การใช้สัตว์เพื่อบำบัดอาการสมองเสื่อม

คำถามของการทบทวนวรรณกรรม

สามารถนำสัตว์ที่มีชีวิตในชุดการบำบัดผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่

ความเป็นมา

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยมากขึ้นทั่วโลก ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะมีการสูญเสียความสามารถในการคิด จดจำและสื่อสาร ในการจัดการกิจกรรมประจำวันของตนเองและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ผู้มีภาวะสมองเสื่อมหลายคนยังพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้าและปัญหาที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาโรค หรือไม่ให้อาการเลวลง อย่างไรก็ตามการรักษามีเป้าหมายส่งเสริมให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลมีความเป็นอยู่ที่ดี การใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อบำบัดอาการสมองเสื่อม (Animal-assisted therapy; AAT) เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการศึกษา เป็นที่เชื่อกันว่าสัตว์สามารถช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมได้ ด้วยความเป็นมิตรและให้มีกิจกรรมประจำวัน อาจนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิตรวมถึงอารมณ์ที่ดีขึ้นและพฤติกรรมที่มีปัญหาน้อยลง

ช่วงเวลาที่สืบค้น

เราค้นหาฐานข้อมูลทางการแพทย์ถึงเดือนกันยายน 2019

ลักษณะสำคัญของการศึกษาที่ได้รวบรวม

เรารวบรวม randomised controlled trials เก้าเรื่อง (การศึกษาทางคลินิกที่สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง หนึ่งในสอง กลุ่มการรักษาหรือมากกว่า) ผู้เข้าร่วม 305 คน เปรียบเทียบกลุ่ม AAT กับกลุ่มควบคุม (การดูแลตามปกติหรือการรักษาทางเลือก) การศึกษาทุกชิ้นเกิดขึ้นในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา การศึกษาเจ็ดเรื่องเปรียบเทียบ AAT กับการดูแลปกติหรือกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช้สัตว์ การศึกษาสองเรื่อง เปรียบเทียบ AAT (ใช้สัตว์ที่มีชีวิต) กับกลุ่มใช้สัตว์ที่เป็นหุ่นยนต์ การศึกษาหนึ่งเรื่อง เปรียบเทียบ AAT กับการใช้ของเล่นนุ่ม ๆ รูปแมว มีบางอย่างของการศึกษาซึ่งอาจมีผลลำเอียง ผู้เข้าร่วมศึกษาและเจ้าหน้าที่ดูแลรู้ว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับอะไรบ้างและอาจส่งผลกระทบต่อผลการศึกษา นอกจากนี้ยังไม่ชัดเจนว่าการสุ่มได้ทำอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว

แหล่งทุน

การศึกษาที่ได้รับทุนจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงการขอทุนวิจัย (การศึกษาสี่เรื่อง) บริจาคส่วนบุคคล (การศึกษาหนึ่งเรื่อง) และการสนับสนุนจากสถาบันที่ส่งเสริม AAT (การศึกษาสองเรื่อง) การศึกษาสองเรื่องไม่ได้รายงานถึงแหล่งทุน

ผลการศึกษาที่สำคัญ

เราพบหลักฐานจากการศึกษาสองเรื่อง ผู้เข้าร่วม 83 คน ว่าผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มี AAT อาจมีภาวะซึมเศร้าน้อยลงในตอนท้ายของการรักษากว่าคนที่มีการดูแลมาตรฐานหรือได้รับการทดลองอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสัตว์ นอกจากนี้เรายังพบหลักฐานจากการศึกษาสามเรื่อง ผู้เข้าร่วม 164 คน ว่าผู้ได้รับ AAT ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนในคุณภาพชีวิตของพวกเขาเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามเราไม่พบหลักฐานถึงผลต่อหน้าที่ทางสังคม (ปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและครอบครัวของเขา) พฤติกรรมด้านกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน, ความสามารถในการดูแลตนเองหรือความสมดุล การศึกษาสองเรื่อง ผู้เข่าร่วม 156 คน ยังไม่มีความชัดเจนว่า AAT แตกต่างจากการใช้หุ่นยนต์สัตว์ (ด้านหน้าที่ทางสังคม, พฤติกรรมและคุณภาพชีวิต) หรือในการศึกษาหนึ่งเรื่อง ผู้เข้าร่วม 64 คน การใช้ของเล่นนุ่ม ๆ รูปแมว (ด้านหน้าที่เชิงสังคม) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการรักษาในผู้เข้าร่วมและไม่มีรายงานเกี่ยวกับผลต่อสัตว์ในทุกการศึกษา

ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน

เราศึกษาปัจจัยหลายอย่างที่เห็นว่าอาจเป็นประเด็นที่สนใจ จากการทบทวนพบว่ามีสองปัจจัยหลักที่ลดความน่าเชื่อถือ ประการแรก สำหรับผลลัพธ์ทั้งหมดที่ศึกษามีผู้เข้าร่วมน้อย ประการที่สอง เราเห็นว่าอาจมีความลำเอียงจากการออกแบบหรือดำเนินการการศึกษา ความเชื่อมั่นของเราก็ลดลงด้วยจากผลที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างการศึกษา โดยรวม ความเชื่อมั่นอยู่ระหว่างต่ำมากถึงปานกลาง

บทสรุป

AAT อาจลดอาการซึมเศร้าได้เล็กน้อย ยังไม่มีข้อสรุปว่า AAT เป็นประโยชน์หรือปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม การศึกษาขนาดเล็กและมีความหลากหลายของผลลัพธ์และผลการวัดที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เราแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาที่ดีในอนาคต โดยรวบรวมของผลที่สำคัญ เช่น อารมณ์และการอยู่ในสังคมที่ดี, คุณภาพชีวิต, ผลข้างเคียง, และผลลัพธ์จากสัตว์

ข้อสรุปของผู้วิจัย: 

เราพบหลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำว่า AAT ลดภาวะซึมเศร้าในผู้มีภาวะสมองเสื่อม เราพบหลักฐานไม่ชัดเจนว่า AAT มีผลต่อผลลัพธ์อื่น ๆ ในประชากรกลุ่มนี้ ด้วยความเชื่อของหลักฐานอยู่ในช่วงต่ำมากถึงปานกลาง ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละผลลัพธ์ เราไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือผลกระทบต่อสัตว์ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถให้ข้อสรุปที่ชัดเจนถึงประโยชน์โดยรวมและความเสี่ยงของ AAT ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ในการศึกษาแบบ RCTs ที่ดีต่อไป มีความจำเป็นในการปรับปรุงให้ได้หลักฐานที่มีความชัดเจน เป็นการยากที่จะปกปิดวิธีการที่ให้กับผู้เข้าร่วมและบุคลากร RCTs ในอนาคตควรทำโดยปกปิดผลการศึกษา การจัดสรรเข้ากลุ่มต้องชัดเจน รวมถึงผลลัพธ์ที่สำคัญของผู้ป่วย เช่น ผลกระทบการทำงานด้านอารมณ์และสังคมคุณภาพชีวิต เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และผลต่อสัตว์

อ่านบทคัดย่อฉบับเต็ม
บทนำ: 

ภาวะสมองเสื่อมเป็นอาการเรื้อรังซึ่งมีผลต่อความจำและการทำงานทางปัญญาอื่นๆ, พฤติกรรมสังคม, และความสามารถในการดำเนินกิจกรรมประจำวัน ในปัจจุบัน ไม่มีการรักษาที่ชัดเจนว่าประสิทธิภาพในการป้องกันการลุกลามของโรค และการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการโดยมีเป้าหมายที่รักษาอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ยังมีความท้าทายในการดูแล การรักษาใหม่ ๆ มีการประเมินและทำการวิจัยการใช้สัตว์ที่ได้รับการฝึกฝนในการบำบัดด้วยสัตว์ (AAT) ได้รับความสนใจมากขึ้น

วัตถุประสงค์: 

เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาการใช้สัตว์เพื่อบำบัดอาการสมองเสื่อม

วิธีการสืบค้น: 

เราค้นหา ALOIS: Cochrane Dementia and Cognitive Improvement Group's Specialise Register ในวันที่ 5 กันยายน 2019 ALOIS รวบรวมการทดลองทางคลินิกของฐานข้อมูลการดูแลสุขภาพที่สำคัญ เป็นการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์และเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัด หรือเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ นอกจากนี้เรายังค้นหาใน MEDLINE (OvidSP), Embase (OvidSP), PsycINFO (OvidSP), CINAHL (EBSCOhost), ISI Web of Science, ClinicalTrials.gov, และ the WHO's trial registry portal

เกณฑ์การคัดเลือก: 

เรารวบรวม randomised controlled trials (RCTs), cluster-randomised trials และ randomised cross-over trials เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม AAT กับไม่มี AAT, AAT โดยใช้สัตว์มีชีวิตกับทางเลือก เช่น หุ่นยนต์หรือของเล่น หรือ AAT เมื่อเทียบกับวิธีการอื่น ๆ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล: 

เราดึงข้อมูลโดยใช้วิธีการมาตรฐานของภาวะสมองเสื่อม ผู้ประพันธ์สองคนประเมินคุณสมบัติและความเสี่ยงของการมีอคติของบันทึกที่ดึงข้อมูลโดยอิสระต่อกัน เราแสดงผลของเรานำเสนอด้วย mean difference (MD) standardised mean difference (SMD) และ risk ratio (RR) กับ ช่วงเชื่อมั่น 95% (CIs) ตามความเหมาะสม

ผลการวิจัย: 

เรารวม RCTs เก้าเรื่อง จาก 10 รายงาน การศึกษาทั้งหมดเก้าเรื่อง ดำเนินการในยุโรปและสหรัฐอเมริกา การศึกษาหกเรื่อง เป็นแบบ parallel-group, individually randomised RCTs; randomised cross-over trial หนึ่งเรื่อง และ cluster-RCTs สองเรื่อง ที่ทำในสถานดูแลช่วงกลางวันและบ้านคนชรา การทดลองสองเรื่องยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

มีการเปรียบเทียบสามอย่าง: AAT เทียบกับที่ไม่มี AAT (การดูแลมาตรฐานหรือกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสัตว์), AAT โดยใช้สัตว์มีชีวิตเทียบกับหุ่นยนต์ และ AAT โดยใช้สัตว์ที่มีชีวิตเทียบกับตุ๊กตานุ่ม ๆ การศึกษาได้ประเมินผู้เข้าร่วมมีภาวะสมองเสื่อม 305 คน การศึกษาหนึ่งเรื่องใช้ม้าและสุนัขในการบำบัด ระยะเวลาของการทดลองระหว่างหกสัปดาห์ ถึง หกเดือนและการรักษาแต่ละช่วงใช้เวลาระหว่าง 10 ถึง 90 นาที ทุกสองสัปดาห์ถึงสองครั้งต่อสัปดาห์ มีเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้วัดผลลัพธ์ การศึกษาทุกเรื่องมีอคติที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับการดูแลระหว่างทำการวิจัยสูง (high risk of performance bias) และ มีอคติที่เกิดจากการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเพื่อได้รับสิ่งทดลองไม่ชัดเจน (unclear risk of selection bias) ความเชื่อมั่นต่อผลลัพธ์หลักของการศึกษาอยู่ในระดับต่ำมากถึงปานกลาง

เปรียบเทียบระหว่างผู้ไดรับ AAT กับผู้ไม่ได้รับ AAT มีภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าเล็กน้อยหลังการทดลอง (MD –2.87, 95% CI –5.24 ถึง –0.50; การศึกษา 2 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 83 คน หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ) ไม่แสดงถึงผลของการเพิ่มคุณภาพชีวิต (MD 0.45, 95% CI –1.28 ถึง 2.18; การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 164 คน หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับกลาง) ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนในผลลัพธ์ที่สำคัญอื่น ๆ ทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่เชิงสังคม (MD –0.40, 95% CI –3.41 ถึง 2.61; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 58 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ) พฤติกรรมที่มีปัญหา (SMD –0.34, 95% CI –0.98 ถึง 0.30; การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 142 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำมาก) ลักษณะกระสับกระส่าย (SMD –0.39, 95% CI –0.89 ถึง 0.10; การศึกษา 3 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 143 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำมาก), กิจวัตรประจำวัน (MD 4.65, 95% CI –16.05 ถึง 25.35; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 37 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ) ความสามารถในการดูแลตนเอง (MD 2.20, 95% CI –1.23 ถึง 5.63; การศึกษา 1 เรื่อง, ผู้เข้าร่วม 58 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นระดับต่ำ) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

เปรียบเที่ยบระหว่าง AAT ที่ใช้สัตว์มีชีวิตกับหุ่นยนต์สัตว์หนึ่งเรื่อง ผู้เข้าร่วม 68 คน พบผลลัพธ์หลากหลาย (mixed effects) ในการทำหน้าที่เชิงสังคม กับระยะเวลาของการสื่อด้วยการสัมผัส (physical contact) นานขึ้น แต่ระยะเวลาการพูดคุยสั้นลงในผู้เข้าร่วมที่ได้รับ AAT ที่ใช้สัตว์มีชีวิตเปรียบเทียบกับใช้หุ่นยนต์สัตว์ (มัธยฐาน: กลุ่มใช้สัตว์มีชีวิต 93 วินาที กับกลุ่มใช้หุ่นยนต์ 28 วินาที สำหรับการสื่อด้วยการสัมผัส, กลุ่มใช้สัตว์มีชีวิต 164 วินาที กับกลุ่มใช้หุ่นยนต์ 206 วินาที สำหรับการพูดคุยต่อหน้า, กลุ่มใช้สัตว์มีชีวิต 263 วินาที กับกลุ่มใช้หุ่นยนต์ 307 วินาที สำหรับการพูดคุยทั้งหมด) อีกการศึกษาหนึ่งไม่ชัดเจนด้านความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้านพฤติกรรมที่วัดได้จาก Neuropsychiatric Inventory (MD –6.96, 95% CI –14.58 ถึง 0.66; ผู้เข้าร่วม 78 คน หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ) หรือคุณภาพชีวิต (MD –2.42, 95% CI –5.71 ถึง 0.87; ผู้เข้าร่่วม 78 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์อื่น ๆ

การเปรียบเทียบ AAT โดยใช้สัตว์มีชีวิตกับของเล่นนุ่ม ๆ รูปแมว, การศึกษาหนึ่งเรื่อง (ผู้เข้าร่วม 64 คน) ประเมินเฉพาะหน้าที่เชิงสังคม ในรูปแบบของระยะเวลาของการติดต่อและการพูดคุย ข้อมูลนำเสนอโดยค่ามัธยฐานและ interquartile ระยะเวลาติดต่อนานขึ้นเล็กน้อยในกลุ่ม AAT และระยะเวลาพูดคุยนานขึ้นในกลุ่มของเล่นรูปแมว หลักฐานมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ

บันทึกการแปล: 

ผู้แปล นางสาวเพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลเมื่อ เดือนมกราคม 2020

Tools
Information