะหลายข้อ หลักฐานในการตอบคำถามในการทบทวนวรรณกรรมของเราจึงอ่อนแอ การเกิดขึ้นของอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังการรักษาโรคมะเร็งในเด็กยังคงไม่แน่นอน เรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังการรักษามะเร็งเสร็จสิ้น และปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น
ไม่ชัดเจนว่าผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งในวัยเด็กต้องทนทุกข์ทรมานจากความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงเป็นจำนวนเท่าใด การทบทวนวรรณกรรมนี้พบปัญหาหลายประการ เราพบความแตกต่างทางสถิติและทางคลินิก และความแปรปรวนอย่างมากในรายงานความเสี่ยงที่เป็นไปได้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หลักฐานในการทบทวนวรรณกรรมนี้จึงอ่อนแอ และยังต้องพิจารณาความแม่นยำความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังการรักษาโรคมะเร็งในวัยเด็กด้วย นอกจากนี้ในกรณีของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังการรักษา และความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างความเหนื่อยล้ากับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง แม้จะมีข้อจำกัดเหล่านี้ การทบทวนวรรณกรรมของเราให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของวรรณกรรมที่มีอยู่เกี่ยวกับความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงภายหลังการรักษาโรคมะเร็งในวัยเด็ก
กลยุทธ์ในการรักษาโรคมะเร็งในเด็กมีการปรับปรุงพัฒนา ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาของโรคมะเร็งในเด็กไม่ได้จบลงด้วยความสำเร็จในการรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดอาการภายหลังหยุดการรักษา ความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงถือเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและความเสื่อมโทรมของร่างการภายหลังจากการรอดชีวิตจากโรคมะเร็ง แม้ว่าการวิจัยเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าส่วนใหญ่จะดำเนินการในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เป็นผู้ใหญ่ภายหลังจากมีอาการ การทบทวนของเรามุ่งเน้นไปที่ความเหนื่อยล้าภายหลังจากเป็นมะเร็งในเด็ก
เพื่อประมาณค่าความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก วัตถุประสงค์รองคือการอธิบายระยะของอาการความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหลังจากการรักษาโรคมะเร็ง และเพื่อตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงของความเหนื่อยล้า หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
เราสืบค้นใน Cochrane Central Register of Controlled Trials (Cochrane Library 2019 ; ฉบับที่ 8 มีนาคม 2019), MEDLINE/PubMed (ตั้งแต่ปี 1945 ถึง 8 มีนาคม 2019), Embase/Ovid (ตั้งแต่ปี 1947 ถึง 8 มีนาคม 2019), รายการอ้างอิงของบทความที่รวมไว้ และการประชุมวิชาการหลายครั้งตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2018
การศึกษาเชิงสังเกต การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และการทดลองทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุมที่รายงานเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าในผู้เข้าร่วมภายหลังการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก รายงานกรณีศึกษาและรายงานผู้ป่วยไม่เหมาะสมในการนำเข้าการศึกษา
ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน ดึงข้อมูล และประเมินความเสี่ยงของการมีอคติอย่างเป็นอิสระต่อกัน ถ้าบทความที่เผยแพร่ไม่ได้นำเสนอความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง เราจะติดต่อผู้เขียนการศึกษาเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
เรารวบรวมการศึกษา 30 ฉบับ (ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 18,682 ราย) การศึกษา 18 ฉบับ มีข้อมูลสำหรับวัตถุประสงค์หลัก และการศึกษา 22 ฉบับ มีข้อมูลสำหรับวัตถุประสงค์รอง เราพบความแตกต่างอย่างมากระหว่างการศึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็ง อายุของผู้เข้าร่วม แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินความเหนื่อยล้า และขนาดตัวอย่าง การศึกษาที่รวบรวมไว้ทั้งหมดมีคะแนน 'ความเสี่ยงของอคติ' อย่างน้อย 1 ข้ออยู่ในระดับไม่ชัดเจนหรือมีความเสี่ยงสูง
เราได้พบถึงความแตกต่างทั้งทางคลินิกและทางสถิติ จึงไม่สามารถรวมผลลัพธ์ได้ ดังนั้นเราจึงนำเสนอผลลัพธ์ในลักษณะเชิงพรรณนา การศึกษา 18 ฉบับ (ผู้รอดชีวิต 14,573 คน) รายงานความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0% ถึง 61.7% ในกลุ่มย่อยของการศึกษา 3 ฉบับ ที่รวมเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีที่ได้รับการประเมินความเหนื่อยล้า (ผู้รอดชีวิต 268 ราย) อัตราความชุกมีค่าอยู่ระหว่าง 6.7% ถึง 12.5% เมื่อเปรียบเทียบ ในกลุ่มย่อยของการศึกษา 12 ฉบับ ซึ่งรวมผู้เข้าร่วมที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป (ผู้รอดชีวิต 13,952 คน) อัตราความชุกมีค่าอยู่ระหว่าง 4.4% ถึง 61.7% ความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงในกลุ่มย่อยของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาถูกนำเสนอในการศึกษา ฉบับ และมีค่าอยู่ระหว่าง 1.8% ถึง 35.9% (ผู้รอดชีวิต 1907 คน) ความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงในผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งสมองถูกนำเสนอในการศึกษา 2 ฉบับ (ผู้รอดชีวิต 252 ราย) และมีค่าอยู่ที่ 14.6% และ 21.1% ตามลำดับ การศึกษา 1 ฉบับ นำเสนอความชุกของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งกระดูกที่ 0.0% (ผู้รอดชีวิต 17 คน) การศึกษา 4 ฉบับ ให้อัตราความชุกของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงในกลุ่มควบคุมของพี่น้องหรือกลุ่มควบคุมอิงจากประชากร ซึ่งอยู่ระหว่าง 3.1% ถึง 10.3% ในการศึกษาทั้ง 4 ฉบับนี้ ผู้รอดชีวิตมักจะมีความเหนื่อยล้ามากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญทางสถิติในการศึกษาเพียง 2 ฉบับเท่านั้น
การศึกษาที่ประเมินความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้ามีความแตกต่างกัน และคำจำกัดความของปัจจัยภายใต้การศึกษามักจะไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น ผลลัพธ์จึงนำเสนอเป็นเชิงพรรณนา นักวิจัยพบว่าภาวะซึมเศร้าอาจมีความเกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้า ในทางตรงกันข้าม อายุที่ได้รับการวินิจฉัยและการศึกษาดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้า เราไม่สามารถคำนวณการประมาณค่าการความเสี่ยงโดยรวมสำหรับความเสี่ยงที่รายงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ เนื่องจากเราไม่สามารถทำการวิเคราะห์เมตต้าได้
การศึกษาหนึ่งเรื่องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของความเหนื่อยล้าเมื่อเวลาผ่านไป และพบว่าตลอดระยะเวลา 2.7 ปี ผู้เข้าร่วม 32 คนจากทั้งหมด 102 คน (31.4%) รายงานว่ามีอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงต่อเนื่อง
ผู้แปล นายฎลกร จำปาหวาย วันที่ 27 พฤษภาคม 2024