คำถามของการทบทวนวรรณกรรม
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของกลูโคคอร์ติคอยด์เป็นอย่างไรในการรักษาเด็กที่เป็นโรคครูป
ความเป็นมา
ไวรัสทางเดินหายใจเป็นสาเหตุหลักของโรคครูปในเด็ก โรคครูปทำให้คอและทางเดินหายใจบวม ซึ่งจะทำให้หายใจลำบาก เด็กยังมีอาการไอที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษที่เรียกว่าไอเห่า กลูโคคอร์ติคอยด์เป็นสเตียรอยด์ประเภทหนึ่งที่ช่วยลดอาการบวม ทำให้เด็กที่เป็นโรคครูปหายใจได้ง่ายขึ้น
นี่คือการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1999 และปรับปรุงในปี 2004, 2011 และ 2018
วันที่ค้นหา
ข้อมูลเป็นปัจจุบันจนถึงวันที่ 4 มีนาคม 2022
ลักษณะการศึกษา
เรารวมการศึกษาใหม่ 2 ฉบับ กับเด็ก 1323 คน รวมเป็น 45 การศึกษากับเด็ก 5888 คนอายุ 0 ถึง 18 ปีที่ตีพิมพ์ระหว่างปี 1964 ถึง 2021 glucocorticoids 3 ชนิดที่ใช้ในการศึกษาใหม่ ได้แก่ budesonide, dexamethasone และ prednisolone การศึกษาล่าสุดเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ budesonide และ dexamethasone การศึกษาใหม่อื่น ๆ เปรียบเทียบประสิทธิผลของเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลน รวมทั้งเดกซาเมทาโซนขนาดต่ำ (0.15 มก./กก.) เทียบกับเดกซาเมทาโซน 0.60 มก./กก. เราได้เพิ่มข้อมูลจากการศึกษาใหม่ที่เปรียบเทียบขนาดยาเดกซาเมทาโซนกับการศึกษาที่รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งดูการเปรียบเทียบเดียวกัน
แหล่งทุนของการศึกษา
แหล่งเงินทุนประกอบด้วยรัฐบาล (11%) สถาบันการศึกษาหรือการวิจัย (7%) ภาคอุตสาหกรรม (18%) หรือมูลนิธิ (9%) การศึกษามากกว่าครึ่ง (55%) ไม่ได้รายงานแหล่งเงินทุน
ผลลัพธ์ที่สำคัญ
เมื่อเปรียบเทียบกับยาเพรดนิโซโลน เดกซาเมทาโซนไม่แสดงคะแนนโรคครูปที่ดีขึ้นที่ 2 และ 6 ชั่วโมงหลังไปโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน และอาจลดการกลับมาอีกหหรือ (กลับ) เข้ารับการรักษาโรคครูปลงเกือบครึ่ง การเพิ่มกลูโคคอร์ติคอยด์เสริมควรใช้เดกซาเมทาโซนเมื่อเทียบกับเพรดนิโซโลน เมื่อเทียบกับเดกซาเมทาโซนขนาด 0.15 มก./กก. ขนาดยามาตรฐาน 0.60 มก./กก. อาจลดความรุนแรงของโรคครูปลงประเมินโดยมาตราส่วนการให้คะแนนโรคครูปที่ 24 ชั่วโมงหลังจากมาที่โรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม เราไม่พบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกลุ่มต่างๆ ในระดับการให้คะแนนโรคครูปที่ 2, 6 หรือ 12 ชั่วโมง การกลับไปอีกหรือ (อีกครั้ง) การรับเด็กเข้าอยู่โรงพยาบาล หรือระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน ความจำเป็นในการรักษาเพิ่มเติม เช่น การใช้ยาอื่นๆ เช่น epinephrine กลูโคคอร์ติคอยด์เสริม หรือการใช้ท่อช่วยหายใจไม่แตกต่างกันระหว่างขนาด 0.15 มก./กก. และ 0.60 มก./กก. ของเดกซาเมทาโซน ไม่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงจากการใช้กลูโคคอร์ติคอยด์ในการศึกษาที่เพิ่งรวมเข้าไป
ข้อสรุป
หลักฐานที่แสดงว่ากลูโคคอร์ติคอยด์ช่วยลดอาการของโรคครูปที่เวลา 2 ชั่วโมง ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการกลับมาตรวจซ้ำหรือการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ เดกซาเมทาโซนขนาดยาต่ำที่ 0.15 มก./กก. อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับขนาดยามาตรฐาน 0.60 มก./กก. จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างหลักฐานสำหรับประสิทธิผลของเดกซาเมทาโซนขนาดต่ำที่ 0.15 มก./กก. เพื่อรักษาโรคครูป เราสรุปได้ว่ากลูโคคอร์ติคอยด์มีประสิทธิภาพในการรักษาโรครูปในเด็ก
ความเชื่อมั่นของหลักฐาน
การศึกษาส่วนใหญ่ (98%) มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการ วิธีการรายงาน หรือทั้งสองอย่าง สำหรับกลูโคคอร์ติคอยด์ใดๆ เมื่อเทียบกับยาหลอก เราปรับลดระดับความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงของคะแนนโรคครูปหลังจาก 2, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง และกลับมาพบแพทย์อีกหรือ (อีกครั้ง) การรับเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากความแปรปรวนของการศึกษา ความไม่แม่นยำ และความไม่สอดคล้องกันของผลการศึกษา และ ความเสี่ยงของอคติ มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงว่าอคติในการรายงานมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของเราสำหรับการกลับมาพบแพทย์อีกหรือ (อีกครั้ง) การรับเข้าโรงพยาบาลหรือทั้งสองอย่าง ภัยคุกคามที่คล้ายกันต่อความแน่นอนของหลักฐานมีอยู่ในการเปรียบเทียบอื่นๆ ในการทบทวนนี้ รวมถึงความกังวลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของอคติ ความไม่สอดคล้องกัน และความไม่ชัดเจนของผลการศึกษา
หลักฐานที่แสดงว่ากลูโคคอร์ติคอยด์ช่วยลดอาการของโรคครูปที่เวลา 2 ชั่วโมง ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการกลับมาตรวจซ้ำหรือการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ ยาเดกซาเมทาโซนขนาดต่ำคือ 0.15 มก./กก. อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับขนาดยามาตรฐาน 0.60 มก./กก. จำเป็นต้องมี RCT เพิ่มเติมเพื่อเสริมหลักฐานสำหรับประสิทธิผลของเดกซาเมทาโซนขนาดต่ำที่ 0.15 มก./กก. เพื่อรักษาโรคครูป
กลูโคคอร์ติคอยด์เป็นยาหลักในการรักษาโรคครูป หลักฐานที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่ากลูโคคอร์ติคอยด์มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคครูปในเด็ก อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหลักฐานเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องทางคลินิกของโรคในกลุ่มนั้นมีความจำเป็น นี่คือการปรับปรุงการทบทวนวรรณกรรมที่เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1999 และปรับปรุงในปี 2004, 2011 และ 2018
เพื่อศึกษาผลกระทบและความปลอดภัยของกลูโคคอร์ติคอยด์ในการรักษาโรคครูปในเด็กอายุ 18 ปีและต่ำกว่า
เราค้นหาใน Cochrane Library ซึ่งรวมถึง Cochrane Central Register of Controlled Trials (CENTRAL; 2022 Issue 9), Ovid MEDLINE Epub Ahead of Print, In-Process & Other Non-Indexed Citations และ Ovid MEDLINE (1946 ถึง 4 มีนาคม 2022) เอ็มเบส (โอวิด) (1974 ถึง 4 มีนาคม 2022) เรายังค้นหา WHO ICTRP และ ClinicalTrials.gov เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2022
เรารวมการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (RCTs) ในเด็ก (อายุ 18 ปีและต่ำกว่า) ที่เป็นโรคครูป เราประเมินผลของกลูโคคอร์ติคอยด์โดยเปรียบเทียบกับสิ่งต่อไปนี้: ยาหลอก, สารตัวแทนทางเภสัชวิทยาอื่นๆ, กลูโคคอร์ติคอยด์อื่นๆ, การรวมกันของกลูโคคอร์ติคอยด์อื่นๆ, ให้โดยวิธีการบริหารที่แตกต่างกัน หรือให้ในปริมาณที่แตกต่างกัน การศึกษาที่รวบรวมต้องประเมินผลลัพธ์หลักของเราอย่างน้อยหนึ่งอย่าง (หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของคะแนนโรคครูปหรือการกลับมาตรวจซ้ำ (อีกครั้ง) การเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งหรือทั้งสองอย่าง) หรือผลลัพธ์รอง (หมายถึงระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน , การดีขึ้นของผู้ป่วย, การใช้การรักษาเพิ่มเติม, หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์)
ผู้วิจัยดึงข้อมูลโดยอิสระต่อกัน โดยมีผู้วิจัยอีกคนคอยตรวจสอบ เราป้อนข้อมูลลงใน Review Manager 5 เพื่อการวิเคราะห์เมตต้า ผู้วิจัย 2 คนประเมินความเสี่ยงของการมีอคติของการศึกษาอย่างอิสระต่อกัน โดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงของอคติของ Cochrane ผู้วิจัย 2 คนประเมินความเชื่อมั่นของหลักฐานสำหรับผลลัพธ์หลักโดยใช้แนวทาง GRADE
การอัปเดทการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มี RCTs 45 ฉบับ โดยมีเด็กทั้งหมด 5888 คน มี RCT เพิ่มขึ้น 2 ฉบับ ซึ่งมีเด็กเพิ่ม 1323 คนตั้งแต่การอัปเดทครั้งล่าสุด นอกจากนี้ เรายังพบการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ 1 ฉบับ และการศึกษา 1 ฉบับที่กำลังรอการจำแนกประเภท เราประเมินการศึกษาส่วนใหญ่ (98%) ว่ามีความเสี่ยงของอคติสูงหรือไม่ชัดเจน
กลูโคคอร์ติคอยด์ใด ๆ เมื่อเทียบกับยาหลอก
เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก กลูโคคอร์ติคอยด์อาจส่งผลให้คะแนนโรคครูปลดลงมากขึ้นหลังจาก 2 ชั่วโมง (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน (SMD) −0.65, ช่วงความเชื่อมั่น 95% (CI) −1.13 ถึง −0.18; RCTs 7 ฉบับ, เด็ก 426 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นต่ำ); 6 ชั่วโมง (SMD −0.76, 95% CI −1.12 ถึง −0.40; RCTs 11 ฉบับ, 959 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ); และ 12 ชั่วโมง (SMD −1.03, 95% CI −1.53 ถึง -0.53; RCTs 8 ฉบับ, 571 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำ) หลักฐานการเปลี่ยนแปลงของคะแนนโรคครูปหลัง 24 ชั่วโมงมีความไม่แน่นอนสูง (SMD −0.86, 95% CI −1.40 ถึง −0.31; RCTs 8 ฉบับ, เด็ก 351 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก)
กลูโคคอร์ติคอยด์ 1 ตัวเทียบกับกลูโคคอร์ติคอยด์อีกตัว
มีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง prednisolone และ dexamethasone สำหรับการลดคะแนนโรคครูปที่คะแนนหลังการตรวจวัดพื้นฐาน 2 ชั่วโมง (SMD 0.06, 95% CI −0.06 ถึง 0.18; RCT 1 ฉบับ, เด็ก 1231 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) มีแนวโน้มเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง prednisolone และ dexamethasone สำหรับการลดคะแนนโรคครูปที่คะแนนหลังการตรวจวัดพื้นฐาน 6 ชั่วโมง (SMD 0.21, 95% CI −0.21 ถึง 0.62; 1 RCT, เด็ก 99 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) อย่างไรก็ตาม ยาเดกซาเมทาโซนอาจลดการกลับมาตรวจซ้ำหรือ (อีกครั้ง) การรับผู้ป่วยโรคครูปเข้าโรงพยาบาลอีกลงเกือบครึ่ง (อัตราส่วนความเสี่ยง (RR) 0.55, 95% CI 0.28 ถึง 1.11; RCTs 4 ฉบับ, เด็ก 1537 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) และพบว่าลดการใช้กลูโคคอร์ติคอยด์เสริมเป็นการรักษาเพิ่มเติมได้ 28% (RR 0.72, 95% CI 0.53 ถึง 0.97; RCTs 2 ฉบับ, เด็ก 926 คน)
เดกซาเมทาโซนในปริมาณที่ต่างกัน
เมื่อเปรียบเทียบกับ 0.15 มก./กก. ยาเดกซาเมทาโซน 0.60 มก./กก. อาจลดความรุนแรงของโรคครูปลงตามการประเมินโดยมาตราส่วนการให้คะแนนโรคครูปที่ 24 ชั่วโมงหลังการตรวจวัดพื้นฐาน (SMD 0.63, 95% CI 0.16 ถึง 1.10; RCT 1 ฉบับ, เด็ก 72 คน; หลักฐานความเชื่อมั่นปานกลาง); อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่กรณีที่ 2 ชั่วโมง (SMD −0.27, 95% CI −0.76 ถึง 0.22; RCTs 2 ฉบับ, 861 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) อาจไม่มีการลดลงที่ 6 ชั่วโมง (SMD −0.45, 95% CI −1.26 ถึง 0.35; RCTs 3 ฉบับ, 178 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นปานกลาง) และหลักฐานที่ 12 ชั่วโมงมีความไม่แน่นอนอย่างมาก (SMD −0.60, 95% CI −4.39 ถึง 3.19; RCTs 2 ฉบับ, เด็ก 113 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นต่ำมาก) มีความแตกต่างเล็กน้อยหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างขนาดยาเดกซาเมทาโซนในการกลับไปพบแพทย์ หรือ (อีกครั้ง) การรับเด็กเข้านอนโรงพยาบาลหรือทั้งสองอย่าง (RR 0.91, 95% CI 0.71 ถึง 1.17; RCTs 3 ฉบับ, เด็ก 949 คน; หลักฐานมีความเชื่อมั่นสูง) หรือระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 0.12, 95% CI −0.32 ถึง 0.56; RCTs 2 ฉบับ, เด็ก 892 คน) ความจำเป็นในการรักษาเพิ่มเติม เช่น epinephrine (RR 0.78, 95% CI 0.34 ถึง 1.75; 2 RCTs, เด็ก 885 คน); การใส่ท่อช่วยหายใจ (ความแตกต่างของความเสี่ยง 0.00, 95% CI −0.00 ถึง 0.00; RCTs 2 ฉบับ, เด็ก 861 คน); หรือการใช้กลูโคคอร์ติคอยด์เสริม (RR 0.77, 95% CI 0.51 ถึง 1.15; RCTs 2 ฉบับ, เด็ก 617 คน) ก็ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างขนาดยาเดกซาเมทาโซน
มีความแตกต่างในระดับปานกลางถึงสูงในการวิเคราะห์สำหรับการเปรียบเทียบส่วนใหญ่ พบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์สำหรับการเปรียบเทียบบางรายการที่รายงานในการทบทวน
แปลโดย พญ.วิลาสินี หน่อแก้ว โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี Edit โดย ผกากรอง 7 มีนาคม 2023