หัวข้อ
รองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ เปลี่ยนแปลงความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ขาหรือไม่
ข้อความสำคัญ
รองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทก อาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บหรือความพึงพอใจในรองเท้าเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่เรียบง่าย
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าควบคุมการเคลื่อนไหวลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทกหรือไม่
รองเท้าที่พื้นรองเท้าชั้นกลางแบบนิ่มอาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่พื้นรองเท้าชั้นกลางแบบแข็ง
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าช่วยทรงตัวช่วยลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าเป็นกลาง/กันกระแทก
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าควบคุมการเคลื่อนไหวจะลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าทรงตัว
การกำหนดรองเท้าวิ่งจากการเลือกท่าทางของเท้าอาจทำให้อาการบาดเจ็บจากการวิ่งแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
นักวิจัยในอนาคตควรพัฒนาคำจำกัดความที่เป็นเอกฉันท์ของการออกแบบรองเท้าวิ่งเพื่อช่วยจัดประเภทให้เป็นมาตรฐาน ควรใช้คำจำกัดความของการบาดเจ็บจากการวิ่งให้เหมือนกันและได้รับการยืนยันจากผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ นักวิจัยควรพิจารณาการออกแบบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเพื่อเพิ่มหลักฐานในเรื่องนี้ และสำรวจอิทธิพลของรองเท้าประเภทต่างๆ หรือรองเท้าวิ่งที่มีต่ออัตราการบาดเจ็บในกลุ่มย่อยเฉพาะ
รองเท้าวิ่งและอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง
รองเท้าวิ่งได้รับการออกแบบด้วยคุณสมบัติที่มีลักษณะเพื่อลดการเคลื่อนไหวของเท้าหรือแรงที่ใช้กับร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บจากการวิ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบ รองเท้าวิ่งอาจถูกจำแนกอย่างกว้าง ๆ เป็นดังนี้ คือ การควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัว หรือเป็นกลาง/เบาะกันกระแทก และเป็นแบบมินิมอล หากพวกเขาต้องการให้การควบคุมการเคลื่อนไหวหรือการกันกระแทกเพียงเล็กน้อย
เราต้องการทราบอะไร
เราต้องการทราบ:
รองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่ขาจากการวิ่งได้หรือไม่
รองเท้าวิ่งที่สั่งตามลักษณะของเท้าสามารถลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือไม่เมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้
เราทำอะไร
เราค้นหาการศึกษาที่เปรียบเทียบอัตราการบาดเจ็บจากการวิ่ง (จำนวนนักวิ่งที่บาดเจ็บหรือจำนวนการบาดเจ็บทั้งหมด) ระหว่างกลุ่มนักวิ่งหรือบุคลากรทางการทหารที่สวมรองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ
เราเปรียบเทียบและสรุปผลลัพธ์ และให้คะแนนความเชื่อมั่นของเราในหลักฐาน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น วิธีการศึกษา
เราพบอะไร
เราพบการศึกษา 12 ฉบับ โดย 9 ฉบับประเมินในนักวิ่งเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการ และ 3 ฉบับในกลุ่มทหาร มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 11,240 คนจากการศึกษาทั้งหมด โดยการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดรวมผู้เข้าร่วม 3952 คนและการศึกษาที่เล็กที่สุด 24 คน มีการเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
- เป็นกลาง/ ลดแรงกระแทกเมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งสไตล์มินิมอล (การศึกษา 5 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 766 คน)
- รองเท้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งแบบเป็นกลาง/ กันกระแทก (การศึกษา 2 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 421 คน)
- นุ่มเมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งแบบแข็ง (การศึกษา 2 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 1095 คน)
- รองเท้าที่เน้นความเสถียรเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าวิ่งที่เป็นกลาง/กันกระแทก (การศึกษา 1 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 57 คน)
- การควบคุมการเคลื่อนไหวเมื่อเทียบกับรองเท้าวิ่งที่มีความเสถียร (การศึกษา 1 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 56 คน)
- กำหนดไว้ตามลักษณะของเท้าเทียบกับรองเท้าวิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้ (การศึกษา 3 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 7203 คน)
การศึกษาไม่ได้ใช้คำจำกัดความของการบาดเจ็บแบบเดียวกัน และบางเรื่องใช้คำจำกัดความของการบาดเจ็บที่รวมถึงการบาดเจ็บที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่ไม่ใช่เฉพาะขา
ผลลัพธ์หลัก
เราพบสิ่งต่อไปนี้ในการตรวจสอบของเรา
รองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทกอาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือความพึงพอใจของนักวิ่งที่มีต่อรองเท้าเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าสไตล์มินิมอล (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ)
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าควบคุมการเคลื่อนไหวลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่เป็นแบบ neutral/กันกระแทก เนื่องจากหลักฐานที่แน่ชัดนั้นต่ำมาก
รองเท้าพื้นรองเท้าชั้นกลางแบบนิ่มอาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขา เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าพื้นรองเท้าชั้นกลางแบบแข็ง (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าทรงตัวช่วยลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่เป็นแบบ neutral/กันกระแทก เนื่องจากหลักฐานที่แน่ชัดนั้นต่ำมาก
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าควบคุมการเคลื่อนไหวจะลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าทรงตัว เนื่องจากหลักฐานที่แน่ชัดนั้นต่ำมาก
การกำหนดรองเท้าวิ่งและการเลือกตามท่าทางของเท้าอาจทำให้อาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาลดลงเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง)
ข้อจำกัดของหลักฐานคืออะไร
เรามีความมั่นใจในระดับปานกลางในหลักฐานจากการศึกษาที่เปรียบเทียบรองเท้าวิ่งแบบสั่งจ่ายคือกำหนดตามลักษณะของเท้าและไม่ได้สั่งจ่าย แต่หลักฐานนี้จำกัดเนื่องจากผู้เข้าร่วมทราบว่าพวกเขาได้รับรองเท้าวิ่งประเภทใด
เราไม่ค่อยมั่นใจในหลักฐานที่เปรียบเทียบรองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ เนื่องจากผู้เข้าร่วมมักจะรู้ว่าพวกเขาได้รับรองเท้าวิ่งประเภทใด จำนวนผู้เข้าร่วมในการศึกษามีน้อย และมักมีการศึกษาเปรียบเทียบรองเท้าแต่ละประเภทไม่เพียงพอ
หลักฐานนี้เป็นปัจจุบันแค่ไหน
หลักฐานเป็นข้อมูลล่าสุดจนถึงเดือนมิถุนายน 2021
หลักฐานส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าการบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาในผู้ใหญ่ไม่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบรการใช้องเท้าวิ่งประเภทต่างๆ โดยรวมแล้ว ความแน่นอนของหลักฐานที่กำหนดว่ารองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ มีผลต่ออัตราการบาดเจ็บจากการวิ่งหรือไม่ต่ำถึงต่ำมาก ดังนั้นเราจึงไม่มั่นใจถึงผลกระทบที่แท้จริงของรองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ ต่ออัตราการบาดเจ็บ
ไม่มีหลักฐานว่าการสั่งรองเท้าตามประเภทของเท้าช่วยลดอาการบาดเจ็บที่ขาที่เกี่ยวกับการวิ่งในผู้ใหญ่ หลักฐานสำหรับการเปรียบเทียบนี้ได้รับการจัดอันดับในระดับปานกลาง ดังนั้นเราจึงสามารถมีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อตีความสิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การทดลองทั้งสามที่รวมอยู่ในการเปรียบเทียบนี้ใช้ประชากรทหาร ดังนั้นข้อค้นพบอาจแตกต่างกันในนักวิ่งที่วิ่งเพื่อการออกกำลังกาย
นักวิจัยในอนาคตควรพัฒนาคำจำกัดความที่เป็นเอกฉันท์ของการออกแบบรองเท้าวิ่งเพื่อช่วยจัดประเภทให้เป็นมาตรฐาน ควรใช้คำจำกัดความของการบาดเจ็บจากการวิ่งให้เหมือนกันและได้รับการยืนยันจากผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ นักวิจัยควรพิจารณาการออกแบบการศึกาาเป็น RCT เพื่อเพิ่มแน่นอนของหลักฐานในเรื่องนี้ สุดท้ายนี้ งานในอนาคตควรมองหาอิทธิพลของรองเท้าประเภทต่างๆ หรือรองเท้าวิ่งที่มีผลต่ออัตราการบาดเจ็บในประชากรกลุ่มย่อยเฉพาะ
อาการบาดเจ็บของขาจากการวิ่งเป็นเรื่องปกติ รองเท้าวิ่งได้รับการเสนอให้เป็นหนึ่งในวิธีการลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรองเท้าวิ่งในการป้องกันการบาดเจ็บ และยังไม่ชัดเจนว่าลักษณะต่างๆ ของรองเท้าวิ่งมีผลต่อป้องกันการบาดเจ็บได้อย่างไร
เพื่อประเมินผลกระทบ (ประโยชน์และอันตราย) ของรองเท้าวิ่งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของขาจากการวิ่งในนักวิ่งผู้ใหญ่
เราค้นหาฐานข้อมูลต่อไปนี้: CENTRAL, MEDLINE, Embase, AMED, CINAHL Plus และ SPORTDiscus plus trial registers WHO ICTRP และ ClinicalTrials.gov นอกจากนี้เรายังค้นหาแหล่งที่มาเพิ่มเติมสำหรับการทดลองที่ตีพิมพ์และไม่ได้เผยแพร่ วันที่ค้นหาคือ มิถุนายน 2021
เรารวม randomised controlled trials (RCTs) และ quasi-RCTs ที่เกี่ยวข้องกับนักวิ่งหรือบุคลากรทางทหารในการฝึกขั้นพื้นฐานที่เปรียบเทียบ a) รองเท้าวิ่งกับรองเท้าที่ไม่ใช้วิ่ง b) รองเท้าวิ่งประเภทต่างๆ (minimalist, เป็นกลาง /กันกระแทก, การควบคุมการเคลื่อนไหว, ความมั่นคงของการทรงตัว, midsole ที่อ่อนนุ่ม, midsole แบบแข็ง); หรือ c) รองเท้าที่แนะนำและเลือกตามท่าทางของเท้ากับรองเท้าที่ไม่แนะนำและไม่ได้เลือกตามท่าทางของเท้าเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของขาจากการวิ่ง ผลลัพธ์หลักของเราคือจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ขาจากการวิ่งและจำนวนการบาดเจ็บที่ขาจากการวิ่ง ผลลัพธ์รองของเราคือจำนวนนักวิ่งที่ล้มเหลวในการกลับไปวิ่งหรือวิ่งในระดับเดิม ความพึงพอใจของนักวิ่งต่อรองเท้า เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก และจำนวนนักวิ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือการผ่าตัด หรือทั้งสองอย่าง สำหรับการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูก หรือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
ผู้ทบทวน 2 คนประเมินเกณฑ์ในการศึกษาคัดเข้าศึกษาอย่างอิสระและทำการดึงข้อมูลและประเมินความเสี่ยงของการมีอคติ การประเมินความแน่นอนของหลักฐานที่รวมไว้ได้รับการประเมินโดยใช้วิธีการของ GRADE
เรารวมการทดลอง 12 ฉบับในการวิเคราะห์ ซึ่งรวมผู้เข้าร่วมทั้งหมด 11,240 คน ในการทดลองที่กินเวลาตั้งแต่ 6 ถึง 26 สัปดาห์ และดำเนินการในอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ หลักฐานส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นต่ำหรือต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถปกปิดนักวิ่งในเรื่องรองเท้าวิ่งที่จัดสรรไว้ได้ มีความแตกต่างกันในคำจำกัดความของการบาดเจ็บและลักษณะของรองเท้า และมีการศึกษาน้อยเกินไปสำหรับการเปรียบเทียบส่วนใหญ่
เราไม่พบการทดลองใดๆ ที่เปรียบเทียบรองเท้าวิ่งกับรองเท้าอื่นๆที่ไม่ใช่สำหรับวิ่ง
รองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทก เทียบกับ แบบเรียบง่าย (การศึกษา 5 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 766 คน)
รองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทก อาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บที่ขาจากการวิ่งงเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่เรียบง่าย (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ) (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.77 ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) 0.59 ถึง 1.01)
การทดลอง 1 ฉบับ รายงานว่านักวิ่ง 67% และ 92% พอใจกับรองเท้าวิ่งที่เป็นกลาง/กันกระแทกหรือเรียบง่าย ตามลำดับ (RR 0.73, 95% CI 0.47 ถึง 1.12) การทดลองอีก 1 ฉบับ รายงานว่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.0 ถึง 4.3 ในกลุ่มที่เป็นกลาง/กันกระแทก และ 3.6 ถึง 3.9 ในกลุ่มรองเท้าวิ่งที่เรียบง่ายจากคะแนนเต็ม 5 ดังนั้นรองเท้าวิ่งที่เป็นกลาง/กันกระแทก อาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อความพึงพอใจของนักวิ่งที่มีต่อรองเท้า (หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ)
รองเท้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเทียบกับรองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทก (การศึกษา 2 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 421 คน)
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าควบคุมการเคลื่อนไหวลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากของขาจากการวิ่งหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่เป็นกลาง/หุ้มกันกระแทก เพราะประเมินคุณภาพของหลักฐานว่ามีความเชื่อมั่นต่ำมาก (RR 0.92, 95% CI 0.30 ถึง 2.81)
พื้นรองเท้าชั้นกลางแบบนิ่มและพื้นรองเท้าชั้นกลางแบบแข็ง (การศึกษา 2 ฉบับ, ผู้เข้าร่วม 1095 คน)
รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าชั้นกลางแบบนิ่มอาจสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยกับจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาเมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าชั้นกลางแบบแข็ง (หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) (RR 0.82, 95% CI 0.61 ถึง 1.10)
รองเท้าที่เน้นความเสถียรหรือการทรงตัวเทียบเทียบกับเป็นกลาง/กันกระแทก (การศึกษา 1 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 57 คน)
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าทรงตัวช่วยลดจำนวนนักวิ่งที่มีอาการบาดเจ็บจากการวิ่งที่ขาหรือไม่ เมื่อเทียบกับรองเท้าที่เป็นกลาง/กันกระแทกเนื่องจากประเมินคุณภาพของหลักฐานว่ามีความแน่นอนต่ำมาก (RR 0.49, 95% CI 0.18 ถึง 1.31)
รองเท้าที่เน้นการควบคุมการเคลื่อนไหว เทียบดับ รองเท้าที่เน้นการทรงตัวหรือความเสถียร (การศึกษา 1 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 56 คน)
ไม่แน่ใจว่ารองเท้าควบคุมการเคลื่อนไหวลดจำนวนนักวิ่งที่ได้รับบาดเจ็บของขาจากการวิ่งหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้าทรงตัว เนื่องจากคุณภาพของหลักฐานได้รับการประเมินว่ามีความเชื่อมั่นต่ำมาก (RR 3.47, 95% CI 1.43 ถึง 8.40)
การกำหนดและเลือกรองเท้าวิ่งตามรูปทรงเท้า (การศึกษา 3 ฉบับ ผู้เข้าร่วม 7203 คน)
ไม่มีหลักฐานว่ารองเท้าวิ่งที่กำหนดโดยอิงจากท่าทางการยืนนิ่งช่วยลดจำนวนการบาดเจ็บเมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับรองเท้าที่ไม่ได้กำหนดตามท่าทางของเท้าในการทหารเกณฑ์ (อัตราส่วน 1.03, 95% CI 0.94 ถึง 1.13) การวิเคราะห์กลุ่มย่อยยืนยันว่าการค้นพบนี้สอดคล้องกันระหว่างชายและหญิง ดังนั้น การกำหนดรองเท้าวิ่งและการเลือกรองเท้าตามรูปทรงเท้าจึงอาจทำให้มีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างเลยต่ออาการบาดเจ็บของขาจากการวิ่ง (หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง)
ไม่มีข้อมูลสำหรับผลลัพธ์อื่นๆ ทั้งหมด
แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว Edit โดย ผกากรอง 28 พฤศจิกายน 2022