คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
ผู้เขียน Cochrane Review ได้ตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาที่เรียกว่า selective estrogen receptor modulators (SERMs) สำหรับสตรีที่เป็น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่พิสูจน์แล้วโดยการตรวจชิ้นเนื้อ
ความเป็นมา
โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นโรคที่มีผลต่อสตรีวัยเจริญพันธุ์ถึง 1 ใน 10 โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน และมีบุตรยาก การแพร่กระจายและการดำเนินไปของโรคขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาที่ใช้รักษาโรคนี้ ประกอบด้วย ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อระงับรอบเดือน หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น โปรเจสโตเจนหรือ ห่วงอนามัยฮอร์โมน SERM มีเป้าหมายเพื่อป้องกันผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและสามารถใช้เป็นยาเพื่อการรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เราเปรียบเทียบผลกระทบและความปลอดภัยของ SERM กับยาหลอกหรือการรักษาอื่น ๆ สำหรับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ลักษณะของการศึกษา
การตรวจสอบนี้รวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมไว้เพียงรายการเดียว การศึกษานี้เปรียบเทียบ SERM 'raloxifene' กับยาหลอกในสตรี 93 คน ที่ได้รับการผ่าตัดรอยโรคของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ออกทั้งหมด หลักฐานเป็นข้อมูลปัจจุบันถึง 28 พฤษภาคม 2020
ผลการศึกษาที่สำคัญ
การศึกษาที่รวมไว้ ไม่ได้วัดเฉพาะผลลัพธ์หลัก ของการบรรเทาอาการปวด เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการปวดท้องน้อย, การเกิดถุงน้ำรังไข่, อาการปวดศีรษะ, ไมเกรน และภาวะซึมเศร้าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม เราไม่แน่ใจว่า raloxifene เพิ่มผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์เมื่อเทียบกับยาหลอกหรือไม่ (1 การศึกษา, สตรี 93 คน; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) เราไม่แน่ใจว่า raloxifene ช่วยเพิ่มอัตราการกลับเป็นซ้ำของ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ ตามที่พิสูจน์โดยการตรวจชิ้นเนื้อเมื่อเทียบกับยาหลอก (1 การศึกษา, สตรี 93 คน; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าหาก 28% ของสตรีที่ได้รับยาหลอกมีการกลับเป็นซ้ำของอาการปวดปวดท้องน้อยจากการกลับเป็นซ้ำของโรคโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่พิสูจน์แล้วจากการส่งตรวจชิ้นเเนื้อ ว่าอยู่ระหว่าง 19% ถึง 62% ของผู้ที่รับประทาน raloxifene ผลลัพธ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เนื่องจากสตรีบางคนไม่ได้รับการส่องกล้องครั้งที่ 2 จริงเพื่อเก็บตัวอย่างของรอยโรคและส่งตรวจชิ้นเนื้อ อย่างไรก็ตามผู้ทำการศึกษารายงานว่า สตรีในกลุ่ม raloxifene มีแนวโน้มที่จะกลับมามีอาการปวดเร็วกว่าสตรีในกลุ่มยาหลอก การศึกษารวมรายงานว่าการวัดคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกันระหว่าง raloxifene และกลุ่มยาหลอก ยกเว้นในด้านสุขภาพทางจิต ภายใน 12 เดือน คุณภาพชีวิตสุขภาพจิต ให้คะแนนการรักษาด้วยยาหลอก (mean difference 11.1, 95% CI 0.01 ถึง 21.19) ไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวกับภาวะการเจริญพันธุ์หรือผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ
จากการศึกษาเดียวที่รวมอยู่ในการทบทวนนี้ผู้ตรวจสอบไม่พบหลักฐานที่แสดงว่า SERMs มีประโยชน์ในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดในโรคเยื่บุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว ในทางตรงกันข้ามการศึกษาหยุดลงก่อนเวลา เนื่องจากสตรีที่ใช้ SERMs มีอาการปวดกลับมาเร็วกว่าสตรีที่ใช้ยาหลอก
คุณภาพของหลักฐาน
หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก ข้อจำกัดหลักคือ การรวมการศึกษาได้เพียงการศึกษาเดียวที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อยและขาดทั้งข้อมูลผลลัพธ์หลักและผลลัพธ์รอง
จากข้อมูล RCT ที่มีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์ เราไม่แน่ใจถึงผลของ SERMs ต่อการบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การศึกษาที่รวมเข้ามานั้นหยุดก่อนเวลาที่จะสิ้นสุด เนื่องจากคะแนนความเจ็บปวดที่สูงขึ้นในสตรีที่รับ SERM เมื่อเทียบกับคะแนนของผู้ที่ได้รับยาหลอก จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประเมินบทบาทของ SERMs ในโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อย่างเต็มที่
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคซึ่งมีเยื่อบุโพรงมดลูก (glands และ stroma) เจริญอยู่นอกโพรงมดลูก โรคนี้เป็นภาวะเรื้อรังและเกิดซ้ำได้ เกิดขึ้นในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เป็นสาเหตุทั่วไปของความเจ็บปวดหรือภาวะมีบุตรยาก และอาจทำให้เกิดอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ปวดหลังส่วนล่าง เจ็บลึกๆเวลามีเพศสัมพันธ์ (ปวดระหว่างหรือหลังการมีเพศสัมพันธ์) และอาการปวดประจำเดือน โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่ขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาที่ใช้รักษามีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการและทำให้รอยโรคมีขนาดเล็กลง โดยการกดรอบเดือนตามปกติ ในการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้เราพิจารณายาที่มีความเฉพาะเพื่อปรับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคนี้
เพื่อประเมินประสิทธิผล และความปลอดภัยของตัวปรับตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบคัดเลือก (selective oestrogen receptor modulators: SERMs) ในการรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
เราค้นหาการทดลองในฐานข้อมูลต่อไปนี้ (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งถึง 28 พฤษภาคม 2020): Cochrane Gynaecology and Fertility Group Specialised Register, Cochrane Central Register of Studies (CRS Online), MEDLINE, Embase, CINAHL, PsycINFO และทะเบียนการทดลองของการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนี้เราได้ค้นหารายการอ้างอิงทั้งหมดของการศึกษาที่รวมอยู่และเราได้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นเพื่อพยายามค้นหาการศึกษาอื่นๆ
เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) เปรียบเทียบ selective oestrogen receptor modulators (SERMs) กับยาหลอก, การไม่มีการรักษา การรักษาด้วยยาตัวอื่นๆ หรือการผ่าตัดสำหรับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
เราใช้ระเบียบวิธีวิจัยมาตรฐานในการดำเนินการศึกษาตามที่ Cochrane แนะนำ ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คน ได้คัดเลือกการทดลองเพื่อนำเข้ามาในการทบทวน, ประเมินความเสี่ยงของการมีอคติของการทดลอง และดึงข้อมูล อย่างเป็นอิสระต่อกัน เราใช้อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) กับช่วงความเชื่อมั่น (CIs) 95% ในการรายงานข้อมูลที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์หลักที่สนใจ คือ การช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อย และอาการไม่พึงประสงค์ ผลลัพธ์รอง ได้แก่ คุณภาพชีวิต, อัตราการกลับเป็นซ้ำ และผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ และภาวะการเจริญพันธุ์
เรารวม RCT ได้เพียง 1 รายการ ซึ่งศึกษาในสตรี 93 คน เปรียบเทียบ SERM raloxifene กับยาหลอก ในการรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งวินิจฉัยโรคนี้จากการตรวจชิ้นเนื้อ สตรีทุกคนได้รับการตัดชิ้นเนื้อบริเวณรอยโรคเพื่อส่งตรวจยืนยันโรคเยื่บุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก: ข้อจำกัดหลักคือ ความไม่แม่นยำ - ด้วยข้อมูลที่กระจัดกระจายมากจากการศึกษาเล็กๆ เพียง 1 รายการ ซึ่งศึกษาเฉพาะในสตรีหลังการผ่าตัด
การบรรเทาอาการปวดท้องน้อย
การศึกษาที่รวมไว้ ไม่ได้วัดเฉพาะผลลัพธ์หลัก ของการบรรเทาอาการปวด ผู้ทำการศึกษารายงานว่า เวลาในการกลับมาของอาการปวดท้องน้อย (หมายถึง ความเจ็บปวดวัดที่ 2 เดือน ว่าปวดเท่ากับหรือรุนแรงกว่าความเจ็บปวดเมื่อเทียบกับตอนแรกเริ่มการศึกษา) ในกลุ่ม raloxifene (P = 0.03) เกิดขึ้นเร็วกว่า
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
จากการศึกษามีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการปวดท้องน้อย, การเกิดถุงน้ำรังไข่, ปวดศีรษะ, ไมเกรน, และภาวะซึมเศร้า เราไม่แน่ใจว่า raloxifene เพิ่มอุบัติการณ์ของอาการปวดท้องน้อย (RR 1.25, 95% CI 0.63 ถึง 2.45), ถุงน้ำรังไข่ (RR 1.57, 95% CI 0.55 ถึง 4.43), ปวดศีรษะ (RR 1.09, 95% CI 0.49 ถึง 2.43), ไมเกรน (RR 0.73, 95% CI 0.28 ถึง 1.95) ภาวะซึมเศร้า (RR 1.96, 95% CI 0.63 ถึง 6.06) หรืออาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ (RR 0.08, 95% CI 0.00 ถึง 1.30) (ทั้งหมด: การศึกษา 1 รายการ, n = 93; หลักฐานมีคุณภาพต่ำมาก)
คุณภาพชีวิต
จากการศึกษา ได้อธิบายถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องคุณภาพชีวิตของสุขภาพจิต (QoL) ใน 12 เดือน ดีกว่าในกลุ่มที่รักษาด้วยยาหลอก (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 11.1, 95% CI 0.01 ถึง 21.19) ข้อมูล QoL อื่น ๆ ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม แต่ไม่มีการรายงานโดยละเอียด
อัตราการกลับเป็นซ้ำ ภาวะการเจริญพันธุ์ และผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ
เราไม่แน่ใจว่า raloxifene เพิ่มอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ ซึ่งพิสูจน์โดยการตรวจชิ้นเนื้อเมื่อเทียบกับยาหลอก (RR 1.20, 95% CI 0.66 ถึง 2.21; 1 การศึกษา, n = 93; หลักฐานคุณภาพต่ำมาก) สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าหากสตรี 28% ที่ได้รับยาหลอก มีการกลับมาเป็นซ้ำของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งพิสูจน์แล้วโดยการตรวจชิ้นเนื้อจะอยู่ระหว่าง 19% ถึง 62% ของผู้ที่รับประทาน raloxifene ผลลัพธ์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีอคติ เนื่องจากสตรีทุกคนไม่ได้รับการส่องกล้องครั้งที่ 2 เพื่อดูรอยโรค มีการอธิบายการกลับมาเป็นซ้ำอ้างอิงตามอาการ (อาการปวดที่ไม่ใช่ประจำเดือน, อาการปวดประจำเดือน, หรืออาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธุ์) ในกรณีเหล่านี้ อาการจะดีขึ้นหลังจากใช้ raloxifene และหลังใช้ยาหลอก
การศึกษาที่รวมไว้ไม่ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ ไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เนื่องจากการศึกษารวมเฉพาะสตรีที่ตกลงที่จะเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไปจนกว่าจะถึงจุดสิ้นสุดของการศึกษา; การตั้งครรภ์ไม่กี่ครั้งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว วันที่ 20 พฤษภาคม 2021